เม่นกับงู
ผู้จัดทำคำนำแบบทดสอบก่อนเรียนมดง่ามกับจักจั่นคนตัดไม้กับเทวาชาวนากับงูเห่าไก่ได้พลอยลากับจิ้งหรีดแบบทดสอบหลังเรียน

 นิทานสอนลูกหลานให้ฉลาดได้อย่างไร
เรื่องราวในนิทานแต่ละเรื่องผู้แต่งหรือผู้เล่าจะสอดแทรกข้อคิด ข้อเตือนใจและสาระที่แฝงไว้ให้เราได้เก็บมาคิดเป็นคติสอนใจและส่งเสริมสติปัญญา
 ในหลากหลายแง่มุมที่จะปรับมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวืต ในชีวิตประจำวันของเราได้
แต่การอ่านนิทานให้ได้ประโยชน์ผู้อ่านจะต้องรู้จักคิดวิเคราะห์ว่าแก่นแท้ของแต่ละเรื่องมุ่งสอนข้อคิด อะไรแก่เรา
ซึ่งถ้าพิจารณาแล้วก็จะเห็นว่านิทานแต่ละเรื่องมักจะแสดงแง่มุมสองด้านที่ตรงกันข้ามเสมอ เป็นการเปรียบเทียบระหว่างดีกับไม่ดี
ชั่วกับเลว  ฉลาดกับเขลา ควรทำกับไม่ควรทำ เป็นต้น
ดังนิทานที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ หวังว่าการอ่านนิทานครั้งนี้จะสามารถทำให้ท่านได้รับประโยชน์มากกว่าความสนุกเพลิดเพลินอย่างเดียว

 

กลอนคืออะไร 
เม่นกับงู 
ขึ้นต้นบทกลอนอย่างไร. 

 

.

เม่นกับง
 
กาลครั้งนั้นยังมีเม่นตัวหนึ่ง
หาที่พึ่งพักอยู่คู่อาศัย
จนมาพบโพรงงูุอยู่ข้างใน
จึงเข้าไปขอพักด้วยช่วยเมตตา
งูใจดีบอกว่าถ้าเดือดร้อน
เข้าพักผ่อนให้สบายได้หรรษา
งูก็แบ่งที่นอนผ่อนกายา
จวบเวลาเข้านอนตอนกลางคืน
เม่นนอนดิ้นขนตำงูสู้เจ็บปวด
ทนเร้ารวดเจ็บกายใจไม่อยากฝืน
จึงบอกเม่นข้าเจ็บจนทนกล้ำกลืน
ท่านไปอื่นดีกว่าอยู่คู่รวมกัน
เม่นกลับว่าท่านเป็นผู้อยู่ไม่สุข
ท่านควรลุกออกไปไม่ใช่ฉัน
งูได้คิดช่วยคนพาลร้าวรานครัน
คนพาลนั้นคำนึงแต่เห็นแก่ตัว
                                           อารยา  เรืองรัตน์มณี

ข้อเปรียบเทียบ
เม่น  ความเห็นแก่ตัว
งู  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                                 (ไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี)
บทวิเคราะห์
๑. การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ใด
ควรพิจารณาลักษณะนิสัยของผู้นั้นให้
ถ่องแท้เสียก่อน
๒.ควรหลีกหนีคนที่มีนิสัยพาล
                                   (ไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี)
คำศัพท์
กล้ำกลืน    ฝืนใจ  อดกลั้น
ร้าวราน   แตกสามัคคีกัน
เร้ารวด  ถูกกระตุ้นอย่างเร้ว
              (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕)ู่ 

 

 

 

 

 

จัดทำโดย ครูไอสุรีย  เรืองรัตน์มณี .และคณะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

Copyright(c)2009 Mrs.Isuree Ruengratmanee.All rights reserved.