บทที่1ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่

บทที่2 ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย

บทที่3 ภูมิศาสตร์ภูมิภาคประเทศไทย

บทที่4 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

 

 

 

 

 

2. ลักษณะภูมิอากาศของประเทศไทย

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศไทย
1. ที่ตั้งตามละติจูด เราอยู่เขตละติจูดที่ใกล้เส้นศูนย์สูตร -> อากาศร้อน
2. ความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงยิ่งหนาว สูงทุกๆ 180 เมตร อุณหภูมิลดลง 1 องศา เซลเซียส
3. การขวางกั้นของภูเขา ทำให้เกิดเขตเงาฝน (Rain Shadow) บริเวณหลังเขาอากาศจะอบอ้าวและแห้งแล้ง
4. ความใกล้ – ไกลทะเล 
- พื้นที่ที่อยู่ใกล้ทะเล ความแตกต่างระหว่างร้อนกับหนาวมีน้อย (ร้อนก็ร้อนไม่มาก หนาวก็หนาวไม่มาก)
5. ทิศทางของลมประจำ ได้แก่
- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นำพาความชื้นและฝนมาตก เพราะพัดมาจากมหาสมุทร (มหาสมุทรอินเดีย)
- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นำพาความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาให้ เพราะพัดมาจากแผ่นดิน (จีน)
6. อิทธิพลของพายุหมุน
- พายุ = ลมที่พัดแรงมาก (แรงกว่าลมมรสุม)
- พายุหมุน เกิดที่ทะเลจีนใต้ แล้วพัดเข้าสู่ประเทศไทยทางทิศตะวันออก แต่เจอภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน (เพราะมีพื้นที่ล้ำออกมาทางตะวันออกที่สุด)
- พายุหมุนที่แรงที่สุด คือ ไต้ฝุ่น
- แต่ที่พัดเข้ามาสู่ประเทศไทยบ่อยๆ ลดกำลังเป็นดีเปรสชัน (ซึ่งเป็นพายุหมุนที่เบาที่สุด) เนื่องจากผ่านแผ่นดินเวียดนามและลาวก่อนมาเจอไทยไต้ฝุ่น จึงอ่อนกำลังแรงลงเป็นดีเปรสชัน

ปริมาณฝนในประเทศไทย
1. ประเทศไทยมีปริมาณฝนปานกลางถึงค่อนข้างชุก เฉลี่ยทั่วประเทศ 1,550 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนใหญ่เกิดจากอิ่ทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่มีบางพื้นที่ได้รับอิทธิพลของลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ด้วย
2. พื้นที่ของประเทศที่มีฝนตกมากที่สุด คือ
2.1 ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรภาคใต้ (ด้านทะเลอันดามัน) บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาภูเก็ต โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดระนอง (สูงสุดเคยวัดได้ 4,320 มิลลิเมตร)
2.2 ชายฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย บริเวณด้านหน้าของเทือกเขาจันทบุรี และเทือกเขาบรรทัด ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและตราด สูงสุดเคยวัดได้ที่อำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด สูงถึง 4,764 มิลลิเมตร

ฤดูกาลของประเทศไทย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฤดูกาลในประเทศไทย คือ อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียง
ใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้อุณหภูมิและปริมาณฝนในแต่ละภูมิภาคมีความ
แตกต่างกัน จึงแบ่งฤดูกาลของประเทศไทยออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้
1. ฤดูฝน เป็นฤดูกาลที่มีช่วงเวลายาวนานกว่าฤดูอื่นๆ (พฤษภาคม – กันยายน) โดยเฉพาะในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน มีฝนตกชุกที่สุด ทั้งนี้เพราะ
- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน นำความชุ่มชื้นจากมหาสมุทรอินเดียเข้าสู่ประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกทั่วทุกภาค
- ลมพายุดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้ พัดผ่านเข้าสู่ประเทศไทยบางพื้นที่ทำ ให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกันยายน
2. ฤดูหนาว (ตุลาคม – กุมภาพันธ์) เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุตะวันออกเฉียงเหนือจากตอนบนของประเทศจีน พัดพาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งมาสู่ประเทศไทย
***พื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าทุกภาค เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรงมากกว่าภาคอื่นๆ
3. ฤดูร้อน (มีนาคม – เมษายน) เป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด มีอุณหภูมิและโดยปกติจะมี มีฝนทั้งนี้เพราะ
- ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อนกำลังลงอุณหภูมิจึงสูงขึ้นไม่มีฝน
- ดวงอาทิตย์ส่องแสงตั้งฉากกับประเทศไทยมากที่สุด ทำให้มีอุณหภูมิสูง โดยเฉพาะในเดือนเมษายน
- ในช่วงฤดูร้อน อาจจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ (พายุนี้จะทำให้ฝนตกหนักมากๆ แต่ตกเพียงแป๊บเดียวก็หยุด)

...............สภาพภูมิอากาศของภาคใต้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากภาคอื่นๆ คือมีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน (ไม่มีฤดูหนาว) เนื่องจากไม่มีเดือนใดที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำหรือสูงจนเรียกว่าเป็นฤดูหนาวหรือฤดูร้อนได้.............

 

 

 

 

บทที2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง หนังสือสังคมศึกษา มัธยมศึกษา 1 (ภูมิศาสตร์) จาก สถาบัน Tutor

http://www.nsru.ac.th/inline/images/itemmom2/map012.gif

ผู้จัดทำ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ชั้น ม.2/5

ด.ญ. ภรณ์พชร ภักดีรีตน์

ด.ญ. จารุวรรณ ฉัตรโพธิ์

ด.ญ. ภัทราพร โกนธีรากูล