ชะอมผัดกุ้ง

...รายละเอียด


 


หน้านี้มีทั้งหมด ลิงค์

ลักษณะทั่วไป

  ชะอมเป็นไม้พุ่มขนาดย่อม แต่เคยมีพบชะอมในป่า ลักษณะเป็นต้นไม้ใหญ่ วัดเส้นรอบวงของลำต้นได้ 1.2 เมตร ไม้ชะอมที่ปลูกตามบ้าน จะพบในลักษณะไม้พุ่ม และ เจ้าของมักตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ออกยอดไม่สูงเกินไป จะได้ เก็บยอดได้สะดวก ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่  2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย ใบอ่อนมีกลิ่น ฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ ใบเรียงแบบสลับใบย่อย ออกตรง ข้ามกัน ใบย่อรูปรี มีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอกออกที่ซอก ใบสีขาวหรือขาวนวล ดอกขนาดเล็กและเห็นชัด เฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอยๆ ผล เป็นฝัก มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

   ชะอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน หากพบโรคป้อง กันโดยใช้ปูนขาวโรยรอบโคนต้น หรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำ ปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่า แมลงฉีดทุกๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอม หลังฉีดยาแล้วไม่ น้อยกว่า 7 วัน อายุการเก็บเกี่ยว หลังจากปลูกกิ่งตอนได้ ประ มาณ 10 -15 วัน สามารถตัดยอดขายได้ หากบำรุง รักษาดี สามารถตัดยอดชะอมได้ทุก 2 วัน

วิธีการปลูกชะอมต้นเดียวร้อยยอดกันบ้าง เขาทำกันอย่างไร?

   ต้นชะอมเป็นไม้เลื้อยจะแตกยอดตามกิ่ง และเกษตรกรจะเก็บยอดอ่อนไป จำหน่ายหรือบริโภค ฉะนั้นการปลูกชะอมก็ไม่จำเป็นต้องปลูกหลายต้น แต่เรา จะปลูกต้นชะอม 1 ต้น แล้วปล่อยให้ชะอมมันเลื้อยทอดยอดไปเรื่อยๆ โดยเราก็ จะจับลำต้นชะอม ให้ทอดยอดสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วใช้ เชือกฟางมัดไว้กับหลักที่ปักไว้

   การปลูกชะอมปลูกไม่ยากเลย ถ้าใช้กิ่งตอนเกษตรกรจะนิยมยกร่อง แล้วขุด หลุมปลูกบนร่อง ทั้งนี้เพราะป้องกันน้ำท่วมขัง ทำให้รากชะอมเน่าตายได้ โดย ทั่วไปเกษตรก็จะปลูกห่างกันต้นละประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยการปลูก เป็นแถวเป็นแนว หรือปลูกเป็นแปลง ระยะห่างของแถว ประมาณ 1 เมตร  แต่ เกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมปลูกแบบแถวคู่  ระยะห่างของแถว  1 เมตร แต่ถ้า ปลูกริมรั้วบางครั้งก็ใช้แถวคู่ ระยะห่างระหว่างแถว และระหว่างต้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร

การกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม

   เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยยูเรีย เพื่อกระตุ้นการแตกยอดใหม่ของชะอม แต่ควรใช้ใน อัตราที่น้อย และต้องใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักด้วย จะทำให้ดินดีมีความอุดมสม บูรณ์มาก ต้นชะอมจะเจริญเติบโตดี ด้วยการกระตุ้นการแตกยอดอ่อนของชะอม อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ ใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่หมักจากยอดอ่อนของพืชชนิดต่างๆ ปริมาณการใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำ 40 ลิตร รดทุก 7 วัน ชะอมจะ แตกยอดอ่อนได้ดี และช่วยให้ต้นแข็งแรงดีด้วย แต่ก็ควรใส่ปุ๋ยหมักในดินให้กับ ต้นชะอมด้วยจะดีมาก จากการปลูกชะอมโดยวิธีธรรมชาตินี้ เกษตรกรทำกันมา นานแล้วเป็นอย่างนี้สืบต่อเรื่อยมา

วิธีการขยายพันธุ์ชะอม

   การขยายพันธุ์ต้นชะอม ชะอมจะใช้วิธีการขยายพันธุ์ได้ โดยการตอนกิ่ง และการปักชำกิ่งหรือการโน้มกิ่งชะอมฝังดินทำ แตกรากใหม่ เกิดเป็นต้นใหม่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรสามารถทำการขยายพันธุ์เองได้ หรือหาซื้อกิ่งพันธุ์ได้ตามร้านขายกิ่งพันธุ์ ไม้ทั่วไป

วิธีการใส่ตามชนิดของปุ๋ย

     ถ้าเป็นปุ๋ยเหลวที่ต้องเก็บในสภาพที่มีความดัน การใส่ปุ๋ยประเภทนี้จำเป็นต้องมี เครื่องมือในการใส่เฉพาะเจาะจง เช่น แอมโมเนียเหลว ต้องใส่ลงไปใต้ผิวดินไม่ต่ำกว่า 10-15 เซนติเมตร ขณะที่ใส่ดินควรมีความชื้นพอเหมาะ ถ้าหากเป็นดินเนื้อ หยาบความลึกของการใส่ก็ต้องเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดการระเหยสูญเสียไปของปุ๋ย หรืออีกวิธีหนึ่งทำได้โดยการอัดปุ๋ยนี้ลงไปใน ระบบน้ำชลประทาน แล้วจึงปล่อยน้ำผสมปุ๋ยนั้นลงสู่แปลงพืชต่อไป วิธีนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า fertigation ถ้าเป็นปุ๋ยเหลวที่ ไม่ต้องเก็บในสภาพความดัน อาจจะใส่ให้กับพืช โดยการนำมาละลายน้ำให้มีความเจือจางถึงระดับหนึ่ง ที่จะไม่ก่อให้เกิดผล เสียหายกับใบหรือส่วนต่างๆ ของพืชที่ถูกฉีดพ่น การให้ปุ๋ยโดยวิธีนี้เรียกว่า foliar application ในทางปฏิบัติควรกระทำใน ช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่อากาศร้อนจัด เพราะอากาศร้อนจะทำให้น้ำในปุ๋ยระเหยออกไปโดยเร็ว เหลือแต่ เกลือปุ๋ยตกค้างอยู่บนใบพืชปุ๋ยนั้นจะเข้าสู่ระบบของท่อน้ำท่ออาหารในพืชได้ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดอาการไหม้เป็นจุด เนื่อง จากเกลือปุ๋ยที่ตกค้างนั้นดูดเอาน้ำจากเซลพืชมาละลายตัวเอง การใส่ปุ๋ยโดยวิธีนี้ควรกระทำเมื่อต้องการให้เกิดผลอย่างรวด เร็ว ในกรณีที่ขาดเฉพาะจุดหรือ รากพืชไม่แข็งแรงเท่านั้น ถ้าเป็นปุ๋ยเม็ดที่ละลายน้ำได้ง่าย ซึ่งเป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป การใส่อาจกระทำได้ทั้งในลักษณะการใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นหรือรองก้นหลุม หรือใส่เพื่อเป็นปุ๋ยแต่งหน้า

การเก็บยอดชะอม

   เมื่อปลูกชะอมได้ประมาณสัก 3 เดือน รดน้ำวันเว้นวัน ต้นชะอมชอบชื้น แต่ ไม่ชอบแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าตายได้ ชะอมก็จะเริ่มแตกยอดอ่อนมาให้เก็บ ไปขายหรือใช้บริโภคได้แล้ว และเมื่อเก็บยอดชะอมไปขาย ชะอมก็จะแตกยอด ใหม่มาเรื่อยๆ เราควรมีการดูแลรักษาต้นชะอม โดยการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หลังจากปลูกชะอมได้ 2-3 เดือนจะทำให้ต้นชะอมแข็งแรง และเจริญเติบโตได้ ดี 

ประโยชน์ของชะอม

  คือ ยาขับลมชั้นดีระดับหนึ่ง แต่ในด้านลบ ผมคุ้นๆ ว่าชะอมจะมีกรดยูลิคอยู่สูง ซึ่งจะมีผลเสียต่อไขข้อกระดูก จนอาจส่งผลเป็นโรคเก๊าได้ในวัยสูงอายุ สำหรับ ดอกแค คุ้นๆ ว่าจะมีประโยชน์กับเม็ดเลือด แต่ที่แน่ๆ คือ กากใยอาหารครับ ดูแลรักษากระเพาะได้เป็นอย่างดี ข้อเสียยังไม่ เคยได้ยินครับ

ประโยชน์ทางยา

ด้านสมุนไพร มีการกล่าวถึงไว้ในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทยว่า ราก ฝนกินแก้ท้องขึ้น ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง ในตำราปลูกต้นไม้ในบ้านของไทย ไม่ได้กล่าวถึงชะอมเอาไว้ แสดงว่า ไม่ห้ามปลูกชะอมในบริเวณบ้าน ชะอม จึงเป็นผักพื้น บ้านที่น่าปลูกอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากสามารถเก็บยอดได้ตลอดปี โดยไม่ต้องกังวลเรื่องโรคแมลงแต่อย่างใด ชะอมอาจปลูก ได้จากเมล็ด เช่นเดียวกับกระถิน หรือปลูกจากกิ่งตอน หรือตัดกิ่งแก่ปักชำลงในดินก็ได้

รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ

    ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัม ให้พลังงานกับสุข ภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 1 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิ กรัม


ข้อมูลบางส่วนนำมาจาก:
สถาบันการแพทย์แผนไทย