เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์

10 เทคนิคการถ่ายภาพภูเขา

1. วางแผนและค้นคว้า ก่อนออกเดินทาง ช่างภาพควรใช้เวลาสักนิดในการค้นคว้าหาข้อมูล ทำความรู้จักกับที่ๆ จะไปให้ดีเสียก่อน เพื่อเป็นการวาง แผนการเดินทางให้คุ้มค่าและใช้เวลาได้อย่างเกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น พระอาทิตย์ขึ้นและตกในตำแหน่งใด ช่างภาพจะได้อยู่ถูกที่ถูกเวลาและรู้ทิศ ทางของแสง ว่าช่วงเช้า ช่วงบ่าย และช่วงเย็นจะไปถ่ายภาพในตำแหน่งใด ก่อนหรือหลัง ถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกยังจุดใด ซึ่งจะทำให้ช่างภาพสามารถวางแผนใช้ช่วงเวลาของแสงได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน รวมทั้งฤดูกาลที่เหมาะสมเช่น ฤดูร้อน ฤดูฝน หรือฤดูหนาว


2. ใช้ผลจากการถ่ายภาพระยะไกลด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์หรือภูเขาไม่จำเป็นต้องใช้เลนส์มุมกว้างเสมอไป เลนส์เทเลโฟโต้ก็สามารถนำมาถ่ายภาพวิวได้เช่นกัน แถมยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไป ช่างภาพอาจใช้เลนส์เทเลโฟโต้ในการถ่ายภาพเพื่อเน้นเฉพาะส่วนที่น่าสนใจซึ่งจะส่งผลต่อความรู้สึกและมีพลังในภาพมากยิ่งขึ้น การใช้รูรับแสงถ้าต้องการให้วัตถุภายในภาพชัดเจนทุกส่วนก็ควรใช้รูรับแสงแคบ เช่น F22 หรือ F32 แต่ปัญหาที่ตามมาคือความเร็วชัตเตอร์ต่ำต้องใช้ขาตั้งกล้องที่มั่นคงแข็งแรงและใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์ทุกครั้ง หากไม่มีก็ใช้ระบบตั้งเวลาถ่ายภาพอัตโนมัติก็ได้

 

3. มองหาการสะท้อน ช่างถ่ายภาพภูเขามืออาชีพมักขวนขวายและเสาะหาบางสิ่งบางอย่างที่เหนือกว่าและน่าสนใจเพิ่มเติมลงในภาพ เพื่อให้ได้ผลงานที่แตกต่างไปจากภาพผลงานแบบเก่าๆ ภูเขาลูกเดียวกันแต่อาจเปลี่ยนมุมมองด้วยการส่งภูเขาลงสู่ทะเลสาบหรือหนองน้ำที่กว้างใหญ่ ทำให้เกิดเป็นภาพสะท้อนขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ภาพถ่ายมีความน่าสนใจและเพิ่มเรื่องราวให้กับภาพได้เป็นอย่างดี

 


4. สร้างภาพให้มีมิติ ช่างภาพควรมองหาส่วนประกอบสำคัญที่สามารถเติมเต็มพื้นที่ในภาพนอกเหนือจากตัวภูเขาอันจะส่งผลทำให้เกิดความ ต้องตาต้องใจมากยิ่งขึ้น เช่น การหาวัตถุที่น่าสนใจรวมเข้าเป็นฉากหน้า อาจจะเป็นเงาดำของต้นไม้ใหญ่ ทุ่งดอกไม้ น้ำตก หรือแม้แต่บรรยากาศในตัวมันเองเป็นต้น ทำให้เกิดมิติที่แตกต่างกันในส่วนที่อยู่ใกล้และฉากหลังที่อยู่ไกลออกไป ภาพในลักษณะนี้ภูเขาอาจเป็นส่วนสำคัญรองลงไปกว่าฉากหน้าก็ได้ เพราะอย่างไรเสียภูเขาก็ยังคงเป็นบรรยากาศที่น่าสนใจในภาพอยู่ดี

 


5. มองจากมุมที่สูงกว่า เป็นเรื่องง่ายและเบสิคมาก สำหรับการถ่ายภาพภูเขาจากระดับพื้นดิน สิ่งที่จะทำให้ภาพเร้าอารมณ์มากขึ้นคือ การขึ้นไต่ขึ้นไปสู่ที่สูงแล้วบันทึกโลกจากมุมมองที่เหนือกว่า นำเสนออีกทิศทางหนึ่งของภูเขาที่แตกต่างออกไป ช่างภาพต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อยกว่าจะได้มุมมองดังกล่าว อาจต้องเดินทางขึ้นเขากันเป็นวันๆ แต่รับรองว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่จะได้กลับมาอย่างแน่นอน ทั้งภาพถ่ายและความรู้สึก ช่างภาพอาจเพิ่มเรื่องราวในขณะเดินทางไต่เขาก็จะยิ่งเติมเต็มเนื้อหาให้กับภาพถ่ายภูเขามากยิ่งขึ้น

6. วางตำแหน่งโพลาไรซ์ให้ถูกทิศถูกทาง ช่างภาพส่วนใหญ่มักจะใช้ฟิลเตอร์ โพลาไรซ์เพื่อขับสีสันของท้องฟ้าให้เข้มข้นขึ้นในการถ่ายภาพวิว แต่การจะได้ภาพเป็นที่น่าสนใจไม่ได้จบแค่การใส่ฟิลเตอร์โพลาไรซ์แล้วถ่ายภาพวิวเท่านั้น ช่างภาพต้องเรียนรู้มุมสะท้อนของแสงอาทิตย์อันจะส่งผลให้ใช้ประโยชน์จากมุมโพลาไรซ์ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และยังสามารถวางตำแหน่งของภูเขาในภาพได้อย่างถูกต้อง โดยมุมที่ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์จะเกิดผลในการใช้ฟิลเตอร์ชนิดนี้มากที่สุด การใช้งานให้ปรับมุมฟิลเตอร์พร้อมกับสังเกตความเปลี่ยนแปลงจากช่องมองภาพโดยเลือกเอาตำแหน่งการปรับฟิลเตอร์ที่เห็นว่าได้ภาพดีที่สุด

7. หมอกและแสงหลัง สิ่งอันเป็นความปรารถณาของผู้รักการถ่ายภาพหุบเขาทั้งหลายคงหนีไม่พ้นทะเลหมอก ที่ช่างภาพ ต้องขนอุปกรณ์เป็นระยะทางไกลขึ้นสู่ไหล่เขาสูงจนได้ระดับ แต่นั่นก็คุ้มค่าเพราะช่างภาพสามารถใช้ความลี้ลับของทะเล หมอกทำให้ภูเขามีความลึกลับน่าค้นหาได้เป็นอย่างดี ยิ่งยามใดที่ปรากฏทะเลหมอกขึ้นยังบริเวณหุบเขาและมีแสงส่องเข้ามาทางหลัง จะส่งผลให้ภาพหุบเขาเกิดเป็นเงาดำทึบตัดกับผืนหมอกที่กำลังสะท้อนแสงแลดูสวยงามจับใจ


8. รวมคนเข้าไปในภาพ การแสดงสัดส่วนและขนาดเป็นสิ่งสำคัญในภาพถ่ายแทบทุกประเภท ในการถ่ายภาพภูเขาบางครั้งอาจใช้ต้นไม้ หรือก้อนหินเป็นส่วนประกอบ แต่ในบางโอกาสช่างภาพก็ไม่สามารถที่จะหาบางสิ่งบางอย่างมาใช้ทดแทนเพื่อบอกขนาดอันใหญ่โตของภูเขาและทิวทัศน์ที่กว้างไกลได้เลย การรวมคนเข้าไปในภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในยามที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นนี้ แถมยังเพิ่มความน่าสนให้กับภาพรวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางได้อีกด้วย

9. มองหาและเข้าใกล้ เพื่อที่จะช่วยสร้างความรู้สึกชัดลึกให้เกิดขึ้นในภาพวิวทิวทัศน์ ช่างภาพควรมองหาวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้วางเคียงคู่ประกอบกับภูเขาเข้าในภาพ อาจเป็นดอกไม้ น้ำตก หรือก้อนหินในบริเวณนั้นก็ได้ เพื่อที่จะเพิ่มจุดสนใจและสร้างความแตกต่างของสัดส่วนให้เกิดขึ้นกับภูเขา ช่วยเน้นให้เห็นระยะทาง และเป็นการเร้าอารมณ์ความรู้สึกให้เกิดขึ้นต่อภาพภูเขาได้ดีอีกลักษณะหนึ่งเช่นกัน แต่ต้องระมัด ระวังเรื่องระยะชัดลึกของภาพให้ดี หากมีสิ่งที่อยู่ใกล้กล้องมากๆ ต้องใช้รูรับแสงแคบเพื่อให้ได้ภาพที่มีระยะชัดลึกสม่ำเสมอทั่วทั้งภาพ


10. ตื่นแต่เช้าตรู่ แสงในช่วงบ่ายต้องถือเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ส่องแสงดั่งต้องมนต์มายา เพราะเป็นช่วงที่ให้แสงอบอุ่น ซึ่งช่างภาพนำมาใช้ประโยชน์ในการถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีแสงอีกช่วงหนึ่งที่ทรงคุณค่าไม่แพ้กันนั่นก็คือแสงพระอาทิตย์ในช่วงเช้าตรู่ ด้วยสีฟ้าบริเวณชั้นบรรยากาศอันห่างไกล และแสงสีชมพูบนท้องฟ้า เมื่อสองสีรวมเข้าด้วยกันประกอบกับภูเขาเบื้องล่าง ทำให้ภาพที่ออกมากลายเป็นภาพภูเขาที่งดงาม ให้ความรู้สึกบางเบาและสงบเงียบ ช่างภาพภูเขาจึงควรใช้ช่วงเวลานี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ปล่อยให้สูญเปล่ากับการพักผ่อนหลับนอน

 

 

 

           กลับสู่หน้าแรก                                                                                                                  กลับสู่เมนูหลัก

สร้างโดย: 
คุณครูสมชาย น่วมกลิ่น และ นางสาว ชนนิกานต์ แซ่อึ้ง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 203 คน กำลังออนไลน์