แกงแค

แกงแค เป็นแกงที่ประกอบไปด้วย
ผักหลายชนิด โดยจะมีเนื้อสัตว์ใส่
เข้าไปด้วยหนึ่งอย่าง และจะเรียก
ชื่อแกงแค ตามชนิดของเนื้อสัตว์
ที่ใส่นั้น เช่น

...รายละเอียด


 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

ชื่ออื่น : แคขาว แคแดง (เหนือ) แคดอกแดง แคดอก ขาว

ลักษณะทั่วไป

  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกคล้ายดอกถั่ว พบขึ้นตาม ป่าละเมาะ คันนา ริมถนน และบริเวณบ้าน ปลูกได้ดีทั้งใน ที่แล้ง และที่ชุ่มชื้น ช่วยปรับปรุงดิน เพราะเป็นไม้ตระกูล ถั่ว คนไทยทุกภาครู้จักผัก พื้นบ้านชนิดนี้ดี และนิยมกินกัน ทั่วไป

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร โตเร็ว มีกิ่ง ก้านสาขามาก กิ่งเปราะง่าย เปลือกมีสีน้ำตาล มีรอยขรุ ขระหนา เปลือกในมีสีชมพู มีรสฝาด

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยมีขนาดเล็กเรียงคู่เป็นใบย่อยมี 30-50 ใบ

ดอก ออกเป็นกระจุกออกที่ซอกใบ มีสีขาวคล้ายดอกถั่ว แต่ละช่อมี 2-4 ดอก ยาว 6-10 ซม. กลีบเกลี้ยงเป็นรูประฆังหรือ ถ้วย

ผล เป็นฝักแบน ยาวประมาณ 8-15 เมตร ฝักแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงอยู่ตรงกลางแถวเดียว

เมล็ด คล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเล็ดประมาณ 5 มม. ลักษณะกลมแบน สีน้ำตาลอ่อน หนึ่งผลมีหลายเมล็ด เมล็ดแข็ง

   ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ท้องร่วง ท้องเดิน แก้ อาการปวดศรีษะข้างเดียว แก้ไข้เปลี่ยนฤดู คุมธาตุ สมาน ภายนอก ภายในคุณค่าทางโภชนาการเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เบต้า-แคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี

ประโยชน์และความสำคัญ

   ยอดอ่อนและใบอ่อน มักจะลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ดอก นำไปแกงส้ม ต้มจืด ผักแกงคั่วหรือแก่งอ่อมยอดอ่อน ใบอ่อน รสหวาน มัน ดอกแค รสหวานออกขมเล็กน้อย

ยอดอ่อน ใบอ่อน ดับพิษร้อนถอนพิษไข้

ดอก มีรสหวานออกขมเล็กน้อย สรรพคุณแก้ไข้หัวลม

เปลือกต้น มีรสฝาด รักษาอาการท้องเดิน แต่ถ้ากินมากๆ จะทำให้อาเจียนได้

ราก น้ำจากรากนำมาผสมกับน้ำผึ้ง เป็นยาขับเสมหะ

ข้อมูลบางส่วนนำมาจาก: http://chachoengsao.doae.go.th