สอบก่อนเรียน

 

Homeผู้จัดทำสอบก่อนเรียนประวัติผู้แต่ง หน้า 1ภูมิหลัง  หน้า 1คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง  หน้า 1ใจความ  หน้า 1สอบหลังเรียน

 

 

 

 

แบบทดสอบก่อนเรียน

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดเป็นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของผู้แต่งที่แต่งเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย

    ก.  บันทึกการทำสงครามยุทธหัตถีครั้งสำคัญ
    ข.  สดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ
    ค.  เพื่อแต่งวรรณคดีสดุดีพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับลิลิตยวนพ่ายในสมัยอยุธยา
    ง.  ต้องการบรรยายชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของฝ่ายไทยในการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า
2. เนื้อความในลิลิตตะเลงพ่ายข้อใดที่ไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาตอนทำยุทธหัตถี
              
ก.         สองโจมสองจู่จ้วง         บำรู
                           สองขัตติยสองขอชู             เชิดค้ำ
                ข.             งามสองสุรยราชล้ำ        เลอพิศ
                           พ่างพัชรินทร์ไพจิตร          ศึกสร้าง
             ค.          พระพี่พระผู้ผ่าน           ภพอุต-   ดมเอย
                           ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด          ร่มไม้
             ง.          พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน      อัสดง
                            เกรงกระลับก่อรงค์            รั่วหล้า

3.   พระราชดำรัสของสมเด็จพระนเรศวรข้อใดที่ทำให้พระมหาอุปราชาตัดสินพระทัยกระทำยุทธหัตถี

    ก.           สงครากษัติรย์ทรง         ภพแผ่น     สองฤา
                  สองราชรอนฤทธิ์ร้า              เรื่องรู้สรรเสริญ 
    ข.          ขัตติยายุทธ์บรรหาร       คชคู่  กันแฮ
                   คงแต่เผือพี่น้อง                   ตราบฟ้าดินกษัย
    ค.          เชิญราชร่วมคชยุทธ์       เผยอเกียรติ    ไว้แฮ
                   สืบกว่าสองเราไสร้              สุดสิ้นฤามี  
    ง.           ไว้เพื่อผดุงเดชเจ้า          จอมปราณ
                   ก่อเกิดราชรำบาญ                ใหม่แม้

4.  ความในข้อใดแสดงลักษณะวรรณศิลป์มากที่สุด

    ก.   พวกพลทัพรามัญ   เห็นไทยผันหนีหน้า  ไป่หยุดยั้งช้า  ตื่นต้อนแตกฉาน  น่านนา
    ข.   ว่องต่อว่องชิงชัย  ไวต่อไวชิงชนะ   ม้าไทยพะม้ามอญ   ต่างเข้ารอนเข้าโรม
    ค.   ธก็ไสสองสารทรง  ตรงเข้าถีบเข้าแทง   ด้วยแรงมันแรงกาย  หงายงาเสยสารเศิก
    ง.   ธุมาการเกิดกระลบ  อบอลเวงฟากฟ้า   ดูบ่รู้จักหน้า  หนึ่งสิ้นแสงไถง  แลนา

5.   สมเด้จพระวันรัตใช้กลวิธีการโน้มน้าวจิตใจอย่างไรจึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระราชทานอภัยโทษประหารชีวิตแก่แม่ทัพนายกอง

    ก.  พูดโน้มน้าวให้เห็นโทษของการสั่งประหารชีวิต
    ข.  พูดโน้มน้าวให้เห็นจริงตามกระบวนการของเหตุผล
    ค.  พูดโน้มน้าวให้เห็นทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย
    ง.  พูดโน้มน้าวให้เห็นความน่าเชื่อถือของบุคคลที่พูด

6.   คำประพันธ์ข้อใดใช้อุปมาภาพพจน์ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                                พระตรีโลกนาถแผ้ว         เผด็จมาร
                         เฉกพระราชสมภาร               พี่น้อง

                   ก.   เห็นประภาพเจ้าช้าง      เชี่ยวกว่าเชี่ยวเหลืออ้าง
                         เอิกเอื้ออัศจรรย์             ยิ่งนา 
            ข.   สองฝ่ายหาญใช่ช้า        คือสีหสู้สีหกล้า
                         ต่อแกล้วในกลาง            สมรนา
            ค.   กองทัพตามกันเต้า         เสียงสนั่นลั่นเท้า
                         พ่างพื้นไพรพัง             เพิกฤา
             ง.  ดังตรลบโลกแล้             ฤาบ่ร้างรู้แพ้
                         ชนะผู้ใดดาล                ฉงนนา

7.   คำประพันธ์ในข้อใดใช้การสัทพจน์เป็นกลวิธีในการประพันธ์

    ก.  ดูคะคลำคะคล่ำ      บ่รู้กี่ส่ำสับสน
    ข.  ศรต่อศรยิงยืน       ปืนต่อปืนยิงยัน
    ค.  อุดอึงโห่เอาฤกษ์     เอิกอึงโห่เอาชัย
    ง.  เงื้อดาบฟันฉะฉาด   ง่าง้าวฟาดฉะฉับ

8.  คำประพันธ์ในข้อใดใช้คำว่า  "ฉัตร"  ต่างจากข้ออื่น

    ก.  อลงกตแก้วแกมกาญจน์     เครื่องพุดตานตกแต่ง
               แข่งสีทองทอเนตร           ปักเศวตรฉัตรฉานฉาย
    ข.  ซึ่งแสร้งรังสฤษฎ์ให้        มาอุบัติ
               ในประยูรเศวตฉัตร          สืบเชื้อ
    ค.  บัดธเห็นขุนกรี                 หนึ่งไสร้
               เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์            เรียงคั่ง   ขูเฮย  
    ง.   ภูธรเมิลอมิตรไท้             ธำรง  สารแฮ
               ครบสิบหกฉัตรทรง          เทริดเกล้า

9. ข้อใดแสดงลักษณะที่ขาดความมีระเบียบวินัยของกองทัพ

    ก.  เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค  ตากเต็มท่งแถวเถื่อน  เกลื่อนแสนยาทัพ  ถับปะทะไพรินทร์
    ข.  ขุนคชขับช้างเทียบ  ทวยหาญเพียบแผ่นภู  ดูมหมาดาดาษ   สะพราศพร้อมโดยขบวน
    ค.  ไล่โรมรอนทวยสยาม  หลามเหลือหลั่นคั่งคับ  ซับซ้อนแทรกสับสน  ยลบ่เป็นทัพเป็นกอง
    ง.  ปวงทัพปลูกค่ายสร้าง   กลางสมร
               ภูมิพยุหไกรสร             ศึกตั้ง

10. ตอนใดที่แสดงให้เห้นชัดว่า  สมเด็จพระนเรศวรทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยสติและความเด็ดเดี่ยวสมกับเป็นผู้นำที่ดี

    ก. ตอนที่ทรงทราบว่าทัพหน้าแตกยับเยิน
    ข. ตอนที่ทรงท้ารบกับพระมหาอุปราชา
    ค. ตอนที่ทรงทราบข่าวศึกพม่าจากเมืองกาญจนบุรี
    ง. ตอนพระมหาอุปราชาสั่งกองทัพทั้งหมดเข้าจู่โจมตีทัพไทยที่ออกมาตั้งรับนอกพระนคร



 

จัดทำโดยนางโสภา  ศรีวัฒนานุกูลกิจ
โรงเรียนศึกษานารี  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร.

Copyright (c) 2004  Mrs.Sopa  Sriwattanukulkit. All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2004 www.thaigoodview.com. All rights reserved.