น้ำกระเจี๊ยบ

ล้างกระเจี๊ยบให้สะอาด เด็ดเฉพาะ
กลีบเลี้ยง ใส่น้ำลงในหม้อ ใส่กลีบ
เลี้ยง กระเจี๊ยบต้มจนเดือด ประมาณ 30-40 นาที

...รายละเอียด


 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

ลักษณะทั่วไป

   เดิมเป็นไม้ในบริเวณเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นับจาก หมู่เกาะต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซียไปจนกระทั่งถึงประ เทศศรีลังกา ต่อมามีผู้นำเอาไม้ขี้เหล็กไปปลูกในบริเวณ ต่างๆ สำหรับในประเทศไทย เราจะพบไม้ขี้เหล็กในแทบ ทุกจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ, ภาคกลาง, ภาคใต้ ชาวบ้านนิยมปลูกไม้ขี้เหล็กเป็นไม้ให้ร่ม และเป็นไม้ประ ดับ ขึ้นได้ในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี

   ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เป็นปุ่ม เปลือกสี เทาถึงสีน้ำตาลดำยอดอ่อนสีแดงเรื่องๆ ใบประกอบเป็น แบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบ เดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลือง
อยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบเกสรตัวผู้ 10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อน เรียง ตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหาร ในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้ อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผมทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร

ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษา โรคโลหิตพิการ ผายธาตุ รักษารังแค ขับพยาธิ

ราก รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้ บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง

ทั้งต้น แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัว เหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน

เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย

กระพี้ รสขมเฝื่อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด

ใบ รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยา ระบาย รักษาอาการ นอนไม่หลับ

ฝัก  แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง

เปลือกฝัก  แก้เส้นเอ็นพิการ

ใบแก่  ใช้ทำปุ๋ยหมัก

การขยายพันธุ์

  เพาะเมล็ดจนงอกใบจริง 3–5 ใบ แล้วย้ายปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักรองกันหลุมก่อน รดน้ำให้ชุ่มทันที

สรรพคุณทางยา

   ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก ดอกตูมแห้ง และแก่น ขนาดและวิธีใช้สำหรับอาการท้องผูก ใช้ ใบอ่อน ดอกและแก่นแห้ง ประมาณ 4-5 กำมือ น้ำหนัก 20-25 กรัม ใส่น้ำให้ท่วม เติม เกลือเล็กน้อย ต้ม 10-25 นาที ดื่มก่อนอาหารเช้า หรือก่อนนอนให้หมดในครั้งเดียว

ข้อเสนอแนะ

การใช้สมุนไพรแก้อาการท้องผูก

ขนาดและวิธีใช้

   สำหรับอาการเบื่ออาหาร ใช้ใบ ยอดอ่อน และดอกต้มเดือด เคี่ยว 5-10 นาที เทน้ำทิ้ง และต้มใหม่เอาเนื้อสำหรับจิ้มน้ำ พริกหรือแกงรับประทาน สำหรับอาการนอนไม่หลับ ใบอ่อนและดอกตูมแห้ง 150 กรัม เติมเหล้าโรงพอท่วม แช่ทิ้งไว้ 5-7 วัน คนบ่อยๆ กรองเอากากออก ดื่มครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน

ประโยชน์และความสำคัญ

   การใช้ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น เสา เครื่องเรือนอย่างดี, เป็นฟืนให้ความ ร้อน 4,441 แคลอรี่/กรัม ถ้าเป็นถ่านให้ความร้อนสูง 6,713-7,036 แคลอรี่/กรัม การใช้้ประโยชน์ทางด้านนิเวศน์ ปลูกเป็น พรรณไม้ปรับปรุงดิน เนื่องจากใบมีธาตุไนโตรเจนสูงช่วยปกคลุมดินและความชื้นได้ดี เป็นพรรณไม้ที่นิยมปลูกเป็นป่าอนุรักษ์ ในที่ที่มีความชื้นปานกลางสูง การใช้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ ดอกและดอกอ่อน ใช้รับประทานได้ใช้ทำแกงขี้เหล็กได้

ข้อมูลบางส่วนนำมาจาก: http://www.panyathai.or.th