แม่น้ำเจ้าพระยา

สังคม แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย รวมตัวจากแม่น้ำสายหลัก สี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิ แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และมารวมตัวกันที่ปากน้ำโพ รวมเป็นสายเดียว โดยเรียกรวมว่า แม่น้ำเจ้าพระยา และไหลออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ สารบัญ [ซ่อนสารบัญ] 1 ประวัติของแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ 3 สะพานข้ามแม่น้ำ 3.1 ท่าน้ำ 4 การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา 4.1 ลำน้ำสาขา [แก้ไข] ประวัติของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำและลำคลองน้อยใหญ่ล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของทุกชีวิต เป็นแหล่งน้ำใช้อุปโภคบริโภคและการ เกษตร ในอดีตใช้เป็นเส้นทางคมนาคม และยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทยใน ปัจจุบัน มีคลองหลายแห่งที่ขุดขึ้นเพราะเหตุผลนี้ จำนวนคลองที่มากมายนั้นทำให้เราได้รับการขนานนามว่าเป็น “เวนิสตะวันออก” ลำคลองเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำเจ้าพระยาเกิดจากแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากน้ำโพ บริเวณด้านหน้าเขื่อนในตัวเมือง จ.นครสวรรค์ บริเวณนั้นจะมองเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน คือ แม่น้ำน่านจะมีสีค่อนข้างแดง และแม่น้ำปิงจะเป็นสีค่อนข้างเขียว เมื่อไหลมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สำคัญ ของประเทศ ไหลผ่านจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลาง เรื่อยมาจนถึงกรุงเทพมหานคร และลงสู่ทะเลอ่าวไทยที่ อ.ปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ มีความยาวประมาณ 370 กิโลเมตร แม่น้ำเจ้าพระยาสายปัจจุบันนั้นบางช่วงคือ คลองที่ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า เนื่องจากสายน้ำไหลคดเคี้ยวมากจึง ต้องขุดคลองลัดขึ้นมา เพื่อทำให้เดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น การขุดคลองนั้นมีอยู่สามสมัย ได้แก่ ครั้งแรก ขุดในสมัยของสมเด็จพระชัยราชา ขุดตั้งแต่คลองบางกอกน้อยบริเวณหน้าสถานีรถไฟบางกอกน้อย ไปถึง คลองบางกอกใหญ่ บริเวณหน้าวัดอรุณราชวราราม เพื่อความสะดวกในการค้าขายซึ่งสมัยนั้นจะติดต่อกับโปรตุเกส และจีน ครั้งที่สอง ขุดในสมัยพระมหาจักรพรรดิ ขุดคลองบางกอกน้อยเชื่อมสายใน ระหว่างคลองบางกอกน้อย ส่วนที่เป็น แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมตรงวัดสุวรรณคีรีกับคลองบางกรวยตรงวัดชลอ ครั้งที่สาม ขุดในสมัยพระเจ้าปราสาททองจากวัดเฉลิมพระเกียรติมาเชื่อมกับปากคลองบางกรวยในปัจจุบัน (แม่น้ำ เจ้าพระยาเดิม) สองฝั่งแม่นำเจ้าพระยามีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย เราอาจจะเคยล่องเรือไปตามแม่น้ำสายนี้และชื่นชมกับวิถีของชีวิต ผู้คน บ้านเรือนรูปร่างแปลกตาตามชุมชนต่างๆ วัดวาอารามและบรรยากาศที่เย็นสบาย แต่ก็เป็นความประทับใจ เพียงแค่ ช่วงเวลาหนึ่งแล้วก็ผ่านไป หากพวกเราทราบความเป็นมา หรือความสำคัญของสิ่งเหล่านั้ [แก้ไข] ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำน่านและแม่น้ำปิง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตร[ต้องการแหล่งอ้างอิง] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท [แก้ไข] สะพานข้ามแม่น้ำ แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ จึงมีสะพานข้ามแม่น้ำจำนวนมาก และในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นสะพานที่มีชื่อ เช่น (เรียงจากต้นน้ำ) สะพานเดชาติวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ สะพานตะเคียนเลื่อน (ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์) สะพานพระวันรัต (ทางแยกเข้าจังหวัดอุทัยธานี) เขื่อนเจ้าพระยา (จังหวัดชัยนาท) สะพานกษัตราธิราช (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) สะพานเกาะเรียน (ทางเลี่ยงเมืองอยุธยาฝั่งใต้) สะพานบางไทร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347) สะพานเชียงราก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 9) สะพานปทุมธานี สะพานนนทบุรี สะพานพระราม 4 สะพานพระนั่งเกล้า สะพานพระราม 5 สะพานพระราม 7 สะพานพระราม 6 สะพานกรุงธน สะพานพระราม 8 สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน สะพานพระราม 3 สะพานกรุงเทพ สะพานพระราม 9 สะพานทีปังกรรัศมีโชติ สะพานสุขสวัสดิ์ [แก้ไข] ท่าน้ำ แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้ ปากเกร็ด พิบูลสงคราม 4 บางศรีเมือง นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3) พิบูลสงคราม 2 วัดเขียน วัดตึก วัดเขมา พิบูลสงคราม 1 พระราม 7 วัดสร้อยทอง บางโพ เกียกกาย เขียวไข่กา กรมชลประทาน พายัพ วัดเทพนารี สะพานกรุงธน (ซังฮี้) วาสุกรี วัดคฤหบดี เทเวศร์ สะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม) พระอาทิตย์ พระปิ่นเกล้า รถไฟ พรานนก (ศิริราช) วังหลัง พระจันทร์ มหาราช ท่าช้าง วัดระฆัง ราชวรดิฐ ท่าเตียน วัดอรุณ ราชินี ปากคลองตลาด วัดกัลยาณมิตร ซางตาครูซ สะพานพระพุทธยอดฟ้า ราชวงศ์ ท่าดินแดง กรมขนส่งทางน้ำฯ (กรมเจ้าท่า) สี่พระยา คลองสาน วัดม่วงแค วัดสุวรรณ โอเรียนเต็ล สาทร ตากสิน วัดเศวตฉัตร วัดราชสิงขร ถนนตก วัดวรจรรยาวาส บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ ราษฎร์บูรณะ สาธุประดิษฐ์ เพชรหึงษ์ บางนา เภตรา [แก้ไข] การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยา แผนที่แสดงตำแหน่งการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด ซึ่งประกอบด้วย คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065 [3] สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง [แก้ไข] ลำน้ำสาขา ด้วยความที่แม่นำเจ้าพระยา มีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้

สร้างโดย: 
KoolZ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 232 คน กำลังออนไลน์