หน้าหลัก
ความเป็นมา
ธุรกิจ
สปาง่ายๆ
ผู้จัดทำ
อ้างอิง
สปาไทย
++++++++++++++++++++++
เรื่อง
ธาตุทั้ง 4
Update 25/11/2009

 

 

 

 

 

 

 

สุขภาพดีอยู่ที่ตัวคุณ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ที่มาhttp://www.tistr.or.th/spa/images/herb_use/herb_06.jpg

 

 

ลักษณะนั้นมีห้า เป็นธรรมดาแต่โบราณ
คือธาตุนั้นพิการ กำเริบและหย่อนไปฯ
อนึ่งเล่าคือธาตุแตก เป็นแผนกนับออกไว้
ธาตุออกจากกายไซร์ สังเขปได้ห้าประการฯ
  ความรู้แต่โบราณกาล กล่าวไว้ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์

ได้แจกแจงสาเหตุของความเจ็บป่วยไว้ ซึ่งมีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงหรือแปรปรวนไปของ “ธาตุ” ในร่างกายมนุษย์ ซึ่งแยกแยะได้ ๕ ประการ ได้แก่

๑)ธาตุพิการ หมายถึงธาตุนั้นผิดปกติไปบ้าง

๒)ธาตุกำเริบ คือ ธาตุนั้นๆ มีมากขึ้น

๓)ธาตุหย่อน ความหมายก็ตรงไปตรงมาว่า ธาตุนั้นมีน้อยลง

๔)ธาตุแตก อันนี้ธาตุชักรุนแรงขึ้นถึงขั้นธาตุนั้นแตกออก

๕)ธาตุออกจากกาย หมายถึง ธาตุในร่างกายออกไปจากร่าง นั่นคือ หมดลมหายใจนั่นเอง

ดังนั้น

หลักคิดหรือทฤษฎีของการดูแลสุขภาพแต่โบราณให้ความสำคัญกับธาตุในร่างกายอย่างยิ่ง ซึ่งในธรรมชาติและร่างกายมนุษย์จะมีความคล้ายกัน

 

ภาพโดย น.ส.ซัยนับ อาเมน

 

คือประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งธาตุทั้ง ๔ ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของเราให้เป็นปกติ หากธาตุทั้ง ๔ เสียสมดุลร่างกายของเราก็พลอยเจ็บไข้ได้ป่วย ดังวรรณกรรมโบราณในตำราโรคนิทานคำฉันท์ บรรยายความสำคัญของธาตุไว้ ดังนี้

อันธาตุทั้งสี่นี้ เลี้ยงอินทรีย์ทุกชนนา
หนุ่มแก่ไม่เว้นหนา ธาตุทั้งสี่มีเหมือนกัน
เมื่อธาตุดีไม่วิบัติ สารพัดชื่นชุ่มมั่น
ผุดผ่องทั้งสีสัน ทั้งกำลังว่องไวดี
เมื่อวิบัติทนเทวษ ดูทุเรศ ซูบเศร้าศรี
เกิดโรคเข้าย่ำยี ในอาการสามสิบสอง

    จึงเป็นเรื่องยืนยันว่า วิธีคิดแบบไทยให้ความสำคัญกับสมดุลของธาตุ และให้ความสำคัญกับธาตุดินและธาตุน้ำที่รวมกันแล้วได้ ๓๒ ซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานในสังคมไทยว่า สุขภาพดีต้องมีอาการครบสามสิบสอง
คัมภีร์โบราณอธิบายธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ไว้ว่า ธาตุดิน มี ๒๐ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก อาหารที่กินเข้าไปใหม่ อาหารเก่าที่กินเข้าไป เยื่อในสมองศีรษะ ธาตุน้ำ มี ๑๒ ได้แก่ น้ำดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำมันไขข้อ น้ำมูตรหรือน้ำปัสสาวะ รวมสองธาตุที่คนไทยให้ความสำคัญก็จะได้ ๓๒ นั่นเอง

อ้างอิง:

1.http://www.samunpri.com/modules.php?name=Wej&file=panboran

2.http://ecurriculum.mv.ac.th/.../modules.php-name=News&file=article&sid=64.htm