|  หน้าหลัก   |   แฟรนไชส์คิออะไร?  |  ร้านต้นแบบ   |   หน้าที่ของผู้ลงทุน   |การเติบโตของแฟรนไชส์

|  ขั้นตอนการทำ |   ข้อได้เปรียบ   |   ข้อเสียเปรียบ   |

ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์

1.สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ
การทำแฟรนไชส์ ( Franchise ) คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการ
พัฒนามาจากแฟรนไชส์ซอร์ ( Franchisor ) การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี ดังนั้นแฟรนไชส์ซีจึงไม่มีอิสระภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ

2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ
ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์ ( Franchise ) แต่อาจกล่าวได้ว่า ไม่มี
หลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยปกติ นอกจากนี้ อาจพบว่าแฟรนไชส์ซี ( Franchisee ) อาจประสบความล้มเหลวเนื่องจากสาเหตุต่างๆ สาเหตุของความล้มเหลวที่แฟรนไชส์ซีไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ได้ ออกเป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ สาเหตุจากตัวแฟรนไชส์ซีเอง และสาเหตุจาก

แฟรนไชส์ซอร์

 

3.ค่าใช้จ่ายสูง
แฟรนไชส์ซี ( Franchisee )จำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบ
กิจการ นอกจากนี้แฟรนไชส์ซี ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างเช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะพบว่าคิดเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อแฟรนไชส์ซีได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย

 

แฟบรนไชส์
เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการตกลง บางประเทศจึงวางกฎกติกามารยาท ให้แฟรนไชส์ซอร์เปิดเผยข้อมูลบางอย่างก่อนที่จะทำสัญญาแฟรนไชส์หรือก่อนแฟรนไชส์ซีลงทุน รายละเอียดจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และมีองค์กรที่เรียกว่า International institute the unification of private law เรียกสั้นๆว่า UNIDROIT ได้รวบรวมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในธุรกิจ แฟรนไชส์ และยกร่างกฎหมายแม่แบบ

( MODEL LAW) เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ดังนั้นการลงทุนระบบแฟรนไชส์จะต้องมีการศึกษา สัญญาอย่างละเอียด   ควรหาคำปรึกษาด้านกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆต่อไปนี้
- การสิ้นสุดสัญญาอันเนื่องมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
- ข้อผูกมัดของแฟรนไชส์ซอร์
- ข้อจำกัดต่างๆ
- สิทธิขอบเขตการประกอบการ
- การระงับข้อพิพาท
- สิทธิต่างๆของแฟรนไชส์ซี

 

สิทธิที่ให้ตามสัญญา

บรรดาเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือ โนว์ฮาว( Know - How ) ทั้งหลายนี้ถือเป็นหัวใจของ
ธุรกิจแฟรนไชส์ และจะต้องติดมากับแฟรนไชส์เสมอ

 ข้อตกลงเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

สินค้าหรือบริการที่ต้องซื้อมาเข้าร้านเมื่อเป็นแฟรนไชส์ซีแล้วนั้น มีข้อผูกมัดอะไรหรือไม่ การเปิดเผยข้อบังคับเหล่านี้จะต้องให้แฟรนไชส์ซีรับทราบก่อนดำเนินการทางธุรกิจ หรือแฟรนไชส์ซีมีสิทธิกำหนดราคาได้เอง ถ้ากำหนดราคาขั้นสูงหรือขั้นต่ำ นอกจากนี้แฟรนไชส์ซอร์ที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ผลิตสินค้า หรือบริการที่นำมาขายให้กับแฟรนไชส์ซี จะเรียกว่าค่าคอมมิชชั่นหรือคิกแบ็ก (Kick back) ต้องเปิดเผย

 

สิทธิตามมาสเตอร์แฟรนไชส์

 

อันนี้หมายถึง แฟรนไชส์ที่มาจากต่างประเทศ คนที่สิทธินำเข้ามา และขายแฟรนไชส์ในประเทสต่อเรียกว่า "ซับแฟรนไชส์ซอร์" (SUBFRANCHISOR) ส่วนสัญญาแฟรนไชส์เรียกว่า " มาสเตอร์แฟรนไชส์" (MASTER FRANCHISE) สิทธิตามมาสเตอร์แฟรนไชส์เป็นสิทธิหลัก ดังนั้นหากสิทธิตามมาสเตอร์แฟรนไชส์ต้องหยุดกิจการก็จะกระทบต่อแฟรนไชส์ซีที่ซื้อแฟรนไชส์มาอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นต้องเปิดเผยข้อมูลของเจ้าของแฟรนไชส์ต่างประเทศให้แฟรนไชส์ในประเทศรู้ด้วย

 

การโอนสิทธิแฟรนไชส์

หากแฟรนไชส์ซีจะโอนกิจการของตนให้ผู้อื่นทำได้ไหม การโอนกิจการให้คนอื่นมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง แฟรนไชส์ซีหาผู้รับโอนเองได้หรือไม่ หรือต้องได้รับความยินยอมจากแฟรนไชส์ซอร์ก่อน ต้องชดใช้อะไรให้แฟรนไชส์ซอร์หรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต้องเปิดเผยให้ผู้สนใจทราบล่วงหน้า

การต่ออายุสัญญาแฟรนไชส์

เงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ในการต่ออายุสัญญาแฟรนไชส์อย่างไร เช่นในกรณีใดบ้างที่แฟรนไชส์ซอร์จะไม่ต่อสัญญาให้ หรือแฟรนไชส์ซีที่ต้องการต่อสัญญาต้องบอกก่อนล่วงหน้านานเท่าไร หรือเมื่อได้รับแจ้งว่าแฟรนไชส์ซีอยากต่อสัญญา แฟรนไชส์ซอร์ต้องตอบกลับภายในเวลาเท่าไร

 

พื้นที่ที่ได้สิทธิทำแฟรนไชส์


ขอบเขตพื้นที่ของแฟรนไชส์ซี พื้นที่ที่จะไม่มีร้านแฟรนไชส์อื่นมาแข่งขัน ส่วนใหญ่ในเรื่องนี้จะกำหนดไว้ชัดเจนในสัญญา เช่น ระบุว่าในรัศมี 2 ก.ม. จากร้านของแฟรนไชส์ซี แฟรนไชส์ซอร์จะไม่อนุญาตให้คนอื่นมาเปิดร้านแฟรนไชส์แข่งขัน แต่บางแฟรนไชส์ก็กำหนดไว้เล็กมากเช่นภายในรัศมี 500 เมตร เป็นต้น การกำหนดขนาดของพื้นที่คงต้องอาศัยสถิติและตัวเลขพอสมควร ว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านแฟรนไชส์นั้นจะมีมากน้อยแค่ไหน พื้นทีที่กำหนดคงต้องให้มากพอที่ร้านนั้นจะมีกำไรอยู่ได้

ข้อจำกัดสิทธิของแฟรนไชส์ซี

ข้อจำกัดสิทธิในการทำธุรกิจของแฟรนไชส์ซี ส่วนใหญ่ห้ามขายสินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าใดกลุ่มหนึ่งโดยระบุเจาะจง สินค้าหรือบริการที่จะเอาเข้ามาขายในร้านจะจำกัดเฉพาะที่มีเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์ซอร์เท่านั้น แต่บางแห่งก็มีข้อจำกัดประเภทของสินค้าที่นำมาขายด้วย

สิทธิบอกเลิกสัญญา

แฟรนไชส์ซีที่เลิกสัญญาไปแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์มักจะกำหนดให้แฟรนไชส์ซียังคงต้องเก็บรักษาความลับในธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง การห้ามแฟรนไชส์ซีทำธุรกิจประเภทเดียวกันแข่งกับแฟรนไชส์นั้น อาจมีช่วงกำหนดระยะเวลาที่ห้าม รวมถึงพื้นที่ที่ห้ามทำธุรกิจแข่งขัน เงื่อนไขเหล่านี้ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเพราะอาจผิดกฎหมายป้องกันการผูกขาดได้ ในประเทศไทยก็คือ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 254