รู้จักกับ E-mail
     E-Mail ย่อมาจาก Electronic Mail แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง เป็นการรับส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ
         1. Username : ชื่อผู้ใช้
         2. เครื่องหมาย : @ เรียกว่า assign อ่านออกเสียงว่า “at”
         3. domain name : ชื่อสถานีรับ-ส่ง E-mail

การรับส่ง e-Mail
     บริการ e-Mail จัดเป็นส่วนหนึ่งของบริการอินเทอร์เนต มีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัด ปลอดภัย สามารถส่งจดหมายได้ที่เดียวพร้อมๆกันหลายฉบับหลายประเทศในเวลาเดียวกัน และยังพร้อมทั้งแนบแฟ้มเอกสารไปกับจดหมายได้ด้วย นอกจากนั้นแล้วเรายังทราบได้ว่าจดหมายที่จัดส่งนั้นไปถึงผู้รับหรือไม่ การจะใช้บริการ e-Mail จำเป็นต้องเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการ e-Mail ก่อน เมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะได้ e-Mail Account หรือ อาจเรียกว่า e-mail Address ก็ได้
     การรับอีเมล์
         การส่งอีเมล์เริ่มจากการสร้างไฟล์อีเมล์ขึ้นมาใหม่ แล้วส่งไฟล์นั้นให้กับเครื่องที่เป็น เมล์เซิร์ฟเวอร์ขาออก ซึ่งจะส่งต่อไปยังผู้รับปลายทางอีกทอดหนี่ง เราสามารถเขียนข้อความหรือแนบไฟล์เอกสาร รูปภาพ และข้อมูลมัลติมีเดียแบบต่างๆ ไปด้วยก็ได้ นอกจากนี้บางโปรแกรมยังจัดหน้าตาเมล์ให้สวยงามและน่าอ่าน โดยใช้ภาษา HTML แบบเดียวกับเว็บเพจนั้นเอง ในการส่งอีเมล์นี้ เราอาจส่งไปยังผู้รับคนเดียว หรือจะระบุให้ส่งถึงหลายๆ คนโดยเมล์ฉบับเดียวก็ได้ เมล์เซิร์ฟเวอร์ขาออกจะจัดการกระจายให้ทุกคนเอง
     การส่งอีเมล์
         การส่งอีเมล์เริ่มโดยเชื่อมต่อไปเครื่อง เมล์เซิร์ฟเวอร์ขาเข้า ซึ่งมีเมล์บ็อกซ์ หรือตู้ไปรษณีย์ เพื่อดึงอีเมล์ที่มาถึงเข้ามายังเครื่องของเราและอาจลบไฟล์ต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์นั้นทิ้ง หรือจะเก็บไว้ก่อนก็ได้ อีเมล์ที่ดึงมาแล้วนั้นจะเปิดอ่านหรือแยกเอาไฟล์หรือข้อมูลที่แนบมาใช้งานอื่นๆ ต่อได้เช่นกัน


แสดงการรับ และการส่งเมล์
ที่มา : http://www.thaimacclub.net/article/pando_01.jpg


ประโยชน์ของ E-Mail
     1. รวดเร็ว เพราะสามารถติดต่อได้ทันที
     2. สะดวก เพราะไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่ไปรษณีย์
     3. ประหยัด เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าจดหมายธรรมดาเป็นอย่างมาก
     4. สามารถส่งภาพเคลื่อนไหวได้ และมีเสียงได้
     5. สามารถรับและส่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
แหล่งข้อมูล : http://www.sci.nu.ac.th/information-it/index.php?topic=7822.0
                   : หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้แต่ง : วิโรจน์  ชัยมูล
กลับ เมนู