• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:09d907236a1d51410628c0df977c8d1b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong><span style=\"color: #993300\">โรคกระเพาะ</span></strong>\n</p>\n<p>\nโรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบอีกด้วย\n</p>\n<p>\nสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารนั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เช่นการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ในขณะท้องว่าง การรับประทานยาแก้อักเสบหรือแก้ปวดจำพวกยาที่ใช้กันในโรคกระดูกและข้อ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการตรวจพบว่ามี bacteria ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเราได้ bacteria ตัวนี้พบว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้\n</p>\n<p>\nอาการโรคกระเพาะที่พบบ่อยคือ มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แต่บางคนอาจมีอาการแน่นท้องบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ผลข้างเคียงของโรคกระเพาะที่มีอันตราย ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และกระเพาะอาหารที่เป็นแผลทะลุทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้\n</p>\n<p>\nในกรณีที่ท่านมีอาการปวดท้องและสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะ ท่านควรรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องมีมากมาย หากยังไม่มีความแน่ใจ ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์จะซักประวัติของท่านอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น มีการตรวจร่างกายเพื่อว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือในบางกรณีอาจมีการตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารหนือให้กลืนแป้งแล้วเอ็กซเรย์ เพื่อดูให้เห็นร่องรอยของแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น\n</p>\n<p>\nสำหรับการรักษาโรคกระเพาะในปัจจุบันค่อนข้างได้ผลดีด้วยการใช้ยารับประทาน เพื่อทำให้กรดในกระเพาะอาหารมีปริมาณน้อยลง แต่การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคกระเพาะคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง โดยท่านต้องรับประทานให้ตามเวลา การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการระมัดระวังการรับประทานยาที่อาจมีผลต่อการทำให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการระมัดระวังเรื่องความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยเช่นกัน\n</p>\n', created = 1715806867, expire = 1715893267, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:09d907236a1d51410628c0df977c8d1b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะ

โรคกระเพาะเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง บางท่านอาจเรียกโรคกระเพาะอาหาร เพราะอาการปวดท้องที่เป็นมักสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร ความหมายของโรคกระเพาะนั้น โดยทั่วไปหมายถึงโรคแผลในกระเพาะอาหาร แต่ที่จริงแล้วโรคกระเพาะยังหมายรวมถึงโรคแผลที่ลำไส้เล็ก, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ และโรคลำไส้อักเสบอีกด้วย

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหารนั้นมีมากมาย ซึ่งแต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป เช่นการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานยาแก้ปวดจำพวก Aspirin ในขณะท้องว่าง การรับประทานยาแก้อักเสบหรือแก้ปวดจำพวกยาที่ใช้กันในโรคกระดูกและข้อ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการตรวจพบว่ามี bacteria ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเราได้ bacteria ตัวนี้พบว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้

อาการโรคกระเพาะที่พบบ่อยคือ มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แต่บางคนอาจมีอาการแน่นท้องบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ผลข้างเคียงของโรคกระเพาะที่มีอันตราย ได้แก่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ และกระเพาะอาหารที่เป็นแผลทะลุทำให้เกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้

ในกรณีที่ท่านมีอาการปวดท้องและสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะ ท่านควรรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องมีมากมาย หากยังไม่มีความแน่ใจ ท่านควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์จะซักประวัติของท่านอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น มีการตรวจร่างกายเพื่อว่าจะหาสาเหตุที่แท้จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือในบางกรณีอาจมีการตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารหนือให้กลืนแป้งแล้วเอ็กซเรย์ เพื่อดูให้เห็นร่องรอยของแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็กส่วนต้น จะทำให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแม่นยำขึ้น

สำหรับการรักษาโรคกระเพาะในปัจจุบันค่อนข้างได้ผลดีด้วยการใช้ยารับประทาน เพื่อทำให้กรดในกระเพาะอาหารมีปริมาณน้อยลง แต่การรักษาที่สำคัญที่สุดของโรคกระเพาะคือ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะนั่นเอง โดยท่านต้องรับประทานให้ตามเวลา การหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการระมัดระวังการรับประทานยาที่อาจมีผลต่อการทำให้มีกรดในกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการระมัดระวังเรื่องความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งก็มีส่วนในการทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ด้วยเช่นกัน

สร้างโดย: 
นางสาวอนัญญา อัศวรุจานนท์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 300 คน กำลังออนไลน์