first aid 12

 

การทำแผล

หลักการดูแลเบื้องต้นในกรณีมีบาดแผล
     1. หากมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในบาดแผล ควรชะล้างด้วยน้ำสะอาด ให้ออกมากที่สุด แล้วปิดบาดแผลด้วยผ้าสะอาด
     2. บาดแผลที่ถูกทิ่ม แทง ตำ ด้วยวัตถุต่างๆ ปักคาอยู่ ห้ามดึงออก ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะเมื่อดึงออกอาจทำให้เลือดออกไม่หยุดได้
     3. บาดแผลบริเวณทรวงอก ที่มีทางติดต่อกับช่องปอด ให้ใช้ผ้าหนาๆ ปิดทับบนปากแผลให้แน่นโดยเร็ว เพื่อมิให้อากาศเข้าออกเวลาหายใจ
     4. บาดแผลบริเวณหน้าท้อง ควรปิดบาดแผลด้วยผ้าที่สะอาดเพื่อห้ามเลือด หากพบมีส่วนของลำไส้โผล่ออกมา ให้ปิดแผลด้วยผ้าสะอาดที่ชุ่มน้ำเกลือ ให้นอนหงายงอเข่าทั้งสองข้างเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องหย่อน ไม่ควรให้รับประทานน้ำหรืออาหาร ให้รับไปโรงพยาบาล
     5. บาดแผลบริเวณแขนและขา ควรห้ามเลือดก่อน หากชิ้นส่วนหลุดออกไปควรเก็บไว้ในถุงพลาสติกแห้ง มัดปากถุงให้ดี นำไปแช่ในน้ำที่มีน้ำแข็งและนำส่งไปยังโรงพยาบาลด้วย เพื่อแพทย์จะได้มีโอกาสผ่าตัดอวัยวะส่วนที่บาดเจ็บได้

เครื่องใช้ในการทำแผล 
     1. สำลี หรือผ้าก็อสสำหรับชุบน้ำยาเช็ดแผลและผิวหนังรอบแผล
     2. น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเลือกใช้ตามความเหมาะสม
          2.1 น้ำเกลือ ใช้สำหรับล้างแผล นิยมใช้มากเพราะมีความเข้มข้นใกล้เคียงกับระดับความเป็นกรด-ด่างของเลือด จงทำให้ไม่ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ และขณะทำแผลผู้ป่วยไม่แสบ ถ้าไม่มีให้ใช้น้ำ 1 ลิตร ผสมเกลือ 1 ช้อนชา ต้มให้เดือด แล้วปล่อยให้เย็น นำมาใช้แทนน้ำเกลือได้
          2.2 . น้ำต้มสุก ใช้แทนน้ำเกลือกรณีที่ไม่มีน้ำเกลือ
     3. แอลกอฮอล 70% ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบๆ แผล เพื่อลดจำนวนเชื้อโรคที่อยู่ตามผิวหนัง
     4. ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% ใช้สำหรับเช็ดผิวหนังรอบแผล และให้ใช้แอลกอฮอล 70% เช็ดตามด้วยทุกครั้งทั้งนี้เพื่อป้องกันผิวหนังไหม้พอง
     5. เบทาดิน (Betadine) ใช้สำหรับเช็ดแผลและผิวหนังรอบแผล เนื่องจากน้ำยานี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค ไม่ระคายเคืองเนื้อเยื่อและผิวหนังเหมือนกับทิงเจอร์ไอโอดีน จึงนิยมใช้ค่อนข้างมาก
     6. ยาเหลือง (Acriflavine) ใช้ใส่แผลเรื้อรังต่างๆ
     7. ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซค์ ใช้สำหรับล้างแผลสกปรก แผลมีหนอง แผลที่ถูกของแหลมทิ่มตำ เช่น ตะปู
     8. ผ้าก๊อส แผลทั่วไปนิยมใช้ผ้าก๊อสปิดแผล ขนาดที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผล
     9.พลาสเตอร์ นอกจากนี้อาจใช้ผ้าพันแผล ผ้าผูกยึด

วิธีการทำแผล
     ก่อนลงมือทำแผล ควรช่วยผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมในการทำแผล บางครั้งอาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าออก และใช้ผ้าห่มคลุม เปิดเฉพาะตำแหน่งแผล วิธีทำแผล แบ่งออกได้ 2 วิธี คือ
     1. การทำแผลชนิดแห้ง (dry dressing) ใช้ทำแผลชนิดที่เปิดปากแผลปิด เช่น แผลผ่าตัดที่แผลติดกัน
     2. การทำแผลชนิดเปียก (wet dressing) ใช้ทำแผลชนิดที่ปากแผลเปิด เช่น แผลเปื่อยกดทับ แผลผ่าตัดที่มีการติดเชื้อแล้วขอบแผลแยก แผลผ่าตัดที่แพทย์ไม่เย็บขอบแผลเข้าหากัน
     ขั้นตอนการทำแผลทั้งสองวิธีแตกต่างกันเฉพาะการเช็ดแผล การทำแผลชนิดแห้ง เพียงแต่ใช้สำลีชุบ แอลกอฮอล 70% เช็ดแผลและผิวหนังรอบแผลเท่านั้น ส่วนการทำแผลชนิดเปียกนั้นใช้สำลีชุบน้ำยาระงับเชื้อเช็ดผิวหนังที่ชิดแผลและบริเวณรอบๆแผลก่อน แล้วจึงใช้น้ำเกลือหรือน้ำยาล้างแผลชนิดอื่นล้างแผลให้สะอาด เมื่อสะอาดดีแล้วใช้ผ้าก๊อสชุบน้ำเกลือใส่ไว้ในแผล เช็ดผิวหนังรอบแผลให้แห้งจึงปิดแผล

 

ย้อนกลับ                                                                                                                                    ถัดไป

สร้างโดย: 
http://www.nurse.nu.ac.th/cai/firstaid0273.html

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 502 คน กำลังออนไลน์