สารพิษในผกากรองและวิธีการรักษา

รูปภาพของ sss28189

 

 

สารที่ทำให้เกิดพิษ

      พิษของใบผกากรองเกิดจากสารกลุ่มไตรเทอร์ปีน ซึ่งเรียกว่า lantadene A หรือ rehmannic acid และ lantadene B กรดไตรเทอร์ปีนส์

 สามารถดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้อย่างรวดเร็ว และไปยังตับโดยส่งผ่านเลือดที่ไปเลี้ยง lantadene A อาจออกฤทธิ์ป้องกันการสร้าง bilirubin

 glucuronide ซึ่งเป็นรูป conjugated ของ bilirubin ที่ไตสามารถขับออกได้ ดังนั้นเมื่อเหลือ bilirubin ตกค้าง จึงทำให้เกิดอาการดีซ่าน ตัว

เหลือง และอาการแพ้แสงแดดของผิวหนัง (photosensitization) เกิดขึ้นตามมา 
      ขนาดที่เป็นพิษของ lantadene A ที่ให้เข้ากระเพาะอาหารเท่ากับ 60-80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม และของ lantadene B เท่ากับ

200-300 มิลลิกรัม  แกะตัวผู้ที่ได้รับผงใบ ขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมในหนึ่งวัน หรือแบ่งให้ทานต่อเนื่องกัน 2 วัน มีอาการของผิวหนัง

แพ้แสงแดด และดีซ่าน  ในคนมักได้รับพิษจากการรับประทานผลมากกว่า เนื่องจากใบและลำต้นผกากรองมีเนื้อหยาบ จึงทำให้รับประทานลำบาก

อาการพิษจากการแพ้แสงแดดของผิวหนังและดีซ่าน จึงไม่มีรายงานเกิดขึ้นในคน


      นอกจากนี้มีรายงานของสารพิษตัวใหม่ คือ lantadene C ซึ่งถูกแยกจากใบของผกากรอง มีโครงสร้างที่คล้ายกับ lantadene A ทำให้เกิด

พิษต่อตับของหมู guinea ด้วยเช่นกัน  แม้จะมีรายงานความเป็นพิษของผลผกากรองดิบ แต่สารสำคัญในเรื่องพิษของผลไม่แน่ชัด เนื่องจากมีผู้

รายงานว่า Lantadene A ไม่พบในผล แต่ไม่ได้แจ้งว่าผลดิบหรือผลสุก อย่างไรก็ตามเนื่องจากมีรายงานความเป็นพิษแน่ชัดจึงควรจะระมัดระวัง

และสอนเด็กๆ ไม่ให้รับประทานผล หรือส่วนอื่นๆของต้นไม้ที่ไม่รู้จัก

อาการพิษ

      คนที่ได้รับพิษจากผกากรองมักไม่แสดงอาการพิษทันที แต่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง อาการพิษที่เกิดขึ้นได้แก่ อาเจียน

 ท้องเสีย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง (lethargy) ขาดออกซิเจน หายใจช้าและลำบาก (labored slow respiration) รูม่านตาขยาย (mydriasis) กลัว

แสง กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน (ataxia) โคม่า และการตอบสนองของกล้ามเนื้อ tendonถูกกด ( depressed deep tendon reflexes ) 


      ส่วนอาการพิษที่เกิดขึ้นในสัตว์ มีพิษกึ่งเฉียบพลันในสัตว์ทดลองที่กินใบผกากรอง คือ ซึม ไม่อยากอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หลังจากนี้

 1-2 วัน จะพบอาการเหลือง และขาดน้ำตามเนื้อเยื่อเมือก กล้ามเนื้ออักเสบ ตาอักเสบ ผิวหนังไวต่อแสง ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบที่เรียกว่า pink

nose เจ็บ อาการอักเสบนี้อาจลุกลามไปถึงโพรงจมูก ตา ปาก เกิดเป็นแผลบวม ปลายจมูกแข็ง หนังตาบวม หูหนาและแตก คันหน้าจนสัตว์เลี้ยง

ถูบ่อยทำให้เป็นแผลหรือตาบอดได้ โดยมากได้รับพิษประมาณ 1-4 อาทิตย์อาจตายได้เนื่องจากไตล้มเหลว ปัสสาวะไม่หยุด อดอาหาร ขาดน้ำ

ไม่มีการขับถ่าย มีปริมาณ billirubin สูงในเลือด จึงเหลือง เอ็นไซม์จากตับก็สูง แสดงว่ามีการอักเสบของตับ เมื่อชัณสูตรซากสัตว์ก็พบว่ามีอาการ

ดีซ่าน ตับบวม ถุงน้ำดีโต เนื่องจาก ผนังบวม ไตเหลือง บวม ฉ่ำน้ำ และลำไส้ใหญ่ไม่เคลื่อนไหว   พิษเรื้อรังในสัตว์ที่เกิดขึ้นตามมานอกจากทำ

ให้เกิดอาการแพ้แสงแดดของผิวหนังแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังอื่นๆ เช่น ผิวหนังบริเวณปากหรือจมูก หู คอ ไหล่ ขา และส่วนอื่นๆ

อาจเป็นสีเหลือง บวม แข็ง แตก และเจ็บ ผิวหนังลอกและเปิด อาจเกิดการอักเสบไปจนถึงเยื่อบุผิวเมือกบริเวณใกล้เคียง ซึ่งอาการเยื่อบุตา

อักเสบอาจพบเห็นเป็นบางครั้งในระยะที่ได้รับพิษเฉียบพลัน และอาจมีผลกระทบต่อผิวหนัง เยื่อบุรอบๆตา และที่ตาด้วย 


      สรุปแล้วอาการพิษที่เกิดขึ้นกับสัตว์สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ 


         ระยะแรก เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อย และการดูดซึมของสารพิษจากทางเดินอาหาร


         ระยะที่สอง เกิดขึ้นที่ตับ มีอาการตับแข็ง bilirubin และ phylloerythrin สูงในเลือด


        ระยะสุดท้าย เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากมี ปริมาณของ bilirubin และ phylloerythrin สูงเกิน


      อาการพิษของสัตว์เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของพืชพิษที่สัตว์กินเข้าไป

 

การรักษา

      การรักษาอาการพิษในคน หากพึ่งรับประทานไปไม่เกิน 30 นาทีแรก ให้รับประทาน syrup of ipecac เพื่ออาเจียนเอาเศษชิ้นส่วนของพืช

ออกมา โดยผู้ใหญ่รับประทาน 2 ช้อนโต๊ะ และเด็กอายุ 1-12 ปี รับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ หากไม่ได้ผลให้ทำการล้างท้อง ยกเว้นในเด็กที่ได้รับพิษ

เกินกว่า 3 ชั่วโมง อาจล้างท้องไม่ได้ผล จึงควรให้ยา coticosteroids, adrenaline ให้ออกซิเจน และรักษาตามอาการ 


      การรักษาอาการพิษในสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงที่สงสัยว่าได้รับพิษจากผกากรอง ให้แยกออกจากบริเวณที่มีต้นผกากรองอยู่ ฤทธิ์ของผกากรอง

ภายหลังการรับประทานเข้าไปจะไปทำให้กระเพาะของสัตว์หยุดการเคลื่อนไหวจึงเป็นสาเหตุให้สารพิษเหลืออยู่ในกระเพาะและดูดซึมอย่างต่อ

เนื่อง การแก้พิษโดยป้องกันไม่ให้พิษมีการดูดซึมเพิ่มขึ้นไปอีก โดยให้ผงถ่าน (activated charcoal) ในปริมาณสูงร่วมกับสารละลายอิเลกโต

รไลท์เพื่อไปกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของกระเพาะ และทำให้ของเหลวกลับเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ควรรักษาอาการแพ้แสงแดดของผิวหนังด้วย


      มีรายงานการทดลองใช้เบนโทไนต์ (bentonite) รักษาอาการพิษแทนผงถ่าน พบว่าสัตว์ทดลองมีอาการดีขึ้นช้ากว่ากลุ่มที่ให้ผงถ่าน 3 วัน

 แต่ราคาของสารเบนโทไนต์ถูกกว่าผงถ่าน จึงถือได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาอาการพิษในสัตว์เลี้ยงวัว 
 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 301 คน กำลังออนไลน์