น้ำพริกมะขาม

มะขามฝักอ่อนๆ สีเขียวๆ สมัยเป็น
เด็กๆ เวลาหิว อยากกินอะไร
เปรี้ยว ขอตังด์แม่ แม่ก็ไม่ให้ บอก
หิวให้มากินข้าวบ้าน อิ อิ

...รายละเอียด


 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

ชื่อพื้นเมือง :

   กระโปรงทอง (ภาคใต้), เคือขนตาช้าง (ศรีสะเกษ), ตำลึงฝรั่ง (ชลบุรี),  เถาสิงโต เถาเงาะ (ชัยนาท), ผัก แคบฝรั่ง (ภาคเหนือ), หญ้ารกช้าง (พังงา), กะทกรก (ภาคกลาง), ผักขี้หิด (เลย) เยี่ยววัว (อุดรธานี), ละพุบา บี (มลายู นราธิวาส, ปัตตานี), หญ้าถลกบาต (พิษณุโลก , อุตรดิตถ์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

   ไม้เถาเนื้ออ่อน มีมือเกาะ ใบป้อม เรียงสลับ แผ่นใบเว้า เป็น 3 หยัก มีขน ใบประดับเป็นฝอย มีต่อมอยู่ที่ปลาย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวมีกะบังรอบเป็นเส้นฝอย สีขาวโคนสีม่วงเรียง กันเป็นรัศมี ค่อนข้างกลมมีใบประดับหุ้ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ด แมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่มๆ ทุกส่วนของพืชนี้เมื่อขยี้ หรือทำให้ช้ำจะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ลักษณะเฉพาะ

   ไม้เถาเนื้ออ่อน มีมือเกาะ ใบป้อม เรียงสลับ แผ่นใบเว้าเป็น 3 หยัก มีขนใบ ประดับเป็นฝอย มีต่อมอยู่ที่ปลาย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบ กลีบดอกด้านนอก สีเขียวอ่อน ด้านในสีขาว มีกะบังรอบเป็นเส้นฝอย สีขาวโคนสีม่วงเรียงกันเป็น รัศมี ผลค่อนข้างกลม มีใบประดับหุ้ม เมื่ออ่อนสีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสี เหลืองอมส้ม เมล็ดมีเนื้อหุ้มลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลักแช่น้ำ รสหวานปะแล่มๆ ทุกส่วนของพืชนี้เมื่อขยี้หรือทำให้ช้ำจะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ถิ่นกำเนิด : พืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกาเขตร้อน

การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคต่างๆ ที่มีอากาศร้อน

สรรพคุณ

   เนื้อไม้มีรสชาติฝาดเฝื่อนเล็กน้อย ใช้เป็นยาคุมธาตุถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด รักษาบาดแผล เปลือกนำมาต้มรมแผลที่เน่าเปื่อย ทำให้แผลแห้ง เมล็ดทา ท้องเด็กแก้ท้องอืด ทำให้ผายลม

วิธีใช้  โดยการตำเมล็ดให้ละเอียด และผสมกับน้ำสับปะรดลนควันให้อุ่น และ ใช้ทาท้องเด็กราก
ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้กามโรค
ใบนำมาตำให้ละเอียดคั้น เอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อ ขับพยาธิหรือตำให้ละเอียดเอา กากสุมศีรษะ แก้ปวดศีรษะ

ประโยชน์:

   นำมาปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมัก เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงป้องกันไม่ให้สัตว์มาทำลายได้ ยอดอ่อนต้มกินได้ิ

โทษ:

   ผลอ่อนเป็นพิษ เพราะมี (Cyanogenetic glucoside) เปลือกผลเมล็ดและใบ มีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารนี้สลายตัวจะให้ (Acetone) และ (Hydrocyanic acid) ซึ่งสารตัวหลังนี้ เป็นสารพิษทำให้เม็ดโลหิตแดง ขาดออกซิเจน ผลทำให้เกิดการ อาเจียน


ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org