ซัมเปง

 

 

 

 

 

 

 

ซัมเปง  เป็นนาฏศิลป์แบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมทางชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีลีลาการเต้นคล้ายคลึงกับการเต้นรองเง็ง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นการเต้นที่ได้นำเอาลีลาการเต้นระบำแบบฝรั่งชาติสเปนมาผสมผสานกับลีลาการเต้นรำของชาวพื้นเมืองในแหลมมลายู เช่นเดียวกับการเต้นรองเง็งจากการสันนิษฐานดังกล่าวนี้  การเต้นซัมเปงจึงอาจเกิดขึ้นได้    ลักษณะ  คือลักษณะที่ ๑   เกิดขึ้นจากการรับวัฒนธรรมจากพ่อค้าชาวสเปนเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับบรรดาหัวเมืองมลายู     โดยเฉพาะเมืองปัตตานีเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่ง    ซึ่งอาจเป็นศูนย์กลางในการรับวัฒนธรรมใหม่จากชาวสเปน     แล้วเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเดิม   จึงก่อให้เกิดการแสดงออกทางด้านศิลปะการเต้นรำในลีลาใหม่ที่เรียกว่า  การเต้นรำแบบสเปน  แล้วค่อยๆ เรียกเพี้ยนไปเป็นซัมเปง                ลักษณะที่ ๒  สเปนเป็นชาติตะวันตกชาติหนึ่งที่มายึดครองดินแดนในเอเชียเป็นระยะเวลายาวนาน  โดยเฉพาะประเทศฟิลิปปินส์  และสเปนพยายามสร้างฟิลิปปินส์  ซึ่งมีชาวพื้นเมืองเดิมเป็นชาวเกาะที่นับถือศาสนาอิสลามให้เป็นตัวแทนของสเปนในภูมิภาคตะวันออก ด้วยเหตุนี้สเปนจึงนำเอาประเพณี  วัฒนธรรม   ตลอดจนศาสนาเข้ามาครอบคลุมชาวพื้นเมือง   ศิลปะการแสดงตามแบบฉบับของสเปนจึงปรากฏขึ้นในดินแดนของประเทศฟิลิปปินส์และเมื่อชาวพื้นเมืองฟิลิปปินส์ได้มีการติดต่อกับชาวพื้นเมืองมลายูซึ่งนับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน   จึงทำให้นาฏศิลป์การเต้นซัมเปงซึมซาบเข้ามาในดินแดนมลายู                ลักษณะที่ ๓  การเต้นซัมเปง  อาจเป็นศิลปะในราชสำนักของบรรดาสุลต่านตามหัวเมืองมลายูมาก่อน   โดยที่ราชสำนักได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมของชาวสเปนมาจากกลุ่มพ่อค้าอาหรับที่เคยค้าขายกับประเทศสเปนโดยตรง   และบรรดาพ่อค้าอาหรับเหล่านี้  ได้นำเอาศิลปะการเต้นระบำของชาวสเปนเข้ามาเผยแพร่แล้วเกิดการผสมผสานกับลีลาการเต้นรำของชาวพื้นเมือง  กลายมาเป็นซัมเปง  ที่ถ่ายทอดสืบกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวิธีการแสดง         การเต้นซัมเปงเป็นการเต้นคู่ของชายหญิง แต่ไม่ใช่เป็นการพาคู่เต้นแบบลีลาศ    หากแต่ต่างคนต่างเต้นเป็นคู่ๆ ไปตามจังหวะของดนตรี                   เมื่อดนตรีดังขึ้น   คู่ชายหญิงก็จะออกไปแสดงลีลาการเต้นพร้อมกันทั้งหมด และจะเปลี่ยนท่าไปตามทำนองของดนตรีอย่างสวยงามตามลำดับ   และในท่าสุดท้ายดนตรีจะรัวเร็วคึกคะนอง   ผู้เต้นจะเต้นสะบัดปลายเท้าเร็วมากและยิ่งเร็วขึ้นเมื่อใกล้จะจบเพลง และผู้เต้นจะหยุดลงพร้อมกันเมื่อเวลาเพลงจบพอดี

การแต่งกาย ในการเต้นซัมเปงนิยมแต่งกายแบบผู้ดีพื้นเมืองคือ  ชายจะสวมหมวกซอเก๊าะสีดำหรือโพกผ้าตามแบบพื้นเมือง สวมเสื้อคอกลมแขนยาวสีเดียวกับกางเกงแบบคล้ายกับกางเกงจีน แล้วใช้ผ้าโสร่งเนื้อดีแคบๆ ยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงอีกชั้นหนึ่ง ส่วนผู้หญิงจะทำผมและมีเครื่องประดับผม   แต่งหน้าสวยงาม  สวมเสื้อแขนกระบอกที่เรียกว่า  เสื้อบันดง  คือ  เป็นเสื้อแบบเข้ารูปปิดตะโพกหรือยาวถึงเข่า  ผ่าอกตลอดติดกระดุมทองเป็นระยะ นุ่งผ้าปาเต๊ะยาวกรอมเท้า และยังมีผ้าคลุมไหล่บางๆ สีตัดกับสีเนื้อ

เครื่องดนตรีประกอบ         ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๓ ชนิด๑. มอวูวัส   คือรำมะนาขนาดเล็ก ใช้ตีขัดจังหวะ และเพื่อให้จังหวะที่เร้าใจ๒. คาบูส   มีลักษณะคล้ายซอสามสาย แต่มีขนาดยาวเท่ากับแน เครื่องดนตรีที่ให้ทำนองเพลงอย่างไพเราะ๓. ฆ้อง   เป็นเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะ

โอกาสที่แสดง      การเต้นซัมเปง   ใช้แสดงในโอกาสต้อนรับแขกสำคัญของท้องถิ่น  หรือเต้นโชว์เมื่อเวลามีงานรื่นเริง  ส่วนสถานที่นั้นอาจจะเป็นบนเวทีหรือในลานบ้านตามแต่ความเหมาะสม  และจะแสดงในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้

 

 

 

 

 

                     

สร้างโดย: 
นาง วไลลักษณ์ ดิษพึ่ง และ นางสาวกมลวรรณ แรงรักธรรม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 348 คน กำลังออนไลน์