user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การแบ่งเซลล์หน้าแรกส่งประกวด', 'node/82140', '', '18.188.18.90', 0, '7eca8b038b884d11aee967a69dd3816a', 201, 1716021312) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเฉพาะโรค

อาการไม่ลุกเดินและอาการหกล้ม           ผู้ป่วยสูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ญาตินำมาพบแพทย์ด้วยอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น อาการหกล้ม ไม่ลุกเดิน ซึม พูดจาสับสน ไม่รับประทานอาหาร หรืออุจจาระปัสสาวะราด ในอดีต มักคิดว่าอาการต่างๆดังกล่าวเกิดจาก "โรคชรา" หรือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนได้ ทำให้ไม่มีการสืบค้นเพื่อหาพยาธิสภาพต้นตอที่แท้จริง จึงควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อประเมินความเจ็บป่วยซึ่งอาจแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หากผู้ป่วยสูงอายุมีอาการไม่ลุกเดินอยู่นานเกินไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาอีกมากมาย จนกระทั่งถึงแก่ชีวิตในที่สุด
         
แนวทางการป้องกันการหกล้ม อาจทำได้ดังต่อไปนี้ 
          - ติดตั้งหลอดไฟบริเวณมุมมืดที่เดินผ่านบ่อยๆ โดยปุ่มสวิตช์อยู่ใกล้มือเอื้อม 
          - มีอุปกรณ์เครื่องเรือนบริเวณที่อยู่เท่าที่จำเป็น และต้องแข็งแรงมั่นคงอยู่สูงจากพื้น มองเห็นได้ง่าย ไม่ย้ายที่บ่อยๆ 
          - เตียงนอน เก้าอี้ และโถส้วมมีความสูงพอเหมาะ ไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป 
          - ทางเดินและบันไดควรมีราวจับตลอด และมีระยะขั้นบันไดที่สม่ำเสมอ 
          - พื้นห้องควรสม่ำเสมอและเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น โดยเฉพาะในห้องน้ำ บริเวณจุดเชื่อมต่อระหว่างห้องควรอยู่ในระดับเดียวกันไม่ควร มีธรณีประตู สิ่งของเกะกะ เช่น พรมเช็ดเท้า 
          - หลีกเลี่ยงการที่จะมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ในบริเวณที่อยู่อาศัย

 

 

 

ภาวะกระดูกพรุน           ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูก ทำให้มีความหนาแน่นลดลง รวมทั้งโครงสร้างที่เปราะหักได้ง่าย ซึ่งปกติมวลเนื้อกระดูกของร่างกายมนุษย์จะมีความหนาแน่นสูงสุดอยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงอายุประมาณ ๓๐ ปี จากนั้นจะมีปัจจัยต่างๆที่ทำให้มวลเนื้อกระดูกลดลง ได้แก่ อายุเพิ่มมากขึ้น การหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนที่ลดลง โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมทั้งการได้รับยาบางชนิดที่ทำให้กระดูกบางลง และการที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานานๆ 

          การป้องกัน 
          - ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรโดยเฉพาะ กลางแจ้งช่วงที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้าหรือเย็น 
          - เมื่อมีการเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
          - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง นมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เต้าหู้ 
          - งดการดื่มสุรา กาแฟ รวมทั้งงดการสูบบุหรี่ อาหารเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือฟอสเฟตสูง 
          - ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักมีสารสเตียรอยด์ผสมอยู่ 
          - พยายามให้กระดูกสันหลังตั้งตรงขณะที่อยู่ในอิริยาบถต่างๆ หลีกเลี่ยงการก้ม  การโก้งโค้ง

 

 

โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต           โรคหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต  เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ ได้แก่ 
         
ความดันโลหิตสูง การวัดความดันโลหิตเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่ถูก และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันโรค 
         
ภาวะไขมันในเลือดสูง การตรวจระดับคอเลสเทอรอล (Cholesterol) ในเลือดจึงควรทำเพราะการลดระดับคอเลสเทอรอล การเพิ่มระดับ high-density lipoprotein สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจได้ 
         
โรคเบาหวาน ความชุกของโรคนี้ เพิ่มขึ้นตามอายุ โรคเบาหวานเป็นสาเหตุ  การตายอันดับที่ ๓ และ ๔ ในผู้สูงอายุกลุ่มอายุ ๖๐ - ๗๔ ปี และ ๗๕ ปีขึ้นไปตามลำดับ การตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดหลังจากอดอาหารอย่างน้อย ๘ ชั่วโมงจึงควรทำ โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน 
         
การสูบบุหรี่ (อ่านในหัวข้อการไม่สูบบุหรี่)

 

 

โรคข้อเสื่อม           โรคข้อเสื่อมเป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ ข้อนิ้วมือ รองลงมาคือข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าเกิดขึ้นมากถึงร้อยละ ๓๕ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดเข่า เข่าบวมอักเสบเป็นๆหายๆ ข้อเข่ายึด ก่อให้เกิดการสูญเสียความสามารถของการใช้เข่าในชีวิตประจำวัน 
          การป้องกันโรคข้อเสื่อม 
          - การหลีกเลี่ยงจากความอ้วน 
          - การใช้งานข้อเข่าอย่างถูกวิธี เช่น ไม่นั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบเป็นเวลานานๆ ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น 
          - การออกกำลังเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อรอบเข่า ช่วยลดอาการปวด และเพิ่มความสามารถทางกาย เช่น การยกขาขึ้นตรงในแนวราบ ออกกำลังแบบแอโรบิก

 

สร้างโดย: 
BeWitch

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 388 คน กำลังออนไลน์