อริยสัจ 4

อริยสัจ 4


     มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4


1. ทุกข์  คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์
ทุกข์ : ธรรมที่ควรรู้ มีดังนี้


โลกธรรม 8      ความหมาย โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องธรรมดาของโลกที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หรือสิ่งที่ครอบงำมนุษย์ 8 ประการ สาระสำคัญของโลกธรรม 8 สรุปดังนี้ 


  โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ) 
  1. ได้ลาภ  
  2. ได้ยศ
  3. มีสรรเสริญ  
  4. มีสุข 


  โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ (มนุษย์พอใจ)
  1. เสื่อมลาภ  
  2. เสื่อมยศ
  3. มีนินทา  
  4. มีทุกข์


2. สมุทัย     คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง


สมุทัย  :  ธรรมที่ควรละ มีดังนี้


กรรมนิกาย     กรรมนิกาย คือ กฎแห่งการกระทำของมนุษย์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “กฎแห่งกรรม”ซึ่งชาวพุทธมักสรุปหลักคำสอนเรื่องนี้ว่า “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” คือ กรรม 12


 กรรม 12 คือ กรรมที่จำแนกตามผลที่ได้รับ มี 12 ประเภท ดังนี้


1. กรรมที่ให้ผลตามกาลเวลา 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ กรรมที่ให้ผลชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป และกรรมที่เลิกผล (อโหสิกรรม)
2. กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ 4 กรรม ได้แก่ กรรมที่ชักนำให้เกิด กรรมสนับสนุน กรรมตัดรอน  และกรรมบีบคั้น
3.  กรรมที่ให้ผลตามลำดับความแรง 4 กรรม ได้แก่ กรรมหนัก กรรมที่ทำบ่อย ๆ จนเคยชินกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย และกรรมสักแต่ว่าทำ (ไม่มีเจตนา)


มิจฉาวณิชชา 5      หมายถึง การค้าขายที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม 5 อย่างที่ชาวพุทธต้องละเว้นหรือไม่ควรทำ ได้แก่ การค้ามนุษย์ การค้าอาวุธ การค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร การค้าของมึนเมา และการค้ายาพิษ (สิ่งเสพย์ติด)


3. นิโรธ      คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
นิโรธ  : ธรรมที่ควรบรรลุ มีดังนี้


วิมุตติ 5


1.  หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส เป็นการระงับกิเลสด้วยการเจริญสมาธิ (สมถะ)
2.  หลุดพ้นด้วยธรรมที่ตรงกันข้าม เช่น หลุดพ้นจากความโกรธด้วยการให้อภัย หลุดพ้นจากความตระหนี่และความโลภด้วยการให้ทาน และหลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวด้วยการเสียสละ (วิปัสสนา)
3.  หลุดพ้นอย่างเด็ดขาด คือ การทำลายกิเลสที่มีอยู่ให้หมดไปด้วยญาณขั้นสูงสุด (มรรค)
4.  หลุดพ้นอย่างสงบราบคาบ คือ หลุดพ้นเป็นอิสระเพราะกำจัดกิเลสที่ครอบงำได้อย่างราบคาบ (ผล)
5.  หลุดพ้นจนเกิดภาวะปลอดโปร่ง คือ การเข้าสู่ภาวะนิพพาน


4. มรรค      คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
 
มรรค  :  ธรรมที่ควรเจริญ มีดังนี้


ปาปณิกธรรม 3       หมายถึง คุณสมบัติของพ่อค้าแม่ค้าที่ดี หรือหลักการค้าขายให้ประสบผลสำเร็จ มี 3 ประการ ดังนี้


  1. ตาดี (จักขุมา) คือ รู้ลักษณะของสินค้าที่ดีมีคุณภาพ รู้ต้นทุน กำหนดราคาขายและคำนวณผลกำไรได้ถูกต้อง
  2. ชำนาญธุรกิจ (วิธูโร) คือ รู้จักแหล่งซื้อขายสินค้า รู้ความเคลื่อนไหวของตลาด และรู้ถึงรสนิยมความชอบและความต้องการของผู้บริโภค
  3. มีเงินทุน (นิสสยสัมปันโน) คือ รู้จักแหล่งกู้เงินมาลงทุนเพื่อมีเงินทุนหมุนเวียน และได้รับความไว้วางใจจากนายทุนเงินกู้

กลับหน้าแรก :)

สร้างโดย: 
http://learners.in.th/blog/yuyeeyuyeeyuyee/241714

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 245 คน กำลังออนไลน์