มหรสพไทย หมายถึง การเล่นรื่นเริง สนุกสนานเพลิดเพลินด้วยท่าทางการแสดงการร่ายรำ การร้อง การจรจา
และรวมถึงการพากย์บทเป็นส่วนที่ทำให้สนุกสนานซาบซึ้งและเรียนรู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม
ท้องถิ่นอันดีงามของไทย ผสมผสานกับภูมิปัญญาแต่โบราณ สืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน

มหรสพไทยที่เป็นแบบฉบับเก่าแก่ของไทยที่ขอแนะนำให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ในชั้นนี้ก็คือ

หุ่น คือ มหรสพที่ใช้หุ่นแสดงเป็นเรื่องราวอย่างละครหรือโขน

รูปหุ่น หมายถึง รูปจำลองจากของจริง โดยย่อสัดส่วนลง อย่างไรก็ตามหุ่นก็เคลื่อนไหวได้อย่างมีข้อจำดัด
ไม่สามารถทำได้อย่างคนทุกอิริยาบถ
การแสดงหุ่นมีเกือบทุกชาติ ทั้งของฝรั่ง จีน ชวา พม่า มอญ และมีมานานไม่ต่ำกว่า 3,000ปีมาแล้ว แต่ละชาติ
มีวิธีการสร้างหุ่นให้เคลื่อนไหงได้ด้วยวิธีการต่างๆ กัน เช่น ใช้สายโยงใย ชัด เชิด หรือใช้กลไกไขลาน
ปัจจุบันบังคับด้วยวิทยุและคอมพิวเตอร์กมี
หุ่นของชาวตะวันตกมีมาแต่สมัยโบราณ นิยมแสดงเรื่องศาสนา มี 3 แบบ คือ

 

 

 

  1. หุ่นมือ ทำคล้ายถุงมือ ใช้นิ้วชี้สอดเข้าไปในหัวหุ่น นิ้วหัวแม่มือ
และนิ้งกลางสอดเข้าไปในแขนทั้ง 2 ข้าง

 

 

 

 

2. หุ่นชัก ใช้สายผูกกับอวัยวะที่ต้องการให้เคลื่อนไหว เช่น มือ เท้าศีรษะเป็นต้นแล้วผูกปลายเชือกอีก
ข้างหนึ่งกับไม้ท่อน แล้วชักให้หุ่นเคลื่อนไหว ยกมือ ยกเท้า จากข้างบน

3. หุ่นเชิด มีแกนไม้เป็นตัว ใช้ไม้ติดที่มือเพื่อเชิต คล้ายหุ่นกระบอกของไทย และเชิดให้หุ่นอยู่สูงกว่าศีรษะ
ผู้เชิด

หุ่นของชาวตะออกนิยมเชิดจากข้างล่าง ให้หุ่นอยู่เหนือสีรษะใช้สายโยงใยและก้านไม้ช่วยในการเชิด
หุ่นของจีนมีตำนานในพวศาวดารว่า จีนสร้างหุ่นเพื่อใช้เป็นกลลวงในการสงคราม เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๔๕
สมัยพระเจ้า