ประเพณีชักพระบาท

 

Homeเรื่องราวผู้จัดทำท่องเที่ยวเมืองจันท์เพลงพื้นบ้านการละเล่นพื้นบ้านประเพณีชักพระบาท
ตำนานประเพณี 
ขั้นตอนการทำพิธี 
เยี่ยมเพื่อนบ้าน 

 

             ประเพณีชักพระบาทจำลองจะถือเอาวันสำคัญ  คือหลังวันสงกรานต์  ประมาณวันที่  15     เมษายน  ของทุกปี   เหตุที่กำหนดเอาในช่วงสงกรานต์  ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในอดีต  เพราะในช่วงเดือนเมษายน    จะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนมาก   ฝนฟ้าจะแล้ง  และเกิดโรคระบาดได้ง่าย  จึงเอาเดือนเมษายนเป็นเดือนที่นำเกวียนพระบาทออกมาเฉลิมฉลอง  ทำบุญและทำการชักเย่อเกวียนพระบาทโดยจะนำรอยพระพุทธบาทไปบำเพ็ญบุญตามทางแยกเข้าหมู่บ้านต่างๆแห่งละ 1 – 2  วัน  นับตั้งแต่หมู่บ้านตะปอนน้อยจนไปถึงหมู่บ้านหนองเสม็ด  รอยพระพุทธบาทจำลองนี้จะถูกอัญเชิญไปในตอนเย็นเพื่อเป็นการฉลองรอยพระพุทธบาท  เมื่อพระสวดพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว  ชาวบ้านก็จะเริ่มการชักเย่อเกวียนพระบาทกัน  พอรุ่งเช้าก็มีการทำบุญตักบาตร  ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์  เป็นอันเสร็จพิธี ต่อจากนั้นก็นำผืนผ้าพระพุทธบาทจำลองนี้ไปยังหมู่บ้านอื่นเพื่อให้ทำบุญต่อไป  รวมเวลาที่จะนำรอยพระพุทธบาทจำลองนี้ไปตามสถานที่ต่างๆ  ทั่วตำบลตะปอนก็ใช้เวลา  1  เดือนพอดี  จึงถือว่ารอยพระพุทธบาทจำลองนี้  เป็นมิ่งขวัญสิริมงคลแก่ชาวบ้านตำบลตะปอน  และในปัจจุบันยังคงจัดประเพณีนี้ต่อมา

จัดทำโดยครูหยาดพิรุณ  พวงสุวรรณ์
โรงเรียนบุญสมวิทยา  จันทบุรี
copyright(c)2006Ms.Yatphirun Phuangsuwan.all rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.