|  หน้าหลัก   |   แฟรนไชส์คิออะไร?  |  ร้านต้นแบบ   |   หน้าที่ของผู้ลงทุน   |การเติบโตของแฟรนไชส์

|  ขั้นตอนการทำ |   ข้อได้เปรียบ   |   ข้อเสียเปรียบ   |

หน้าที่ของผู้ลงทุน

                      อันดับแรก คือ จ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ให้กับเจ้าของ

 แฟรนไชส์ (Franchisor) เป็นเงินก้อนแรกตามที่ตกลงกัน

  

                      ตระเตรียมหาเงินลงทุน

                      เลือกหาทำเล ที่ตั้งร้านค้าที่ดีที่สุด

                      เข้ารับการฝึกอบรมจากวิทยากร ทั้งในห้องอบรม และ สถานที่ทำงานจริง

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีทั้งส่วนที่เป็นสาขาจากต่างประเทศ เช่นกิจการจำหน่ายสินค้าประเภทจานด่วน (Fast Food) ได้แก่ เคเอฟซี  แมคโดนัลด์  พิซซ่าฮัท ฯลฯกิจการจำหน่ายสินค้าสะดวกซื้อ ได้แก่ เซเว่น-อีเลฟเว่น  ไทเกอร์มาร์ต  สตาร์ชอร์ป ฯลฯ และธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำเนิดโดยคนไทยเอง เช่น เลมอนฟาร์ม ลูกชิ้นแชมป์ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ข้าวมันไก่เจมส์ ฯลฯ

 

คุณสมบัติที่ดีของแฟรนไชส์ซอร์


ในแง่ธุรกิจจะต้องมี Business Concept ที่ดีมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจและมีระบบการบริหารการจัดการที่ดีพอสำหรับรองรับการขยายการเติบโตในอนาคต และที่สำคัญที่สุด ธุรกิจจะต้องประสบความสำเร็จมีผลประกอบการที่มีกำไรคุ้มค่ากับการลงทุน และในแง่ของบุคคลคือตัวผู้บริหารเจ้าของแฟรนไชส์ซอร์ จะต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความประนีประนอมและมีความอดทนในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน นอกจากนั้นผู้บริหารยังจำเป็นจะต้องเป็นนักขายที่เก่งและเป็นนักบริหารจัดการที่ดีที่เก่งทั้งการบริหารงานและบริหารคนอีกด้วย


ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จะต้องมีตลาดที่ใหญ่พอที่จะสร้างยอดขายจำนวนมากและตลาดจะต้องกว้างพอที่จะขยายการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ลักษณะแฟรนไชส์ที่ดีจะต้องมีระบบที่ถูกต้อง การบริหารจัดการที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถทำงานได้ง่าย แต่ธุรกิจที่ดีจะต้องมี Know How เฉพาะเป็นของตัวเองที่คนอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ธุรกิจที่เหมาะกับระบบแฟรนไชส์ ได้แก่ ธุรกิจประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ร้านค้าปลีกประเภทสะดวกซื้อ บริการที่เกี่ยวกับบ้านและธุรกิจที่เกี่ยวกับรถยนต์ เป็นต้น