นาฏศิลปภาคเหนือ (เพลงเกี่ยวข้าว)

 

1.1.5 เพลงเกี่ยวข้าว


                                                                                ภาพที่ 1.5 เพลงเกี่ยวข้าว


ประวัติความเป็นมาของเพลงเกี่ยวข้าว


เพลงเกี่ยวข้าวเป็นเพลงที่สำหรับร้องกันในขณะลงแขกเกี่ยวข้าว อันเป็นอาชีพสำคัญของประชาชนชาวไทยอย่างหนึ่ง เพื่อให้ความสนุกสนานกับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการงานและเชื่อมความสามัคคีในระหว่างพื้นบ้านอาชีพเดียวกันเพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าวจะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วเหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียวกล่าวคือจะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียวไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิกเนื้อความของเพลงมักจะเกี่ยวกับ การไต่ถามถึงการทำนาผสมผสานการเกี้ยวพาราสีกัน เพลงเกี่ยวข้าวบางแห่งเรียก “เพลงกำ” เวลาแสดงมือหนึ่งถือเคียว อีกมือหนึ่งกำข้าวไว้ ย่ำเท้าใช้ลีลาไปตามจังหวะเพลง ใช้ตบมือให้จังหวะพร้อม ๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย

วิธีเล่นเพลงเกี่ยวข้าว


ผู้เล่นมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แบ่งเป็น 2 ฝ่าย มีพ่อเพลงและแม่เพลงร้องโต้ตอบกันโดยใช้การตบมือให้จังหวะพร้อมๆ กัน บางครั้งใช้กลองและฉิ่งเข้าร่วมด้วย ผู้ชายออกมาร้องก่อน แล้วฝ่ายหญิงก็ร้องตอบโต้โดยขึ้นต้นว่า “เอ่อ เออ เอิ้ง เอ๊ย”หรือ “โหยย เอ้า โหยย โหยย” ถ้อยคำที่ร้องเล็ก ๆ น้อย ๆหยุมหยิมเหล่านี้ ร้องในเวลาเกี่ยวข้าว เป็นโอกาสให้หญิงชายได้รู้จักท่วงทีกิริยากันยังไม่ร้องโต้ตอบกันเผ็ดร้อน ครั้นพอตกเย็นหยุดพักเกี่ยวข้าวก็เล่นกันใหม่ เรียกว่า รำกำรำเคียว มือหนึ่งถือข้าวมือหนึ่งถือเคียว ตอนนี้ตั้งวงแล้วเริ่มไหว้ครูก่อนระหว่างที่เพลงนี้ มือถือกำข้าวรำไปตามจังหวะและคำที่ร้อง กลอนที่ร้องคล้ายกับเพลงเรือการเล่นไม่นานนัก เพราะมีเวลาน้อยและเหนื่อยมาจากการเกี่ยวข้าว เพลงที่ร้องเวลาเกี่ยวข้าวนั้น มีร้องประปรายกันเล็กน้อย เป็นกลอนสั้น ๆ พอที่จะร้องได้ทั่ว ๆ กัน

การแต่งกาย


ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วยและเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดพุง สวมงอบและไม่สวมรองเท้า ฝ่ายหญิงจะนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอกสีดำทั้งชุดเช่นกัน ทัดดอกไม้ที่หูขวาและไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย

โอกาสที่แสดง


เพลงเกี่ยวข้าวจะเล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว จะเล่นกันเมื่อหยุดจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เหมือนกับเพลงเต้นกำรำเคียว กล่าวคือ จะเล่นเพลงเกี่ยวข้าวก่อนที่จะเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว และไม่มีกำหนดเวลาในการเล่น คือ เล่นกันจนเหนื่อยก็เลิก

สถานที่แสดง


เล่นกันในท้องนาที่เกี่ยวข้าวหรือลานดินกว้าง ๆ ในท้องนาแต่ในปัจจุบันร้องและเล่นกันบนเวที จัดเป็น 2 ฝ่าย ชาย – หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่

จำนวนผู้แสดง


ผู้เล่นเพลงเกี่ยวข้าวเป็นชาวบ้านมีอาชีพทำนา โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น จะเล่นกี่คนก็ได้ ยิ่งมากยิ่งสนุก โดยมีพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่รวมทั้งผู้ชมด้วย

ตัวอย่างเพลงเกี่ยวข้าว


เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว อย่ามัวชะแง้แลเหลียว
เคียวจะบาดก้อยเอย ฯ
คว้าเถิดหนาแม่คว้า รีบตะบึงให้ถึงคันนา
จะได้พูดจากันเอย ฯ
เกี่ยวข้าวแม่ยาย ผักบุ้งหญ้าหวาย
พันที่ปลายคำเอย ฯ
คว้าเถิดนะแม่คว้า ผักบุ้งสันตะวา
คว้าให้เต็มกำเอย ฯ

สร้างโดย: 
นางสาว กมลวรรณ แรงรักธรรม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 186 คน กำลังออนไลน์