• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:68b9239284b479f992009745839d1d7f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<strong>ราชวงศ์ต้นกำเนิดและพระราชประวัติของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘</strong>\n</p>\n<p>\nพระบาทสมเด็จพระสุริเยนทราบดี , สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือ สมเด็จพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา และ เป็นพระองค์ที่ ๒ แห่ง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสอย่างลับๆใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับเจ้านางกุลธิดา (ราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานให้สมเด็จพระเพทราชาเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง(เจ้ากรมช้าง)ราชาภิเษก พ.ศ. ๒๒๔๖ ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือเจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)\n</p>\n<p>\nสำหรับพระสมญานามว่า “เสือ” อาจสืบเนื่องมาจากพระราชสมภพปีขาล ซึ่งแปลว่าเสือ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์มีพระนิสัยดุ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๒๔๖) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระนาม “สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘” สมเด็จพระเจ้าเสือ\n</p>\n<p>\nพระนามเดิม “เดื่อ” สืบเนื่องมาจากพระมารดา และ สมเด็จพระเพทราชา(จางวาง-กรมช้าง) ตามเสด็จ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไป นมัสการ พระพุทธชินราช และ พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรี-มหาธาตุ เมืองพิษณุโลก กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง (เดิมชื่ออะไรไม่ปรากฏ) เมืองพิจิตร พระมารดาเจ็บครรภ์คลอดพระองค์ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กัน และ ทรงได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก วัดโพธิ์ประทับช้าง\n</p>\n<p>\n<strong>เอกลักษณ์ของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘</strong>\n</p>\n<p>\n ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดก็แล้วแต่ ทำงานแล้วจะต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์มหาดเล็กข้าหลวง เดิมตำแหน่งนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคไปตามคลองโคกขาม เมืองสาครบุรี ลำคลองคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่ง และเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือ จะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตน แทนและขอรับโทษตามราชประเพณีพระองค์จึงมีรับสั่งให้ ปลูกศาลเพียงตาแล้ว ประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วย ศาลพันท้ายนรสิงห์\n</p>\n<p>\n สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือบ้านเมืองสงบสุขไม่มีศัตรูมารุกราน แม้พระองค์โปรดการเสด็จประพาสไปในที่ต่าง ๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ประทับในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีผู้ใดคิดร้าย เนื่องจากเกรงอำนาจบารมีของพระองค์ โปรดการคล้องช้างป่าเพื่อนำมาใช้ในราชการ โปรดการทรงเบ็ดตกปลา ล่าสัตว์ และโปรดการชกมวยอย่างยิ่ง ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชน นักมวยชาวกรุงผู้มีฝีมือเป็นเลิศเสด็จไปตามสนามมวยต่าง ๆ เพื่อเปรียบมวยชกและทรงชนะ ทุกครั้งหาผู้ใดเปรียบฝีพระหัตถ์ได้ไม่ หลังการชกมวยพระองค์และทหารจะเสด็จเที่ยวชมงานเยี่ยงสามัญชนโดยไม่มีผู้ใดรู้ว่าพระองค์คือกษัตริย์ ซึ่งนับได้ว่ามีพระราชประวัติที่มีสีสันเป็นอย่างมาก จึงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ถูกอ้างถึงในวรรณกรรมร่วมสมัยในยุคปัจจุบันมากมาย เช่น ใน ละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ที่ฉายทางช่อง ) เมื่อปี พ.ศ. 2543 ผู้ที่รับบทสมเด็จพระเจ้าเสือ คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เป็นต้น พระเจ้าเสือถูกอ้างถึงอย่างมากมาย ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนไปชกมวย\n</p>\n<p>\n <strong><u>พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ </u></strong>\n</p>\n<p>\n<strong>ด้านศาสนา</strong>\n</p>\n<p>\nมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี รอยพระพุทธบาท ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปมนัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์ พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม(พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก\n</p>\n<p>\n<strong>ด้านการคมนาคม</strong>\n</p>\n<p>\n๑.ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์\n</p>\n<p>\n๒.ทรงให้ขุดคลองโคกขาม ซึ่งคดเคี้ยวให้ตรงหลังจากเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งหักและพระองค์ต้องมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามราชประเพณี\n</p>\n<p>\n๓.ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น \n</p>\n<p>\n สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2252 เป็นเวลา 7 ปี รวมการบริหารราชการแผ่นดินทั้งตำแหน่งรองพระมหากษัตริย์ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ได้ 22 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา เหตุการณ์สำคัญในสมัย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘\n</p>\n<p>\n • พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างอนุชนรุ่นหลังต่อไป เรื่องราวของพันท้ายปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๗ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชกาลรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล หัวเรือพระที่นั่งเอกไชย ภายหลังเหตุการณ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ โปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานเงินทองสิ่งของแก่บุตรภรรยาพันท้ายนรสิงห์เป็นจำนวนมาก แล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี และจะนำความเสื่อมเสียมาให้พระมหากษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกณฑ์เลกหัวเมืองจำนวนสามหมื่นคนไปขุดคลองโคกขามให้ลัดตรง กำหนดให้ลึก ๖ ศอก ปากคลองกว้าง ๘ วา พื้นคลองกว้าง ๕ วา ให้พระราชสงครามเป็นแม่กลองอำนวยการขุดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในชุมนุมพระนิพนธ์ว่า พระราชสงครามให้ขุดแต่ปากคลองทางลำน้ำท่าจีนมาจนถึงตำบลโคกขาม แต่การขุดค้างอยู่มาสำเร็จลงในราชกาลต่อมา ปรากฏเป็นคลองตรงและกว้างใหญ่เรียกว่าคลองมหาชัย อยู่ตราบเท่าอยู่ทุกวันนี้ คลองมหาชัยในปัจจุบัน\n</p>\n<p>\n <strong>แบบอย่างในการดำเนินชีวิตของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ </strong>\n</p>\n<p>\n๑.พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความเด็ดขาดในการทำงานเช่น กรณีเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์\n</p>\n<p>\n๒.พระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ถือตน เห็นได้จากที่ส่วนใหญ่พระองค์จะปลอมพระองค์ไปชกมวยกับผู้คนทั่วไปพวกชาวบ้านชาวนา ถ้าผู้ใดมีฝีมือทัดเทียมเปรียบท่าน ท่านก็จะชักชวนไปเป็นทหารช่วยปกป้องบ้านเมืองอีกด้วย\n</p>\n<p>\n๓.พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเมตตากรุณาดังเช่นการที่พระองค์พระราชมานอภัยโทษแก่พันท้ายนรสิงห์เพราะทรงเห็นว่าเป็นแค่เหตุสุดวิสัย แต่พันท้ายนรสิงห์เกรงว่าพระองค์จะทรงผิดประเพณีอันมีมาแต่โบราณผู้คนจะติฉินนินทาในภายหลังว่าละเลยประเพณีเช่นที่ในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์เขียนไว้ว่า ”ถ้าแหละถือท้ายเรือพระที่นั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศีรษะเสีย” พระองค์จึงต้องจำพระทัยรับสั่งเพชฌฆาตให้ตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์เสียเพื่อรักษาเกียรติของพระองค์และประเพณีที่มีมาแต่โบราณ จึงเป็นบุคคลที่ควรยกย่องและนำเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง\n</p>\n', created = 1715323597, expire = 1715409997, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:68b9239284b479f992009745839d1d7f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

ราชวงศ์ต้นกำเนิดและพระราชประวัติของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

พระบาทสมเด็จพระสุริเยนทราบดี , สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือ สมเด็จพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๑) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒๙ แห่งกรุงศรีอยุธยา และ เป็นพระองค์ที่ ๒ แห่ง ราชวงศ์บ้านพลูหลวง สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสอย่างลับๆใน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับเจ้านางกุลธิดา (ราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานให้สมเด็จพระเพทราชาเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง(เจ้ากรมช้าง)ราชาภิเษก พ.ศ. ๒๒๔๖ ทรงมีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือเจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)

สำหรับพระสมญานามว่า “เสือ” อาจสืบเนื่องมาจากพระราชสมภพปีขาล ซึ่งแปลว่าเสือ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์มีพระนิสัยดุ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑ – ๒๒๔๖) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระนาม “สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘” สมเด็จพระเจ้าเสือ

พระนามเดิม “เดื่อ” สืบเนื่องมาจากพระมารดา และ สมเด็จพระเพทราชา(จางวาง-กรมช้าง) ตามเสด็จ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไป นมัสการ พระพุทธชินราช และ พระพุทธชินสีห์ วัดพระศรี-มหาธาตุ เมืองพิษณุโลก กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง (เดิมชื่ออะไรไม่ปรากฏ) เมืองพิจิตร พระมารดาเจ็บครรภ์คลอดพระองค์ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กัน และ ทรงได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก วัดโพธิ์ประทับช้าง

เอกลักษณ์ของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

 ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดก็แล้วแต่ ทำงานแล้วจะต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์มหาดเล็กข้าหลวง เดิมตำแหน่งนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคไปตามคลองโคกขาม เมืองสาครบุรี ลำคลองคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่ง และเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือ จะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษ แต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตน แทนและขอรับโทษตามราชประเพณีพระองค์จึงมีรับสั่งให้ ปลูกศาลเพียงตาแล้ว ประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วย ศาลพันท้ายนรสิงห์

 สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือบ้านเมืองสงบสุขไม่มีศัตรูมารุกราน แม้พระองค์โปรดการเสด็จประพาสไปในที่ต่าง ๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ประทับในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีผู้ใดคิดร้าย เนื่องจากเกรงอำนาจบารมีของพระองค์ โปรดการคล้องช้างป่าเพื่อนำมาใช้ในราชการ โปรดการทรงเบ็ดตกปลา ล่าสัตว์ และโปรดการชกมวยอย่างยิ่ง ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชน นักมวยชาวกรุงผู้มีฝีมือเป็นเลิศเสด็จไปตามสนามมวยต่าง ๆ เพื่อเปรียบมวยชกและทรงชนะ ทุกครั้งหาผู้ใดเปรียบฝีพระหัตถ์ได้ไม่ หลังการชกมวยพระองค์และทหารจะเสด็จเที่ยวชมงานเยี่ยงสามัญชนโดยไม่มีผู้ใดรู้ว่าพระองค์คือกษัตริย์ ซึ่งนับได้ว่ามีพระราชประวัติที่มีสีสันเป็นอย่างมาก จึงเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ถูกอ้างถึงในวรรณกรรมร่วมสมัยในยุคปัจจุบันมากมาย เช่น ใน ละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์ ที่ฉายทางช่อง ) เมื่อปี พ.ศ. 2543 ผู้ที่รับบทสมเด็จพระเจ้าเสือ คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เป็นต้น พระเจ้าเสือถูกอ้างถึงอย่างมากมาย ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนไปชกมวย

 พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

ด้านศาสนา

มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี รอยพระพุทธบาท ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปมนัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์ พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้าง พระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม(พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก

ด้านการคมนาคม

๑.ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์

๒.ทรงให้ขุดคลองโคกขาม ซึ่งคดเคี้ยวให้ตรงหลังจากเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งหักและพระองค์ต้องมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามราชประเพณี

๓.ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น 

 สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2252 เป็นเวลา 7 ปี รวมการบริหารราชการแผ่นดินทั้งตำแหน่งรองพระมหากษัตริย์ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ได้ 22 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา เหตุการณ์สำคัญในสมัย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

 • พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกไชยอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ (พระเจ้าเสือ) ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต จงรักภักดีและรักษาระเบียบวินัยยิ่งชีวิต สมควรเป็นแบบอย่างอนุชนรุ่นหลังต่อไป เรื่องราวของพันท้ายปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุศรีอยุธยาฉบับต่างๆ เนื้อความเป็นไปในแบบเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ใน พ.ศ.๒๒๔๗ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่๘ ประพาสปากน้ำสาครบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดสมุทรสาคร) เพื่อทรงเบ็ด ด้วยเรือพระที่นั่งเอกไชย มีพันท้ายนรสิงห์เป็นนายท้าย ตามหลักฐานชุมนุมพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองอ่างทอง และเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จนทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชกาลรับใช้พระองค์อย่างใกล้ชิด การเสด็จประพาสปากน้ำสาครบุรีในครั้งนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งไปถึงตำบลโคกขามคลองบริเวณดังกล่าวมีความคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์พยายามคัดท้ายเรือพระที่นั่งอย่างระมัดระวังแต่ไม่อาจหลบเลี่ยงอุบัติเหตุได้ หัวเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้ใหญ่หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์รู้โทษดีว่า ความผิดครั้งนี้ถึงประหารชีวิตตามโบราณราชประเพณี ซึ่งกำหนดว่าถ้าผู้ใดถือท้ายเรือพระที่นั่งให้หัวเรือพระที่นั่งหัก ผู้นั้นถึงมรณะโทษให้ตัดศีรษะเสียจึงกราบทูลพระกรุณาน้อมรับโทษตามพระราชประเพณี สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพิจารณาเห็นว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นการสุดวิสัยมิใช่ความประมาท จึงพระราชทานอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมยืนยันขอให้ตัดศีรษะตนเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมในพระราชกำหนดกฎหมาย เป็นการป้องกันมิให้ผู้ใดครหาติเตียนพระเจ้าอยู่หัวได้ว่าทรงละเลยพระราชกำหนดของแผ่นดินและเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป พระองค์ทรงโปรดให้ฝีพายทั้งปวงปั้นมูลดินเป็นรูปพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ตัดศีรษะรูปดินนั้นเพื่อเป็นการทดแทนกัน แต่พันท้ายนรสิงห์ยังบังคมกราบทูลยืนยันขอให้ประหารตน แม้สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ จะทรงอาลัยรักน้ำใจพันท้ายนรสิงห์เพียงใดก็ทรงจำพระทัยปฎิบัติตามพระราชกำหนด ดำรัสสั่งให้เพชฌฆาตประหารพันท้ายนรสิงห์แล้วโปรดให้ตั้งศาลสูงประมาณเพียงตา นำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกไชยซึ่งหักนั้น ขึ้นพลีกรรมไว้ด้วยกันบนศาล หัวเรือพระที่นั่งเอกไชย ภายหลังเหตุการณ์ สมเด็จพระสรรเพชญ์ ที่ ๘ โปรดให้นำศพพันท้ายนรสิงห์มาแต่งกายพระราชทานเพลิงศพ และพระราชทานเงินทองสิ่งของแก่บุตรภรรยาพันท้ายนรสิงห์เป็นจำนวนมาก แล้วทรงพระราชดำริว่าคลองโคกขามคดเคี้ยวนักไม่สะดวกต่อการเดินเรือ บางครั้งชาวเมืองต้องเดินเรืออ้อมเป็นที่ลำบากยิ่ง สมควรจะขุดลัดตัดตรง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกถึงพันท้ายนรสิงห์ข้าหลวงเดิมซึ่งเป็นคนซื่อสัตย์ มั่นคง ยอมเสียสละชีวิตโดยไม่ยอมเสียพระราชประเพณี และจะนำความเสื่อมเสียมาให้พระมหากษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งสมุหนายกให้กะเกณฑ์เลกหัวเมืองจำนวนสามหมื่นคนไปขุดคลองโคกขามให้ลัดตรง กำหนดให้ลึก ๖ ศอก ปากคลองกว้าง ๘ วา พื้นคลองกว้าง ๕ วา ให้พระราชสงครามเป็นแม่กลองอำนวยการขุดสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวไว้ในชุมนุมพระนิพนธ์ว่า พระราชสงครามให้ขุดแต่ปากคลองทางลำน้ำท่าจีนมาจนถึงตำบลโคกขาม แต่การขุดค้างอยู่มาสำเร็จลงในราชกาลต่อมา ปรากฏเป็นคลองตรงและกว้างใหญ่เรียกว่าคลองมหาชัย อยู่ตราบเท่าอยู่ทุกวันนี้ คลองมหาชัยในปัจจุบัน

 แบบอย่างในการดำเนินชีวิตของ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘

๑.พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความเด็ดขาดในการทำงานเช่น กรณีเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์

๒.พระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ถือตน เห็นได้จากที่ส่วนใหญ่พระองค์จะปลอมพระองค์ไปชกมวยกับผู้คนทั่วไปพวกชาวบ้านชาวนา ถ้าผู้ใดมีฝีมือทัดเทียมเปรียบท่าน ท่านก็จะชักชวนไปเป็นทหารช่วยปกป้องบ้านเมืองอีกด้วย

๓.พระองค์ทรงเป็นผู้มีความเมตตากรุณาดังเช่นการที่พระองค์พระราชมานอภัยโทษแก่พันท้ายนรสิงห์เพราะทรงเห็นว่าเป็นแค่เหตุสุดวิสัย แต่พันท้ายนรสิงห์เกรงว่าพระองค์จะทรงผิดประเพณีอันมีมาแต่โบราณผู้คนจะติฉินนินทาในภายหลังว่าละเลยประเพณีเช่นที่ในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์เขียนไว้ว่า ”ถ้าแหละถือท้ายเรือพระที่นั่งนั้นหัก ท่านว่าพันท้ายผู้นั้นถึงมรณโทษให้ตัดศีรษะเสีย” พระองค์จึงต้องจำพระทัยรับสั่งเพชฌฆาตให้ตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์เสียเพื่อรักษาเกียรติของพระองค์และประเพณีที่มีมาแต่โบราณ จึงเป็นบุคคลที่ควรยกย่องและนำเป็นแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง

สร้างโดย: 
Dome Eponym

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 239 คน กำลังออนไลน์