กระต่ายตื่นตูม
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

 นิทานสอนลูกหลานให้ฉลาดได้อย่างไร
เรื่องราวในนิทานแต่ละเรื่องผู้แต่งหรือผู้เล่าจะสอดแทรกข้อคิด ข้อเตือนใจและสาระที่แฝงไว้ให้เราได้เก็บมาคิดเป็นคติสอนใจและส่งเสริมสติปัญญา
 ในหลากหลายแง่มุมที่จะปรับมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวืต ในชีวิตประจำวันของเราได้
แต่การอ่านนิทานให้ได้ประโยชน์ผู้อ่านจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ว่าแก่นแท้ของแต่ละเรื่องมุ่งสอนข้อคิด อะไรแก่เรา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่านิทานแต่ละเรื่องมักจะแสดงแง่มุมสองด้านที่ตรงกันข้ามเสมอ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างดีกับไม่ดี
ชั่วกับเลว  ฉลาดกับเขลา ควรทำกับไม่ควรทำ เป็นต้น
ดังนิทานที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ หวังว่าการอ่านนิทานครั้งนี้จะสามารถทำให้ท่านได้รับประโยชน์มากกว่าความสนุกเพลิดเพลินอย่างเดียว

 

ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ 
กระต่ายตื่นตูม 
กลอนบทละคร 
กลอนเพลงชาวบ้าน 

 

.กระต่ายตื่นตูม
กาลครั้งหนึ่งยังมีกระต่ายน้อย
นอนหลับผล็อยใต้ตาลใหญ่พุ่มใบหนา
บังเอิญเกิดลมโกรกกระโชกมา
โหมพัดพาลูกสุกหล่นจากต้นตาล
เสียงดัง "ตูม" กระต่ายฟื้นตื่นตระหนก
ด้วยงันงกรีบเผ่นแผล็วแล้วร้องขาน
ท่านทั้งหลายรีบหนีไวไม่ได้การ
ถ้าช้านานฟ้าถล่มจมมลาย
บรรดาสัตว์ได้ฟังรั้งวิ่งหนี
รีบเร็วจี๋บ้างเหยียบกันอย่างขวัญหาย
จนมาพบราชสีห์ถามคลี่คลาย
จงอธิบายให้ครบตอนอย่าร้อนรน
กระต่ายบอกท่านขาฟ้าถล่ม
ราชสีห์ก้มหน้าฟังทั้งฉงน
แล้วบอกว่าพาไปดูให้รุ้กล
จึงเห็นผลว่าที่แท้แค่ต้นตาล
                                      อารยา  เรืองมณี

ข้อเปรียบเทียบ
กระต่าย   การไม่พิจารณาให้ถ่องแท้ รอบคอบ
ราชสีห์  การพิจารณาอย่างรอบคอบ

บทวิเคราะห์
๑.อย่าตื่นตระหนกก่อนจะพิจารณาให้ดีเสียก่อน
๒.ไม่ควรโวยวายในเรื่องที่ยังไม่ได้พิจารณา     
๓. ผู้ที่สุขุมรอบคอบจะสามารถค้นพบ               
สาเหตุของปัญหาได้                                

คำศัพท์

กระโชก ทำให้กลัว ทำให้ตกใจ
โหม  ระดม
ตระหนก   หวาด ผวา ตกใจ

 

 

 

 

.จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.