โครงสร้างภาษาปาสคาล

 

Homeผู้จัดทำหลักการคำนวณกระบวนการแก้ปัญหาการพัฒนาโปรแกรมโครงสร้างภาษาปาสคาลโปรแกรมเทอร์โบปาสคาลคำสั่งภาษาปาสคาล

 

ชื่อข้อมูลและคำสงวน 
ชนิดของข้อมูล 
ค่าคงตัวและตัวแปร 
ตัวดำเนินการและนิพจน์ 

 

         ภาษาปาสคาล  เป็นภาษาระดับสูง (High-Level Language)  เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยม  เนื่องมาจากตัวภาษามีลักษณะเด่นหลายด้าน  เช่น  รูปแบบคำสั่งที่มีลักษณะเป็นภาษาอังกฤษ  ง่ายต่อการเขียน และการจดจำ  นอกจากนี้โปรแกรมยังมีลักษณะที่เป็นโครงสร้าง (Structure Programing) ง่ายต่อการศึกษา มีตัวแปรภาษา(Compilers) อยู่ในหลายระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นภาษาที่เหมาะสมกับงานในทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน ด้านการศึกษา เหมาะกับผู้ที่จะเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรมเป็นครั้งแรก
         ปาสคาล(Pascal)  เป็นชื่อที่ได้รับสมญานามมาจาก "Blaise Pascal" นักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส  ผู้ซึ่งมีชื่อเสียงในการประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่งเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล

โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ  3  ส่วนคือ

1.  ส่วนหัวโปรแกรม  (program  heading)

2.  ส่วนประกาศ  (program  declarations)

3.  ส่วนคำสั่งการทำงาน  (program  statements)

ส่วนหัว  (Heading)

          ประกอบด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว  ดังรูปแบบ

             Program  ชื่อโปรแกรม;

          ชื่อโปรแกรม  เป็นไปตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของปาสคาล  และจะต้องไม่ซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ภายในโปรแกรม

          การกำหนดชื่อต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้

          1.  ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร  แล้วตามด้วยตัวอักษร  หรือตัวเลข  หรือเครื่องหมายขีดล่าง  เท่านั้น  ตัวอักษรนี้จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กก็จะมีความหมายเช่นเดียวกัน

          2.  มีความยาวไม่เกิน  127  ตัวอักขระ  แต่ตัวแปรภาษาสามารบอกความแตกต่างของชื่อแต่ละตัวได้เฉพาะอักขระ  8  ตัวแรกเท่านั้น  สำหรับภาษาปาสคาลจะบอกความแตกต่างได้ถึง  60  ตัวอักขระ

          3.  ชื่อไม่ตรงกับคำสงวน  (reserve  words)  ในภาษาปาสคาล  คำสงวน  หมายถึงคำที่มีกฎเกณฑ์การใช้และมีความหมายเฉพาะที่แน่นอน  เช่น  Begin…End,If.. Then….เป็นต้น

ตัวอย่าง  Program  Tax;{โปรแกรมคิดภาษี}

               {}  ข้อความที่อยู่ในสัญลักษณ์นี้  หมายถึง หมายเหตุหรือข้อความอธิบายไม่มีผลต่อโปรแกรม

ส่วนประกาศ  (Declaration  part)

          โปรแกรมภาษาปาสคาลแตกต่างจากบางภาษาที่ต้องมีการกำหนดชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้ในโปรแกรมเสียก่อน  ส่วนประกาศโปรแกรมได้แก่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนหัวไปจนถึงข้อความก่อนคำว่า  Begin  ของโปรแกรมหลัก  ส่วนประกาศโปรแกรมจะประกอบด้วย

1.      ส่วนประกาศเลเบล  Labal

2.      ส่วนประกาศชื่อค่าคงที่  Const

3.     ส่วนกำหนดแบบข้อมูล  Type

4.     ส่วนประกาศตัวแปร  Var

5.     ส่วนโปรแกรมย่อย  Procedure/Function

          ส่วนใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องประกาศ

ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statements)

          ส่วนคำสั่งของโปรแกรม  จะอยู่ต่อจากส่วนประกาศ  ขึ้นต้นด้วย  Begin  และจบด้วย  End.  ช่วงระหว่าง 2 คำนี้จะเป็นคำสั่ง     จะต้องแยกแต่ละคำสั่งออกจากกันด้วย;  โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะมีผลให้มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  

           Begin
                   คำสั่งที่ 1;
                   คำสั่งที่ 2;
                         .
                         .
                         .
                   คำสั่งที่ n; 
           End.

button.gif

 

จัดทำโดย  ครูเนาวรัตน์  ใจการุณ
โีรงเรียนปิยะบุตร์  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1
copyright(c) 2007 Ms.Naowarat Jaikaroon  All rights reserved

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2550

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com