มดง่ามกับจักจั่น
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

 นิทานสอนลูกหลานให้ฉลาดได้อย่างไร
เรื่องราวในนิทานแต่ละเรื่องผู้แต่งหรือผู้เล่าจะสอดแทรกข้อคิด ข้อเตือนใจและสาระที่แฝงไว้ให้เราได้เก็บมาคิดเป็นคติสอนใจและส่งเสริมสติปัญญา
 ในหลากหลายแง่มุมที่จะปรับมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวืต ในชีวิตประจำวันของเราได้
แต่การอ่านนิทานให้ได้ประโยชน์ผู้อ่านจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ว่าแก่นแท้ของแต่ละเรื่องมุ่งสอนข้อคิด อะไรแก่เรา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่านิทานแต่ละเรื่องมักจะแสดงแง่มุมสองด้านที่ตรงกันข้ามเสมอ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างดีกับไม่ดี
ชั่วกับเลว  ฉลาดกับเขลา ควรทำกับไม่ควรทำ เป็นต้น
ดังนิทานที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ หวังว่าการอ่านนิทานครั้งนี้จะสามารถทำให้ท่านได้รับประโยชน์มากกว่าความสนุกเพลิดเพลินอย่างเดียว

 

กลอนคืออะไร 
เม่นกับงู 
ขึ้นต้นบทกลอนอย่างไร. 

 

 

มดง่ามกับจักจั่น
กาลครั้งหนึ่งยังมีมดง่ามใหญ่
หาเหยื่อไว้เก็บตุนทุนอาหาร
แม้ฝนตกยังเก้บไว้ได้กินนาน
สุขสำราญจนหมดฝนพ้นเลยไป
มาวันหนึ่งมดง่ามหามขนเหยื่อ
ที่มีเหลือผึ่งแดดแจ้งแสงสดใส
บังเอิญมีจักจั่นหนึ่งซึ่งเดินไป
เข้ามาไหว้เอ่ยขอทานอาหารกิน
ฉันอดอยากตาลายมาหลายมื้อ
โปรดอย่าถือช่วยปันให้ใคร่ถวิล
มดง่ามถามท่านไปไหนไม่หากิน
จนหมดสิ้นฤดูร้อนก่อนฝนพรำ
ฉันมั่วเพลินเดินร้องเพลงบรรเลงทั่ว
เมื่อรู้ตัวอาหารขาดพลาดถลำ
ตอนสมบูรณ์ไม่เสาะหามาเก็บงำ
ต้องเจ็บช้ำเมื่อหายากลำบากจริง
                            อารยา  เรืองมณ

ข้อเปรียบเทียบ
มดง่าม    ความขยัน ผู้เตรียมพร้อม
 จักจั่น  ความขี้เกียจ ผู้ไม่เตรียมพร้อม
                            (ไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี)
บทวิเคราะห์
๑. ผู้ขยันย่อมไม่อดอยาก
๒. ผู้ขยันย่อมเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
 ๓.ผู้ขยันมีโอกาสได้ช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
๔. ผู้เกียจคร้าน ย่อมได้รับความลำบากในอนาคต
                                     (ไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี)
คำศัพท์

ตาลาย   อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัด
พร่าลายไปหมด
 (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕)ู่

 

 

 

 

 

จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี . และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.