บทที่ 4 ปริมาณสัมพันธ์

รูปภาพของ srsnarumon

 

  ปริมาณสัมพันธ์   

 

ลาวัวซิเยร์ : กฎทรงมวล

         เมื่อเคมีสมัยใหม่เริ่มต้นในศริสตศตวรรษที่ 18 นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะสังเกตปริมาณของสาร จากการทดลองของลาวัวซิเยร์ เพื่อแยกแก๊สออกซิเจนออกมา ในการทดลองของ ลาวัวซิเยร์ มีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องดังรูป ด้านล่าง โดยที่นำเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ใส่ลงไปในขวดคอยาวโดยที่คอขวดต่ออยู่กับครอบแก้วรูประฆังมีปริมาตร 40 ลูกบาศก์นิ้วสำหรับเก็บแก๊สที่เผาได้ โดยใช้เตาเผาที่มีถ่าน (charcoal) เป็นเชื้อเพลิง เขาได้ชั่งน้ำหนักของสารเริ่มต้น ก่อนเผาไว้ จากนั้นทำการเผา เมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ เป็นเวลา 12 วัน จะสังเกตได้ว่าระดับน้ำในขวดรูประฆังลดลงแสดงว่าต้องมีแก๊สเกิดขึ้น ทดสอบโดยการจุดเทียนไขได้เปลวไฟที่สว่าง มากกว่าปกติ ส่วนในขวดคอยาวพบว่ามีปรอทเหลว(mercury)

 

 จากการชั่งน้ำหนักของสารตั้งต้นในขวดคอยาว และผลิตภัณฑ์ เขาพบว่ามวลโดยรวมของผลิตภัณฑ์ มีมวลเท่ากับเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ที่เริ่มต้น เขาจึงสรุปออกมาเป็นกฎทรงมวล ว่า

"มวลของสารก่อนทำปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังทำปฏิกิริยา"

         ดังนั้น การเผาเมอร์คิวรี่(II)ออกไซด์ (เมอร์คิวริก ออกไซด์)จะให้ผลิตภัณฑ์ออกมา 2 ชนิด ได้แก่ เมอร์คิวรี่ (ปรอทเหลว) และแก๊สออกซิเจน ดังสมการ

2HgO     →     2Hg  +  O2

ตัวอย่างที่1 ในการเกิดโมเลกุลของน้ำจะต้องใช้ ไฮโดรเจน 2 โมล รวมกับ ออกซิเจน 1 โมล จึงได้โมเลกุลของน้ำ 2 โมล ซึ่งจะเป็นอัตราส่วนอย่างนี้ตลอดไป แสดงได้ดังรูปภาพด้านล่าง

2H2 + O2     →          2H2O

 

โมล

ก่อนที่นักเรียนจะเรียนรู้ว่าโมล คืออะไร เรามาทำความรู้จักกับอะตอม มวลโมเลกุล สูตรโมเลกุล และน้ำหนักโมเลกุลกันเสียก่อนอะตอม          

เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุ ที่สามารถแสดงคุณสมบัติของธาตุนั้นๆ ได้ เช่น H , S , Al , Fe เป็นต้น ส่วนธาตุที่มีเลขอะตอมเหมือนกัน แต่มีเลขมวลต่างกันก็จัดเป็นธาตุเดียวกัน มีสมบัติทางเคมีเหมือนกัน แต่มีสมบัติทางกายภาพบางประการต่างกัน เรียกว่า เป็นไอโซโทปกัน

โมเลกุล

เกิดจากการรวมกันของอะตอม สามารถแบ่งออกได้เป็น      

 

 1. โมเลกุลอะตอมเดี่ยว ได้แก่ พวกแก๊สเฉื่อย He, Ne, Ar , Kr , Xe, Rn        2. โมเลกุลอะตอมคู่ เช่น H2 , O2 ,N2 ,HCl , CO , HF         3. โมเลกุลหลายอะตอม P4, S8, H2O, CH4, C6H12O6

            อะตอม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-10 เมตร (1A ํ) อะตอมที่เบาที่สุดหนัก 1.66 x 10-24 กรัม อะตอมที่หนักที่สุดหนัก 250 x 1.66 x 10-24 กรัม

 

รูปแสดงเกิดพันธะของอะตอมกลายเป็นโมเลกุล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 325 คน กำลังออนไลน์