สาเหตุของความหลากหลายทางพันธุกรรมได้กล่าวมาแล้วว่าพื้นฐานของความ
หลากหลายทางชีวภาพ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งมีปฐมเหตุจากการ
เปลี่ยนแปลงของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน (gene) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นักพันธุ
ศาสตร์เรียกว่ามิวเตชั่น(mutation) มิวเตชั่นเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นใน
อัตราที่ค่อนข้างต่ำ แต่ละหน่วยพันธุกรรมมีอัตรามิวเตชั่นไม่เท่ากันส่วนใหญ่เกิดขึ้น
น้อยมาก เช่นเกิดในอัตราประมาณ 1 ใน100,000ต่อชั่วรุ่น แต่บางอย่างเกิดได้มากขึ้น
เช่น เกิดในอัตราประมาณ 1 ใน 10,000 ต่อชั่วรุ่นเมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถสืบทอด
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงนี้ไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ ในธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจ
จะเกิดขึ้นจากความผิดพลาดโดยบังเอิญของกลไกการแบ่งตัวของหน่วยพันธุกรรม
หรืออาจถูกรบกวนจากรัง สีตามธรรมชาติ แต่หากมีสิ่งก่อเกิดมิวเตชั่นมากขึ้นจากการ
กระทำโดยตรงหรือโดยอ้อมของมนุษย์ เช่น สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ กัมมันตรังสีต่างๆ
เป็นต้นก็จะทำให้อัตรามิวเตชั่นสูงขึ้นกว่าอัตราปกติเป็นอันมาก แม้ว่ามิวเตชั่นจำนวน
มากจะเป็นภัยต่อสิ่งมีชีวิตเพราะหน่วยพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตมักผ่านกระบวนการปรับ
ตัวมาอย่างดีแล้ว แต่มิวเตชั่นก็เป็นสาเหตุเบื้องต้นของความหลากหลายทางพันธุกรรม
ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยเริ่มต่างๆ ก็ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและระบบ
นิเวศได้นอกจากนี้ การนำพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาในกลุ่มอาจจะโดยการอพยพย้ายถิ่นหรือการ
นำเข้าโดยมนุษย์ก็ทำให้พันธุกรรมมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน การสืบพันธุ์แบบ
อาศัยเพศ ทำให้หน่วยพันธุกรรมจากสองแหล่งมีโอกาสมาพบกันและมารวมกลุ่มกันใหม่
ทำให้มีการรวมกลุ่มของลักษณะต่างๆ อย่างหลากหลายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้เทค
โนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ อาทิ การถ่ายทอดหน่วยพันธุกรรมให้แก่เซลล์โดยเทคนิคการ
เพาะเลี้ยงเซลล์ และเทคโนโลยีระดับโมเลกุล ก็เป็นวิธีการ รั้งความหลากหลายของกลุ่ม
หน่วยพันธุกรรมได้เช่นเดียวกันแสดงถึงสาเหตุของความแปรผันทางพันธุกรรม


ที่มา:http://www.swu.ac.th/royal/book2/b2c1p2_1.html
 
    สาเหตุของความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตที่มีหลากหลายชนิด เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการที่ค่อยๆสะสมองค์ประกอบทางพันธุกรรมทีละน้อยๆ ใน
เวลาหลายชั่วรุ่น จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หรือที่นักชีววิทยาเรียกว่า speciation" นั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สามารถสืบพันธุ์ได้เฉพาะภายในกลุ่มของ
ตนเอง แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้ ดังนั้น การเกิดสิ่ง
มีชีวิตชนิดใหม่ จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตแม้จะดำรง
ชีวิตอยู่ในที่เดียวกัน แต่ละชนิดก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มของตนเองเอาไว้ได้ โดยทั่วไปแล้ว สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่มักจะมีรูปร่างลักษณะภายนอกแตกต่างจากสิ่งมีชีวิต
ชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป
    ปัจจัยสำคัญของการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงได้แก่การพัฒนาระบบและกล
ไกการสืบพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง
ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่วนใหญ่จะใช้
เวลายาวนานหลายชั่วรุ่นโดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งจะคัดพันธุ์ที่ด้อยกว่าใน
ด้านการสืบทอดลูกหลานออกไปจากกลุ่มในอัตราที่เร็วช้าต่างกันไปตามความเข้มของ
การคัดเลือกตามธรรมชาติ นักชีววิทยาอธิบายว่า การที่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกิดขึ้นได้นั้น
    น่าจะมีสภาวะบางประการที่ทำให้ประชากรซึ่งเคยเป็นพวกเดียวกันมีอันต้อง
ตัดขาดจากกัน
สภาวะนี้อาจจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งขวางกั้นมิให้มีการผสมพันธุ์
ระหว่างกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนและองค์ประกอบของหน่วย
พันธุกรรมภายในกลุ่มของตนเอง โดยไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนหน่วยพันธุกรรมกับกลุ่ม
อื่นจนในที่สุดต่างฝ่ายต่างก็มีวิวัฒนาการไปตามทางของตน โดยการคัดเลือกตามธรรม
ชาติในภาพแวดล้อมที่ต่างกันแม้ว่าต่อมาจะมีโอกาสพบกันก็ไม่สามารถสืบทอดลูกหลาน
ร่วมกันได้อีกต่อไป นอกจากนี้ทำหน้าที่คัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชและสัตว์ที่ตน
ต้องการวิธีนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆเช่น
เดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่าสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ๆเหล่านี้อาจจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวด
ล้อมที่มนุษย์กำหนดขึ้นเท่านั้น อาจจะไม่สามารถดำรงอยู่ตามธรรมชาติได้ จึงไม่น่าจะยั่ง
ยืนและไม่มีประโยชน์มากนักต่อความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ ยังมีการเกิด
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อย่างฉับพลันด้วยระบบและกลไกอื่นอีกบ้างแต่ปรากฏการณ์นี้เท่าที่พบ
ก็ยังเกิดขึ้นได้น้อยมากปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ การสุ่มเสี่ยง
ของสิ่งมีชีวิตที่มีประชากรขนาดเล็ก
การสุ่มเสี่ยงดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดปรากฏ
การณ์ที่สิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมถูกคัดออกไปโดยบังเอิญหรือ
กล่าวอีกนัยหนึ่งสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะด้อยกว่าอาจจะอยู่รอดได้หรือมีจำนวนมากกว่า
ทั้งนี้ด้วยความบังเอิญมากกว่าความสามารถในการปรับตัวไม่ว่าจะเป็นกรณีการคัดเลือก
พันธุ์หรือกรณีการสุ่มเสี่ยงโดยบังเอิญ ระบบนิเวศจะเป็นปัจจัยสำคัญเสมอในการกำหนด
ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น แม้จะมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายหลายชนิดเพียงใดก็ตาม
แต่หากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นปรับตัวโดยมี

ที่มา:http://www.swu.ac.th/royal/book2/b2c1p4_1.html

    สาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัม
พันธ์ต่อกันไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อมในวงจรการถ่ายทอดพลังงาน โดยที่ต่างก็เป็นองค์
ประกอบของกันและกันในห่วงโซ่อาหารหรือสายใยอาหารระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตสัม
พันธ์กันแน่นแฟ้นหรือมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจงในด้านถิ่นที่อยู่อาศัย
มากเพียงใด ระบบนิเวศนั้นย่อมอยู่ในภาวะเสี่ยงมากกว่าระบบนิเวศอื่นเพราะปัจจัยใดที่
กระทบต่อสิ่งมีชีวิตชเพียงส่วนน้อยย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้นทั้งหมดแม้มนุษย์
จะพยายามจำลองระบบเหล่านี้เพียงใดก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่อาจเทียบ
กับธรรมชาติได้ เรายังคงต้องรักษาระบบนิเวศเหล่านี้เอาไว้ให้ดีเพื่อให้เป็นแหล่ง
พันธุกรรมที่อุดมสมบูรณ์


ที่มา:http://www.swu.ac.th/royal/book2/b2c1p4_1.html
 
 
   กลับ   |   ด้านบน