สาเหตุของสงครามโลก ครั้งที่ 1และ 2

 

สงครามโลกครั้งที่ 1

สาเหตุของสงคราม

1. ลัทธิชาตินิยม ( Nationalism )

ภายหลังสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ฝ่ายปรัสเซียมีผู้นำที่เข้มแข็งอย่างบิสมาร์กเป็นผู้วางแผนการรบอย่างชาญฉลาด เอาชนะฝรั่งเศสได้ทำให้เยอรมันสามารถรวมตัวกันและสถาปนาจักรวรรดิเยอรมัน

เป็นมหาอำนาจที่สำคัญในยุโรป ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ต้องยอมเสียแคว้นอัลซาซ-ลอแรนให้แก่เยอรมนี และเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ เป็นผลให้อิตาลีรวมชาติได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เกิดลัทธิชาตินิยม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ

2. การแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคม

เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จะนำมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม การแข่งขันเป็นแบบการค้าเสรี เมื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น จึงเริ่มใช้กำลังทางทหารเข้ายึดครองดินแดนที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและตั้งกำแพงภาษีให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันมิให้สินค้าจากประเทศที่เป็นคู่แข่งมาตีตลาดในประเทศบริวารของตน เป็นเครื่องมือวัดความยิ่งใหญ่ของประเทศ

3. มหาอำนาจแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยเยอรมนี รัสเซียและออสเตรีย-ฮังการี ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี ภายหลังรัสเซียได้ถอนตัวไปและอิตาลีเข้ามา กลุ่มนี้จึงประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี

อีกฝ่ายหนึ่งฝรั่งเศสกับรัสเซีย ได้ทำสนธิสัญญาพันธไมตรีฝรั่งเศส-รัสเซีย ต่อมาอังกฤษได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรจึงเกิดเป็นกลุ่มประเทศความตกลงไตรภาคี

มหาอำนาจทั้ง 2 กลุ่ม พยายามที่จะโน้มน้าวให้ประเทศอื่นๆเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรของตน ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยินยอมกันแข่งกันสะสมกำลังอาวุธ เมื่อเกิดข้อขัดแย้งที่รุนแรง จึงหาทางออกด้วยการทำสงคราม

4. ความไม่มั่นคงทางการเมืองในคาบสมุทรบอลข่าน

คาบสมุทรบอลข่านอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ประกอบด้วยชุมชนที่มีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ กรีก เติร์ก เมื่อชนเผ่าสลาฟภายใต้การนำของแคว้นเซอร์เบีย ได้เอกราชและแยกตัวออกจากจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ต่อมาเซอร์เบีย บัลแกเรีย และกรีซได้รวมตัวกัน ทำสงครามกับตุรกีและสามารถยึดครองดินแดนของตุรกีในยุโรปได้ แต่หลังจากชนะสงครามก็เกิดความขัดแย้งกันเอง เซอร์เบียจึงกลายเป็นแคว้นที่มีอิทธิพลมากจนเป็นที่เกรงกลัวของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

 

ชนวนของสงครามเกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินานด์รัชทายาทของออสเตรีย-ฮังการี ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยฝีมือของกัฟริโล ปรินซิปชาวบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย โดยมีรัสเซียเข้ามาช่วยเซอร์เบีย เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษเข้าร่วมมือกับรัสเซีย

ในสงครามครั้งนี้ เรียกฝ่ายที่อยู่ข้างเซอร์เบีย รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร และเรียกฝ่ายที่อยู่ข้างออสเตรีย-ฮังการีและเยอรมนีว่า ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (สำหรับอิตาลี ตอนแรกประกาศตนเป็นกลาง แต่ตอนหลังได้ไปเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร)

 

 

การประสานประโยชน์หลังสงคราม

ประเทศพันธมิตรจึงได้จัดการประชุมสันติภาพ ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาได้มีแนวความคิดที่จะสร้างองค์การระหว่างประเทศขึ้น ให้มีหน้าที่ใช้กำลังอำนาจลงโทษประเทศที่ชอบรุกรานประเทศอื่น ทุกประเทศจะได้มีเวลาในการพัฒนาประเทศของตน โดยไม่ต้องสร้างกำลังทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆอีกต่อไป

สงครามโลกครั้งที่ 2

1. ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพของสันนิบาตชาติ ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะสันนิบาตไม่มีกองทหารและไม่มีอำนาจยับยั้งข้อพิพาทระหว่างประเทศได้ อีกทั้งสหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกจึงทำให้สันนิบาตชาติอ่อนแอ

2. การเติบโตของลัทธินิยมทางทหาร มีผู้นำหลายประเทศได้สร้างความเข้มแข็งทางทหารและสะสมอาวุธร้ายแรงต่าง ๆ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น เพื่อขยายอำนาจทางการเมืองโดยใช้กำลังเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ และใช้กองทัพปกป้องผลประโยชน์ของชาติตน

3. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาสันติภาพ ได้แก่ สนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่น ๆ ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ซึ่งเยอรมนีและชาติผู้แพ้สงครามถูกบังคับให้สงนามในสัญญาที่ตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เช่น การสูญเสียดินแดนอาณานิคมและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จึงต้องการล้มเลิกเงื่อนไขข้อตกลงตามสัญญาฉบับนี้

4. การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษและฝรั่งเศสยังคงเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ แต่เยอรมนี ซึ่งเป็นฝ่ายปราชัยในสงครามและต้องสูญเสียดินแดนอารานิคมให้แก่ชาติมหาอำนาจทั้งสองไปจนเกือบหมด รวมทั้งอิตาลีและญี่ปุ่น ซึ่งมีอาณานิคมน้อยกว่า จึงอยู่ในฐานะประเทศที่มีกำลังทางเศรษฐกิจไม่เข้มแข็ง

5. ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมือง แนวความคิดของผู้นำประเทศที่นิยมลัทธิทางทหารได้แก่ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซี (Nazism) ของเยอรมนี และมุสโสลินี ผู้นำลัทธิฟาสต์ซิสม์ (Fascism) ของอิตาลี ทั้งสองต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยมและระบบการเมืองแบบรัฐสภาของชาติยุโรป แต่ให้ความสำคัญกับพลังของลัทธิชาตินิยม ความเข้มแข็งทางทหาร และอำนาจของผู้นำมากกว่า

ผลของสงครามยังก่อให้เกิด

1.การยึดครองประเทศที่แพ้สงคราม

2.การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

3.ความตกต่ำของยุโรป

4.การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรม

5.กำเนิดรัฐอิสราเอล เมื่อยิวที่หลงเหลือจากการกวาดล้างของนาซีรวมพลสู่ดินแดนซึ่งเชื่อว่าพระเจ้าประทานให้ คือปาเลสไตน์

6.สหรัฐกับสหภาพโซเวียตขึ้นเป็นมหาอำนาจ นำสู่ภาวะสงครามเย็น ส่วนด้านญี่ปุ่นต้องอยู่ในปกครองของสหรัฐ นาน 6 ปี

สหประชาชาติ

เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหประชาชาติมีจุดประสงค์คือการนำทุกชาติทั่วโลกมาทำงานร่วมกันเพื่อสันติภาพและการพัฒนาโดยอยู่บนหลักพื้นฐานของความยุติธรรม ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และความกินดีอยู่ดีของทุกคนนอกจากนี้ยังให้โอกาสประเทศต่าง ๆ สร้างดุลแห่งการพึ่งพาอาศัยกันและรักษาผลประโยชน์ชาติในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มนุษยธรรม ให้ความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมมือกันเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ

วัตถุประสงค์ขององค์กร

1. ธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของโลกโดยการร่วมมือกัน

2. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อช่วยกันคลี่คลายและแก้ปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิทธิด้านมนุษยชน

3. เป็นศูยน์กลางพัฒนาความสัมพัน์อันดี และประสานงานกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

สร้างโดย: 
นางสาวนารถอนงค์ แซ่ใหล ม.6/4 เลขที่ 1

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 498 คน กำลังออนไลน์