กรุงศรีอยุธยา

Homeผู้จัดทำที่มาหลักฐานอารยธรรมเอเชียกรุงศรีอยุธยา
การเมืองการปกครอง 
พระมหากษัตริย์ 
เศรษฐกิจ 
การสิ้นสุด 

 

พัฒนาการก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา

     อารยธรรมและความเจริญในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหลายร้อยปีแล้ว ทั้งนี้จากการศึกษาค้นคว้าหลักฐานทางด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุ ตำนานต่างๆ และเอกสารของชาวต่างชาติ  ทำให้เชื่อกันว่ากลุ่มชนชาวไทยได้สร้างสรรค์ความเจริญและมีพัฒนาการทางอารยธรรม  อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เป็นเวลานานหลายร้อยปี ก่อนสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนาอาณาจักรอยุธยา สันนิษฐานว่าก่อนปี  พ.ศ. 1893ศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างคงจะอยู่ที่ลพบุรี ส่วนศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครองนั้นอนุมานว่าอยู่ระหว่างลพบุรีกับสุพรรณบุรี  ทั้งนี้เพราะในเวลานั้นกรุงสุโขทัยเริ่มอ่อนแอลงทำให้กลุ่มคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่มีกำลังเข้มแข็งตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนขึ้นส่วนพวกที่อ่อนแอ ที่ไม่สามารถรวมกำลังเป็นปึกแผ่นก็จะเข้ามาอยู่ในความปกครอง  ของคนกลุ่มอื่นผู้นำกลุ่มคนไทยที่มีกำลังเข้มแข็งกว่าสามารถตั้งตนเป็นใหญ่ในบริเวณภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและสถาปนาราชธานีคือ “กรุงศรีอยุธยา” ขึ้นในปี  พ.ศ. 1893 ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)” ต่อมาศูนย์กลางทั้งทางด้านการปกครอง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ จึงได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาและเป็นที่รวมของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และอารยธรรมที่สำคัญของไทยที่ตกทอดมาถึงยุคปัจจุบัน

ารสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
        การที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่  1  (พระเจ้าอู่ทอง)  ทรงตัดสินพระทัยเลือกกรุงศรีอยุธยาซึ่ง  เป็นราชธานี  มีเหตุผลดังนี้  คือ

        1. กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าว อู่น้ำ
        2. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำ 3 สาย มาบรรจบกันคือ แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำลพบุรี  ลักษณะโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์ เหมาะในการเพาะปลูก และการค้าทั้งทางบก และทางน้ำ
        3. กรุงศรีอยุธยาเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ  โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมความสำคัญดังต่อไปนี้
            กรุงศรีอยุธยาเป็นที่รวมของสายน้ำทุกสายที่ผ่านไปยังสุโขทัย คือ แม่น้ำวัง ยม น่านเมืองต่างๆ ของอาณาจักรสุโขทัยตั้งอยู่บนแค้วนทั้ง 3 นี้  ซึ่งจะมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านกรุงศรีอยุธยา เพราะฉะนั้นการค้าขายหรือการติดต่อกับต่างประเทศส่วนมากชาวกรุงศรีอยุธยาจะได้ทราบเรื่องก่อนเสมอ เพราะจำเป็นจะต้องผ่านที่เมืองนี้อย่างน้อยก็ใช้เวลาในการเดินทางเกือบเดือนกว่าจะผ่านกรุงศรีอยุธยาขึ้นไปถึงกรุงสุโขทัย

 

จัดทำโดย ครูธวัช  คำนวณ
โรงเรียนเชียรใหญ่  จังหวัดนครศรีธรรมราช
Copyright (D) 2008 Mr. Tawat . All righth resenvet.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com