มะลิ

Home คณะผู้จัดทำ หน้าที่1 หน้าที่2 หน้าที่3 หน้าที่4 หน้าที่5
หน้าที่6 หน้าที่7 หน้าที่8 หน้าที่9 หน้าที่10
หน้าที่11 หน้าที่12 หน้าที่13 หน้าที่14 หน้าที่15
หน้าที่16 หน้าที่17 หน้าที่18 หน้าที่19 หน้าที่20

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Jusminum adenophyllum วงศ์ OLEACEAE ชื่อสามัญ - ชื่ออื่นๆ มะลิลา, มะลิหลวง, มะลิซ้อน ถิ่นกำเนิด - ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์ เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วน ซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอน ทางเศรษฐกิจ มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่นับวันมีความสำคัญมากขึ้นประโยชน์ที่ด้รับจากมะลิ เช่น เก็บดอกสำหรับทำพวงมาลัย ดอกไม้แห้ง อุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย แล้วยังมีประโยชน์รวมถึงใช้เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคได้ เช่น มะลิซ้อนดอกสดใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ตัวร้อน แก้หวัด เป็นต้น พื้นที่การปลูกมะลิของประเทศไทยในปี 2534 จำนวน 3,800 ไร่ แหล่งปลูกอยู่ในเขตจังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก ลำพูน หนองคาย สมุทรสาคร และนครปฐม เขตจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือ นครปฐม ซึ่งปลูกถึง 1,964 ไร่ การส่งออกในปี 2534 จะส่งออกในรูปของดอกมะลิมูลค่า 23,990 บาท ส่งออกในรูปของต้นมะลิ มูลค่า 9,855 บาท และในรูปพวงมาลัย มูลค่าถึง 3,293,225 บาท ตลาดของมะลิในต่างประเทศที่สำคัญคือ เนเธอร์แลนด์ อเมริกา และ เบลเยี่ยม ส่วนตลาดพวงมาลัยของไทยคือ อเมริกา และญี่ปุ่น พันธุ์ดอกมะลิ

1. มะลิลา

2. มะลิลาซ้อน

3. มะลิถอด

4. มะลิซ้อน

5. มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร

6. มะลิทะเล

7. มะลิพวง

8. มะลิเลื้อย

9. มะลิวัลย์หรือมะลิป่า

10. พุทธิชาติ

11. ปันหยี

12. เครือไส้ไก่

13. อ้อยแสนสวย

14. มะลิเขี้ยวงู (มะลิก้านยาว) มะลิลาพันธุ์ที่ส่งเสริมและนิยมปลูกมี 3 พันธุ์คือ

1. พันธุ์แม่กลอง

2. พันธุ์ราษฎร์บูรณะ

3. พันธุ์ชุมพร

การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ มะลิลาที่นิยมทำกันมากที่สุด คือ การปักชำ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายสะดวกและรวดเร็ว นิยมทำเป็นเชิงการค้าซึ่งมีวิธีการทำได้ ดังนี้

1. วัสดุเพาะชำ

2. การเตรียมกิ่งพันธุ์

3. การปักชำ

4. หลังจากกิ่งปักชำออกรากแล้ว

ผู้เรียบเรียง สมชาย มีชีพสม

กลุ่มงานแมลงศัตรูพืช กองป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

กรมส่งเสริมการเกษตร

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com