user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การแบ่่งนิวเคลียส', 'node/85039', '', '13.59.124.249', 0, '344371bbaec5a809d2b519192c881cbf', 132, 1716012988) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

พีอีเอฟ

 

 

การวัด PEF

 

 

ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปี มักจะสามารถใช้เครื่องเป่า PEF ได้ดี การวัด PEK ที่ถูกต้อง ทำได้โดยให้ผู้ป่วยยืนขึ้นและจับเครื่องวัด โดยไม่มีนิ้วมือไปขวางทางของเข็มวัด ต่อจากนี้ ก็หายใจให้เต็มปอดแล้วตามด้วยการเป่าออกทางปากให้แรงที่สุดและเร็วที่สุด ให้ทำ 3 ครั้ง แล้วเลือกตัวเลขที่ดีที่สุด เนื่องจากการวัด PEF จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยในการเป่า จึงต้องมีการสอนและการดูแลเป็นระยะจากแพทย์ว่าทำได้ถูกต้องหรือไม่

 

ดังได้กล่าวแล้วว่า การวัดควรจะมีการวัดตอนเช้าและตอนเย็นของวันเดียวกัน เพื่อที่จะได้ทราบว่าในแต่ละวันสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคหอบหืดมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ (ในปกติค่า PEF ในระหว่างวันจะแตกต่างกันได้ แต่ไม่เกิน 10-15 เปอร์เซ็นต์)

 

การแปรผล

 

ค่า PEF จะแตกต่างกันโดยมีความสัมพันธ์กับ ความสูง เพศ เชื้อชาติ และอายุ
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะได้ค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าค่าเฉลี่ยได้ ตัวเลขที่ควรใช้ในการอ้างอิงของแต่ละคน ซึ่งอาจ ต่างกันได้ แพทย์ผู้ดูแลจะพิจารณา และหาค่าที่เรียกว่า PERSONAL BEST NUMBER ของผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อใช้ในการอ้างอิงในอนาคต

 

สำหรับความแปรปรวนในแต่ละวัน คำนวณได้จากสูตร
ความแปรปรวน = PEF เช้า – PEF เย็น / 1/2 (PEF เช้า + PEF เย็น) X 100

 

ซึ่งไม่ควรมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์

 

การใช้ประโยชน์จากเครื่อง PEF Meter ที่บ้าน

 

เมื่อเราสามารถหาตัวเลข PERSONAL BEST NUMBER ของผู้ป่วยได้แล้ว เราก็จะมาทำเป็นช่วงๆ 3 ช่วง ตามสัญญาณไฟจราจรได้แก่
  • ช่องสีเขียว (80-100 เปอร์เซ็นต์ของตัวเลขที่ดีที่สุด) หมายความว่า ไฟเขียวผ่านตลอด ผู้ป่วยไม่ควรมีอาการอะไร ปลอดภัย

     

  • ช่องสีเหลือง (60-80 เปอร์เซ็นต์ของตัวเลขที่ดีที่สุด) หมายความว่า ผู้ป่วยเริ่มมีอาการหอบ ไอ หายใจแน่นหน้าอก ซึ่งกรณีนี้ผู้ป่วยควรใช้ยาขยายหลอดลมเอง โดยวิธีการสูดเมื่อพ่นยา 1 ครั้ง หลังจากนั้นควรเป่า PEF Meter อีกครั้ง หลังจากใช้ยาได้ 20-30 นาที ถ้าดีขึ้นจนเป็นปกติ ก็ไม่เป็นไร ถ้ายังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ให้ใช้ยาขยายหลอดลมอีกครั้ง ถ้าแย่ลงจนถึงช่องสีแดง

     

  • ช่องสีแดง (ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของตัวเลขที่ดีที่สุด) ถ้าผู้ป่วยอยู่ในช่องสีแดง ให้ใช้ยาขยายหลอดลมได้ทันที แล้วดูอาการเป็นระยะๆ และไปพบแพทย์ทันทีถ้าตัวเลขยังอยู่ในช่องสีแดง
สำหรับอุปกรณ์ PEF Meter รุ่นใหม่ๆ ก็มักจะมีที่ติดสติ๊กเกอร์สำหรับเขียนตัวเลขในแต่ละช่องสีได้เลย เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นได้ชัดเจน

 

ราคาของ PEF Meter หลายชนิด โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท ซึ่งราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากยังไม่มีการผลิตภายในประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์นี้มีความจำเป็นอย่างมากในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืด
สร้างโดย: 
นส.นวลพักตร์ พรเจริญ ม.6/5 เลขที่ 12

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 274 คน กำลังออนไลน์