น้ำพริกมะขาม

มะขามฝักอ่อนๆ สีเขียวๆ สมัยเป็น
เด็กๆ เวลาหิว อยากกินอะไร
เปรี้ยว ขอตังด์แม่ แม่ก็ไม่ให้ บอก
หิวให้มากินข้าวบ้าน อิ อิ

...รายละเอียด


 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

ชื่อท้องถิ่น   มะขามไทย(ภาคกลาง) ขาม (ภาคใต้) &mbsp;ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่วงโคคล้ง (กระเหรี่ยว - กาญจนบุรี) อำเปียล (เขมร-สุนิรทร์)

   เรื่องมะขาม มีคติความเชื่อว่า มะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกัน
ความถ่อย ถ้อยความและผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำ
ให้มีคนเกรงขาม ยำเกรง

ลักษณะเฉพาะ

   มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ แตก กิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระ และหนาสี น้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้าน ใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบ และโคนใบ มน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาด เล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2ซม. ออกรวมกันเป็นช่อ ยาว2–16 ซม.ดอก ออกตามปลายกิ่งดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลือง และมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลาง ดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติด กับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล
    ใบของมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อย
เพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบเรียกแบบขนนกคู่(evenpinnate)
    การปลูกมะขาม ทำได้โดยเตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรอง
ก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และการบำรุงรักษาหลัง เริ่มปลูก ควรเอาใจใส่ตายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน

ประโยชน์

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด

สรรพคุณและวิธีใช้

  1. แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
  2. แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือน้ำรับ
    ประทาน
  3. ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
  4. แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน

การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์

สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคน จนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลง
พวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่

คุณค่าทางโภชนาการ : ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามินเอมาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกาย
ได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก


ข้อมูลจาก: http://th.wikipedia.org