ความรู้ประกอบ

 

Homeประวัติผู้จัดทำ..ผู้แต่งประเพณีการเห่เรือตำนานการเห่เรือเนื้อเรื่องลักษณะพิเศษการพิจารณาคุณค่าลักษณะการแต่งความรู้ประกอบชื่อเรือและชื่อสัตว์ในเรื่องความรู้ที่ได้จากเรื่อง

 

 

 ความรู้ประกอบ

 

          1. ตำนานการเห่เรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า การเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบอย่างมาจากประเทศอินเดีย แต่ประเทศอินเดียใช้เป็นมนตร์ในตำราไสยศาสตร์บูชาพระราม ส่วนของประเทศไทยใช้เห่บอกจังหวะฝีพายพร้อมกัน เพื่อเป็นการผ่อนแรงในการพายและทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน

          2. ประเภทของการเห่เรือ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
          1) เห่เรือหลวง เป็นการเห่เนื่องในงานพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่น ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในคราวสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี
          2) เห่เรือเล่น เป็นการเห่เวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนารื่นเริง และให้จังหวะฝีพายพายพร้อมกัน การเห่เรือในปัจจุบันนำเอาบทเห่เรือเล่นที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์ไว้ ซึ่งใช้เห่เรือมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          3  ลำนำการเห่เรือ มี 3 อย่าง คือ
          1) สวะเห่ ใช้เห่เมื่อเรือเข้าเทียบท่าเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
          2) ช้าสวะเห่ เป็นเห่ช้า ใช้พลพายในท่านกบิน
          3) มูลเห่ เป็นเห่เร็ว ใช้เห่ต่อจากช้าสวะเห่ ใช้พายเมื่อเรือทวนกระแสน้ำ การเห่โคลงนำกาพย์เรียกว่า "เกริ่นโคลง"

  

จัดทำโดย
นางสาวอุสุมา สิริอิทธิวงศ์
นางสาววนิดา แซ่ซื้อ
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย  กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2006 MissUsuma  Siriit-tiwong and MissVanida Sae-sue. All rights reseved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com