บทที่1ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนที่

บทที่2 ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย

บทที่3 ภูมิศาสตร์ภูมิภาคประเทศไทย

บทที่4 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แหล่งอ้างอิง หนังสือสังคมศึกษา มัธยมศึกษา 1 (ภูมิศาสตร์) จาก สถาบัน Tutor

 

ผู้จัดทำ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ ชั้น ม.2/5

ด.ญ. ภรณ์พชร ภักดีรีตน์

ด.ญ. จารุวรรณ ฉัตรโพธิ์

ด.ญ. ภัทราพร โกนธีรากูล

บทที่1

ปัญหาการนับเวลาในภูมิภาคต่างๆของโลก
                เนื่องจากภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ทำให้เวลาของแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เราเรียกว่า “เวลาท้องถิ่น” ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาในการนับเวลาอย่างมาก  เช่น ในขณะที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาเที่ยงตรง (12.00 น.)    แต่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลา 12.18 น. เวลาท้องถิ่นของทั้งสองเมืองนี้ไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงต้องกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไว้
ประเภทของเวลา
                1 ) เวลามาตรฐานสากล หรือเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich Mean Time) ใช้ตัวย่อว่า G.M.T. คือ เวลาหลักวากล สำหรับเทียบเวลาของตำบลต่างๆทั่วโลก โดยกำหนดให้เวลาที่ตำบลกรีนิช ใกล้กรุงลอนดอนซึ่งตั้งอยู่ที่ลองจิจูด 0 องศา เป็นเวลามาตรฐานสากลของโลก
                2) เวลาทางการ หรือเวลามาตรฐานของประเทศ (Standard Time) หมายถึงเวลาที่ทางราชการของประเทศนั้นๆ กำหนดขึ้นสำหรับประเทศของตน ให้เป็นแบบอย่างเดียวกันทั่วประเทศ ทั้งนี้ยึดเอาเวลาของลองจิจูดเส้นใดเส้นหนึ่งที่ลากผ่านประเทศของตนเป็นเกณฑ์ (ประเทศไทยใช้ลองจิจูด 105 องศา)

โดยข้อเท็จจริง พื้นที่ภาคต่างๆ ของไทยย่อมมีเวลาแตกต่างกัน เพราะตำบลท้องถิ่นต่างๆตั้งอยู่ในลองจิจูดที่ต่างกัน (97    105     E ) ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้สะดวกในการนับเวลาให้เหมือนกันทั่วประเทศ ทางราชการจึงกำหนดให้มีเวลามาตรฐานขึ้น โดยถือเวลาของลองจิจูด 105 องศาตะวันออกเป็นหลัก ถ้า กรุงเทพฯ เป็นเวลา12.00 น. อุบลราชธานีก็ต้องเป็นเวลา 12.00 น.