หลักการทำมัมมี่

 

              

 

                                 

 

 

 

http://patitta.wonglamsam.com/mummy/im/mummy63.jpg 

        ในสมัยอียิปต์โบราณ เมื่อมีคนตายก็จะนำศพไปฝังไว้ในทะเลทรายอันร้อนระอุ ความร้อน และความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่แบคทีเรีย ไม่มีโอกาสได้ย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็น มัมมี่ไปตามธรรมชาติ ต่อมาชาวอียิปต์ก็เริ่มใช้โลงบรรจุศพก่อนฝัง เพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าแทะกินศพ แต่ก็กลับพบว่า ซากศพที่ฝังในโลง ได้เปื่อยเน่าไป ไม่แห้งและอยู่คงทนเหมือนแต่ก่อน เพราะโลงศพทำหน้าที่เก็บกักความชื้นจากร่างกาย เพียงพอที่จะอำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และทำการย่อยสลายให้ศพเน่าเปื่อยสูญไปได้

- การทำมัมมี่มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ร่างของคนตายจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าหรือเสื่อ อย่างลวกๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบๆภายในพื้นทรายซึ่งลึกลงไปไม่กี่ฟุต ทั้งนี้เพราะความร้อนของทะเลทรายทำให้ศพอยู่ ในสภาพที่เหมือนถูกอบแห้งด้วยวิธีการอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ 
                - ในยุคราชวงศ์แรกของอียิปต์หรือราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศพของชาวอียิปต์ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยาและมัดไว้ อย่างแน่นหนา ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่ 2 ของอียิปต์ ราว 2,800 ปีก่อนคริสตศักราช การห่อศพจึงเริ่มพิถีพิถันมากขึ้น โดยมีการพันผ้าลินินอาบน้ำยารอบตัวทั้งบริเวณหัว แขน ขา หน้าอก ท้องและลำตัวจนเห็นเห็นรูปทรงของคน รวมทั้งบริเวณนิ้วมือ ก็มีการพัน 
                - ช่วงปลายราชวงศ์ที่ 3 แห่ง อียิปต์โบราณ มีการผ่าพระศพของกษัตริย์หรือองค์ฟาโรห์และพระราชวงศ์ เพื่อนำเอาอวัยวะภายใน อันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ศพเน่าเปื่อย ออกมาดองไว้ต่างหากด้วยตัวยาที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการเน่าเปื่อยได้ โดยแช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่า เนตรอน ( Natron ) อันเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่งดังเช่นการค้นพบพระบรมศพของ ราชินี เฮเตเฟเรส ( Hetepheres ) พระชายาแห่ง สเนฟูรู ( Snefru ) ซึ่งเป็นพระชนนีของฟาโรห์คีออปส์( ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ปิรามิด แห่งคีออปส์ ) ปรากฎว่าอวัยวะภายในของพระนางถูกดองเอาไว้และมีการปิดผนึกอย่างดี สามารถคงสภาพไว้ได้เป็นเวลาถึง 4,000 ปี วิธีการนำอวัยวะออกมาดองนี้ต่อมาได้แพร่หลายสู้พวกอัศวินหรือขุนนางและบุคคลสำคัญอื่นๆ สำหรับช่องท้องนั้นได้ถูกยัดไว้ด้วยผ้า ลินินอาบน้ำยา 
                - ในช่วงประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อียิปต์โบราณที่ 4-5 หรือราว 2570-2450 ก่อนคริสตศักราช เทคนิคการทำมัมมี่ได้มีวิวัฒนาการใช้ยางสนแสดงรูปลักษณ์ภายนอกของมัมมี่ซึ่งมี ความคงทนถาวรถึงขนาดขนคิ้วหรอกหนวดของผู้ตายยังแสดง ออกให้เห็น ดังเช่นมัมมี่ของ เพตริค ( Petric ) ซึ่งค้นพบโดย วิลเลี่ยม เอ็ม.เอฟ.เพตริค ( Willam M.F. Petric ) นัก อียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ และมัมมี่ของ เยนตี้ ( Yenty ) อัครมหาเสนาบดีในยุคราชวงค์ที่ 5 ( เป้นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางประวัติศาสตร )์ ซึ่งถูกบรรจุไว้ในโลงหินแกรนิตสามารถรักษาเค้าหน้าของมัมมี่ ไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ค้นพบโดย ยอร์ช เอ. ไรส์เนอร์ ผู้ขุดพบปิรามิดแห่ง กีซา 

 

http://patitta.wonglamsam.com/mummy/im/mummy64.gif  

                จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะและบางที่ก็พอกมัมมี่ทั้งตัว ในยุคราชวงศ์ ที่ 6 หรือราว 2300 ปีก่อนคริสตกาล และมีการเขียนตบแต่งรูปใบหน้าให้สวยงาม ต่อมาจึงมีการสวมทับด้วยหน้ากากซึ่งทำด้วยสาร คาร์ตันเนจ ( Cartonnage ) อันเป็นส่วนผสมของกระดาษ ปาปิรัส ( Papyrus ) กับ ผ้าปลาสเตอร์รวมกับกาว ต่อมาจึงมีการคลุมหรือปิดทันทั้งตัวไม่ใช่เฉพาะส่วนของหน้า และในยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีปส์ ( Thebes ) หรือราว 1550 ปีก่อนคริสตศักราช ได้มีการดูดมันสมองออกมาจากศพและการฉีดสารเคมีบางอย่างเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อรักษาสภาพเอาไว้ให้คงอยู่ ได้นานที่สุด                 วิธีการทำมัมมี่ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่าง ไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษา และป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา                
                จากผลของการศึกษามัมมี่มาหลายปีพบว่า คนอียิปต์โบราณพัฒนาเทคนิคและ ความเชี่ยวชาญในการทำมัมมี่มาโดยตลอดช่วงเวลาประมาณ
2800 ปีก่อนคริสตกาล จนถึง ค.ศ. 640 เมื่อชาวอาหรับยึดครองดินแดนแห่งนี้ แล้วได้พัฒนาการสูงสุดอยู่ในช่วง 1000 -950 ปีก่อนคริสตศักราช สมัยที่มีนักบวชมีอำนาจ ตรงกับช่วงของกษัตริย์โวโลมอน และกษัตริย์เดวิดแห่งอิสราเอล นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ เฮโรโดตุส บันทึกไว้เมื่อ 450 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า การทำมัมมี่ใช้เวลา 70 วัน และมีให้เลือกทำได้ 3 แบบ ราคาต่างๆกัน แบบแพงที่สุดนั้น จะดูดสมองออกมาทางจมูก และใช้มีดที่ทำจากหินเหล็กไฟกรีดข้างลำตัว เพื่อควักอวัยวะออกมา ยกเว้นหัวใจ จากนั้นจึงตากร่างไว้ให้แห้ง แบบที่ถูกลงมา จะไม่ควักอวัยวะในออก แต่ใช้น้ำมันซีดาร์ฉีดเข้าไป ในร่างกายก่อนตากให้แห้ง ส่วนแบบที่ถูกที่สุดก็แค่ตากร่างให้แห้งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เฮโรโดตุส เขียนบันทึกนี้ในช่วงที่การทำมัมมี่กำลังเสื่อมลง ในยุคแรกๆนั้น ปกติเมื่อดูดสมองและควักเครื่องในออก ก็จะใช้วัสดุประเภทขี้เลื่อย โคลนและผ้าลินินยัดเข้าไปแทน ในช่วงที่กรรมวิธีพัฒนาสูงสุด อาจจะมีการยัดวัสดุดังกล่าวไว้ใต้ผิวหนังด้วย โดยการกรีดผิวหนังเป็นรอยเล็กๆหลายๆรอย การตากศพให้แห้งใช้เวลา 40 วัน โดยโรยสารประกอบประเภทเกลือที่เกิดตามธรรมชาติ คือสารเนตรอน ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับโซดาซักล้าง จากนั้นจะนำศพไปทาน้ำมัน ตกแต่งพันผ้าศพ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ โดยผ้าชั้นนอกนั้นชโลมด้วยขี้ผึ้ง แล้วนำไปห่อศพ แล้วแปะผ้าให้ติดกับด้วยวุ้น(เจลาติน) อวัยวะภายใน ก็โรยด้วยสารเนตรอน แล้วตากให้แห้งด้วยเช่นกัน จากนั้นก็บรรจุลงไหหรือภาชนะที่มีฝา ปิดผนึกให้สนิท มักจะวางไว้ข้างร่างมัมมี่ สมัยหนึ่งนิยมห่ออวัยวะแล้วใส่กลับเข้าร่าง พร้อมวัสดุที่ใช้ยัดเข้าไปด้วยหน้ากากที่คลุมหน้า และส่วนนอกทำด้วยผ้าลินินพอกปูนปลาสเตอร์ มักปิดทองและฝังเครื่องประดับที่ตาและคิ้ว บางครั้งจะบรรจุมัมมี่ไว้ในโลงไม้ที่แกะเป็นรูปร่างผู้ตายแล้วใส่ไว้ในโลงอีกที่หนึ่ง จากนั้นจึงบรรจุลงหีบชั้นนอกสุดซึ่งมักจะทำมาจากหิน โดยจะต้องจารึกคาถากำกับไว้ เพื่อพิทักษ์ปกป้องดวงวิญญาณขณะเดินทางสู่ปรโลก.

 

สร้างโดย: 
j

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 297 คน กำลังออนไลน์