สอบหลังเรียน

 

Homeผู้จัดทำสอบก่อนเรียนประวัติผู้แต่ง หน้า 1ภูมิหลัง  หน้า 1คำประพันธ์ที่ใช้แต่ง  หน้า 1ใจความ  หน้า 1สอบหลังเรียน

 

 

 

 

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. ในการเขียนวรรณกรรมจากพงศาวดาร  กวีมักจะต้องสอดแทรกจินตนาการไว้ด้วยเพื่อให้งานเขียนน่าอ่านยิ่งขึ้น  ข้อความต่อไปนี้ข้อใดตรงกับคำกล่าวข้างต้น

    ก.  ว่าอดิศวรกษัตรา  มหาธรรมรชนรินทร์  เจ้าปถพินทร์ผ่านทวีป  ดับชนมชีพพิราลัย
    ข.  พระแสดงเดชผังผาย  กุมแสงกรายกรนาด  ยุรยาตรอย่างไกรสร  จากศีขรคูหา 
    ค.  ทัพหน้าเคลื่อนพลเดิน  ลุลำกระเพินบมิหึง  จึ่งพระยาจิดตอง  ให้พลกรองเวฬู
    ง.  แถลงลักษณะปางบรรพ์  มาเทียบ  แนะที่ควรเสด็จค้า  เศิกไซร้ไกลกรุง
2.  คำประพันธ์ในข้อใดที่ใช้คำว่า "ฉัตร" ในความหมายต่างจากข้ออื่น
    ก.  เยียววิวาทชิงฉัตร
    ข.  เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์
    ค.  ครบสิบหกฉัตรทรง
    ง.  ปักเศวตฉัตรฉานฉาย
3.  คำประพันธ์ในข้อใดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อแผ่นดิน

    ก.            ไต่ถามถึงทุกข์ถ้อย       ทวยชน
                  ต่างเสนอสนองกล               แก่ท้าว
                  พระดัดคดีดล                     โดยเยี่ยง  ยุกดิ์นา
                  เย็นอุระฤาร้าว                     ราษฎร์ร้อนห่อนมี
    ข.             พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน   อัสดง
                  เกรงกระลับก่อรงค์              รั่วหล้า
                  คือใครจักคุมคง                   ควรคุ่  เข็ญแฮ
                  อาจประกันกรุงถ้า                ทัพข้อยคืนถึง
    ค.             พระพึงพิเคราะห์ผู้     ภักดี  ท่านนา
                  คือพระยาจักรี                     กาจแกล้ว
                  พระตรัสแด่มนตรี               มอบมิ่ง  เมืองเฮย
                  กูจักไกลกรุงแก้ว                  เกลือกช้าคลาคืน
    ง.             เยียวพิภพแผ่นด้าว     ตกไถง
                  ริพิบัติพูนภัย                      เพิ่มพ้อง
                  สูกันนครใจ                       ครอเคร่า   กูเฮย
                  กูจักพลันคืนป้อง                ปกหล้าแหล่งสยาม

4.  คำประพันธ์ในข้อใดมีลักษระเป็นนิราศ

    ก.            ธก็กรีธาทัพเข้า           เนาเมือง
                  ประทับอยู่แรมคืนเคือง       สวาทไหม้
    ข.           คำนึงนฤบดินทร์         บิตุเรศ  พระแฮ
                  พระเร่งลานละห้อย             เทวษไห้โหยหา
    ค.           พระฝืนทุกข์เทวษกล้ำ   แก่ครวญ
                  ขับคชบทจรจวน                 จักเพล้
    ง.            แสงจันทร์บ่ส่องสมร    หมดเทวษ
                  ถวิลบ่ลืมนวลหน้า                 แม่แม้นนวลจันทร์

5. ข้อใดมีใจความต่างจากข้ออื่น

    ก.           พระคุณตวงเพียบพื้น      ภูวดล
                  เต็มตรลอดแหล่งบน              บ่อนใต้
                  พระเกิดพระก่อชนม์              ชุบชีพ  มานา
                  เกรงบ่ทันลูกได้                     กลับเต้าตอบสนอง
    ข.           พระเนานัครเรศอ้า         เอองค์
                  ฤาบ่มีใครคง                        คู่ร้อน
                  จักริจักเริ่มรงค์                     ฤาลุ  แล้วแฮ
                  พระจักขุ่นจักข้อน                 จักแค้นคับทรวง
    ค.            เอ็นดูภูธเรศเจ้า             จอมถวัลย์
                  เปลี่ยวอุระราชรัน-                ทดแท้
                  พระชนม์ชราครัน                 ครองภพ   พระเอย
                  เกรงบพิตรจักแพ้                  เพลี่ยงพล้ำศึกสยาม
    ง.            พระพลันเห็นเหตุไซร้    เสียวดวง  แดแฮ
                  ถนัดดั่งภูผาหลวง                 ตกต้อง
                  กระหม่ากระเหม็นทรวง       สั่นซีด  พักตร์นา
                  หนักหฤทัยท่านร้อง              เรียกให้โหรให้

6.  เหตุการณ์ตอนใดในลิลิตตะเลงพ่ายที่แสดงถึงความฉลาดของสมเด็จพระนเรศวร

    ก.  ตอนเดินทัพและตั้งทัพตามตำราพิชัยสงคราม
    ข.  ตอนพระราชทานอภัยโทษแก่ทหารที่ตามเสด็จไม่ทัน
    ค.  ตอนให้ทหารที่เป็นกองหน้าทำท่าทีเป็นแพ้ถอยอย่างไม่ขบวน
    ง.  ตอนกล่าวเชิญพระมหาอุปราชากระทพสงครามยุทธหัตถี

7. ข้อใดที่เป็นพิธีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์

    ก.  ด่วนเดินโดยโขลนทวาร  พวกพลหาญแห่หน้า
    ข.  ใจทรนงองอาจ   ยาตรตัดไม่ข่มนาม
    ค.  ปวงละว้าเซ่นไก่   ไขว่สรวงพลีผีสาง
    ง.  ฝ่ายพ่อทวิชาชาติ  ราชปุริโสดม  พรหมพิทยาจารย์

8. สมเด็จพระวันรัตใช้กลวิธีโน้มน้าวใจอย่างไรจึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษประหารชีวิตแก่นายทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทัน

    ก.  การอธิบายให้เห็นบาปบุญคุณโทษ
    ข.  การอธิบายให้เห็นจริงตามกระบวนการเหตุและผล
    ค.  การอธิบายให้เห็นประโยชน์ของการอภัยโทษ
    ง.  การอธิบายให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของผู้ที่ขอพระราชทานอภัยโทษ

9.                             ขุนเสียมสามารถต้าน          ขุนเตลง
                   ขุนต่อขุนไป่เยง                               หย่อนห้าว
                   ยอหัตถ์เทิดลบองลเบง                     อังกุศ   ไกวนา
                   งามเร่งงามโทท้าว                          ท่านสู้ดัสกร
              คำประพันธ์ข้างต้นนี้ตรงกับรสวรรณคดีข้อใด

    ก.  วีรรส
    ข.  ภยานกรส
    ค.  อัพภูตรส
    ง.  ศฤงคารรส

10.   คำประพันธ์ในข้อใดมีคำศัพท์ที่หมายถึงการทำยุทธหัตถี

    ก.              คชยานขัตติเยศเบื้อง          ออกถวัลย์
                     โถมปะทะไป่ทัน                       เหยียบยั้ง
                     สารทรงราชรามัญ                   ลงล่าง   แลนา
                     เสยส่ายท้ายทันต์ตั้ง                 คู่ค้ำคางเคิน
    ข.             หัสดินปิ่นธเรศไท้              โททรง
                     คือสมิทธิมาตงค์                      หนึ่งอ้าง
                     หนึ่งคือคิริเมลข์มง-                 คลอาสน์
                     เศียรส่ายหงายงาคว้าง            ไขว่แคว้งแทงโถม
    ค.              บัดมงคลพ่าห์ไท้              ทวารัติ
                    แว้งเบี่ยงเศียรสะบัด                 ตกใต้
                    อุกคลุกพลุกเงยงัด                    คอคช   เศิกแฮ
                    เบนบ่ายหงายแหงนให้             ท่วงท้อทีถอย
    ง.             หัสดีรณเรศอ้าง                 อวสาน   นี้นา
                    นับอนาคตกาล                          ห่อนฟ้อง
                    ขัตติยายุทธ์บรรหาร                  คชคู่   กันแฮ
                    คงแต่เผือพี่น้อง                         ตราบฟ้าดินกษัย



 

จัดทำโดยนางโสภา   ศรีวัฒนานุกูลกิจ
โรงเรียนศึกษานารี  เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร.

Copyright (c) 2004  Mrs.Sopa  Sriwattananulkit.  All rights reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2004 www.thaigoodview.com. All rights reserved.