การสื่อสารข้อมูล - วิธีการสื่อสารข้อมูล

วิธีการสื่อสารข้อมูล

วิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          1.การสื่อสารข้อมูลแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous)
          การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) จะส่งข้อมูลออกมาทีละตัวอักษร โดยจะเพิ่มบิตนำหน้า (start bit or space) และบิตสิ้นสุด (stop bit or mark) เพื่อบอกขอบเขตของ ตัวอักษร ในกรณีที่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก็จะเพิ่มบิตแพริตี้ (parity bit) เข้ามาด้วย เนื่องจากการส่งข้อมูลเป็นไปทีละตัวอักษร (หรือไบท์) ซึ่งเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้นช่วงต่อระหว่าง ตัวอักษรที่ส่งออกไปจึงไม่มีความสำคัญมากนัก นั่นคือตัวอักษรจำนวนหลายตัวอาจถูกส่งติดต่อกันไปโดยไม่เว้นช่วงเลยหรืออาจมีการเว้นช่วงว่าง (idle) ระหว่างการส่งตัวอักษรแต่ละตัวก็ได้ และ ช่วงว่างแต่ละช่วงก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเท่ากัน ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลจะส่ง แทนที่จะปล่อยให้ไม่มีสัญญาณเลยก็มักจะส่งบิตสิ้นสุด (คือบิต1) ติดต่อกันไปตลอดเวลาจนกว่าจะไม่มีข้อมูลพร้อมส่ง หรือยกเลิกการสื่อสารระหว่างกัน

          การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัสเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพต่ำดังรูปสมมุติว่าข้อมูลที่ต้องการส่งมีเพียงตัวอักษรเดียว หรือ 8 บิต แต่ข้อมูลที่ส่งไปจริงจะต้องเพิ่มบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุดเข้าไปด้วย กลายเป็นข้อมูลขนาด 10 บิต ดังนั้นประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่ 80% เท่านั้น และถ้าเพิ่มบิตพาริตี้เข้าไปด้วยก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปเหลือ 73% เท่านั้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่งซึ่งยังคงมีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
          โมเด็มส่วนใหญ่ที่ใช้กับเครื่องพีซี และเทอร์มินอลอย่างเช่น DEC VT-100 แบบ อะซิงโครนัสซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ในกลุ่มนี้มีขีดความสามารถค่อนข้างจำกัดหรือใช้โปรแกรมประยุกต์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ช่องสื่อสารความกว้างมากนัก การทำงานแบบอะซิงโครนัสจึงยังคงสามารถใช้งานได้ดี


          2.การสื่อสารข้อมูลแบบประสานจังหวะ (Synchronous)


          ข้อมูลกลุ่มหนึ่งประกอบกันเป็นบล็อก (block) ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ 1) ตัวอักษรซิงค์ (synchronous character; SYN) จำนวน 3 ตัว 2) ข้อมูลที่ต้องการส่งจำนวนหนึ่ง 3) ชุดข้อมูลควบคุม (block control character) และ 4) อักษรสิ้นสุดบล็อก (end of block character) ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัส (Synchronous) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัส ในที่นี้ตัวอักษรซิงค์มีหน้าที่หลักในขณะส่งข้อมูลสองประการคือ เป็นตัวบอก จุดเริ่มต้นของบล็อกข้อมูลและเป็นข้อมูลที่ทางฝั่งผู้รับ เปรียบเทียบจังหวะการรับข้อมูลของตนเองให้สอดคล้องกับจังหวะการส่งข้อมูลของผู้ส่ง นอกจากนี้ ในขณะที่ไม่มีการส่งข้อมูล ผู้ส่งและผู้รับจะแลกเปลี่ยนตัวอักษรซิงค์ระหว่างกันเพื่อประโยชน์คือ ทำให้ทั้งคู่ทราบว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังคงทำงานให้ตรงกันเพื่อให้มีความพร้อมในการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

          การส่งข้อมูลในระบบนี้ข้อมูลทั้งหมดจะส่งมาในบล็อกเดียวกัน สมมุติว่ามีข้อมูลจริงจำนวน 100 ตัวอักษร ในบล็อกนี้จะต้องมีตัวอักษรซิงค์นำหน้า 3ตัว และตามหลังอีก 3 ตัว (ใช้แทนส่วนที่ 3 และ 4 ) จึงมีข้อมูลส่งไปทั้งหมด 106 ตัวอักษรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงถึง 94% จึงเห็นได้ว่าถ้ามีข้อมูลปริมาณมาก การถ่ายทอดแบบซิงโครนัสจะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบบอะซิงโครนัสจึงนิยมนำไปใช้ในเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายวงกว้างที่มีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ เช่นสาย T1 อย่างไรก็ตามถ้ามีข้อมูลน้อย การถ่ายทอดแบบอะซิงโครนัสอาจมีความเหมาะสมมากกว่าเนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก

สร้างโดย: 
A&W

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 471 คน กำลังออนไลน์