วิธีการสื่อสารข้อมูล  
 

วิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

          1.การสื่อสารข้อมูลแบบไม่ประสานจังหวะ (Asynchronous)
          การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous) จะส่งข้อมูลออกมาทีละตัวอักษร โดยจะเพิ่มบิตนำหน้า (start bit or space) และบิตสิ้นสุด (stop bit or mark) เพื่อบอกขอบเขตของ ตัวอักษร ในกรณีที่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก็จะเพิ่มบิตแพริตี้ (parity bit) เข้ามาด้วย เนื่องจากการส่งข้อมูลเป็นไปทีละตัวอักษร (หรือไบท์) ซึ่งเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้นช่วงต่อระหว่าง ตัวอักษรที่ส่งออกไปจึงไม่มีความสำคัญมากนัก นั่นคือตัวอักษรจำนวนหลายตัวอาจถูกส่งติดต่อกันไปโดยไม่เว้นช่วงเลยหรืออาจมีการเว้นช่วงว่าง (idle) ระหว่างการส่งตัวอักษรแต่ละตัวก็ได้ และ ช่วงว่างแต่ละช่วงก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเท่ากัน ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลจะส่ง แทนที่จะปล่อยให้ไม่มีสัญญาณเลยก็มักจะส่งบิตสิ้นสุด (คือบิต1) ติดต่อกันไปตลอดเวลาจนกว่าจะไม่มีข้อมูลพร้อมส่ง หรือยกเลิกการสื่อสารระหว่างกัน

          การสื่อสารข้อมูลแบบอะซิงโครนัสเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพต่ำดังรูปสมมุติว่าข้อมูลที่ต้องการส่งมีเพียงตัวอักษรเดียว หรือ 8 บิต แต่ข้อมูลที่ส่งไปจริงจะต้องเพิ่มบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุดเข้าไปด้วย กลายเป็นข้อมูลขนาด 10 บิต ดังนั้นประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่ 80% เท่านั้น และถ้าเพิ่มบิตพาริตี้เข้าไปด้วยก็จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงไปเหลือ 73% เท่านั้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดแบบหนึ่งซึ่งยังคงมีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
          โมเด็มส่วนใหญ่ที่ใช้กับเครื่องพีซี และเทอร์มินอลอย่างเช่น DEC VT-100 แบบ อะซิงโครนัสซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ในกลุ่มนี้มีขีดความสามารถค่อนข้างจำกัดหรือใช้โปรแกรมประยุกต์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ช่องสื่อสารความกว้างมากนัก การทำงานแบบอะซิงโครนัสจึงยังคงสามารถใช้งานได้ดี


          2.การสื่อสารข้อมูลแบบประสานจังหวะ (Synchronous)


          ข้อมูลกลุ่มหนึ่งประกอบกันเป็นบล็อก (block) ประกอบด้วยข้อมูล 4 ส่วน คือ 1) ตัวอักษรซิงค์ (synchronous character; SYN) จำนวน 3 ตัว 2) ข้อมูลที่ต้องการส่งจำนวนหนึ่ง 3) ชุดข้อมูลควบคุม (block control character) และ 4) อักษรสิ้นสุดบล็อก (end of block character) ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบบซิงโครนัส (Synchronous) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัส ในที่นี้ตัวอักษรซิงค์มีหน้าที่หลักในขณะส่งข้อมูลสองประการคือ เป็นตัวบอก จุดเริ่มต้นของบล็อกข้อมูลและเป็นข้อมูลที่ทางฝั่งผู้รับ เปรียบเทียบจังหวะการรับข้อมูลของตนเองให้สอดคล้องกับจังหวะการส่งข้อมูลของผู้ส่ง นอกจากนี้ ในขณะที่ไม่มีการส่งข้อมูล ผู้ส่งและผู้รับจะแลกเปลี่ยนตัวอักษรซิงค์ระหว่างกันเพื่อประโยชน์คือ ทำให้ทั้งคู่ทราบว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังคงทำงานให้ตรงกันเพื่อให้มีความพร้อมในการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

          การส่งข้อมูลในระบบนี้ข้อมูลทั้งหมดจะส่งมาในบล็อกเดียวกัน สมมุติว่ามีข้อมูลจริงจำนวน 100 ตัวอักษร ในบล็อกนี้จะต้องมีตัวอักษรซิงค์นำหน้า 3ตัว และตามหลังอีก 3 ตัว (ใช้แทนส่วนที่ 3 และ 4 ) จึงมีข้อมูลส่งไปทั้งหมด 106 ตัวอักษรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงถึง 94% จึงเห็นได้ว่าถ้ามีข้อมูลปริมาณมาก การถ่ายทอดแบบซิงโครนัสจะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าแบบอะซิงโครนัสจึงนิยมนำไปใช้ในเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายวงกว้างที่มีช่องสัญญาณขนาดใหญ่ เช่นสาย T1 อย่างไรก็ตามถ้ามีข้อมูลน้อย การถ่ายทอดแบบอะซิงโครนัสอาจมีความเหมาะสมมากกว่าเนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่ามาก

(http://202.29.21.49/courseware/science/4000107/lesson6/lesson6.1.html)

 
ไปบนสุด