กฎหมายทั่วไป

 

   กฎหมายทั่วไป
หลักกฎหมายทั่วไป ได้แก่ หลักกฎหมายที่ผู้พิพากษาค้นคว้าหามาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในกรณีที่ไม่มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และบทกฎหมายอันใกล้เคียงที่สุดใช้แล้ว ซึ่งผู้พิพากษาจะอาศัยสิ่งใดเป็นเครื่องค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปนั้น นักนิติศาสตร์ให้ความเห็นว่า
   1. สุภาษิตกฎหมาย คือ คำกล่าวที่ปลูกถ่ายความคิดทางกฎหมาย และยังเป็นบทย่อของหลักกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เช่น
   2. การพิเคราะห์โครงสร้างกฎหมาย วิธีนี้เห็นกันว่าดีกว่าวิธีก่อน เนื่องเพราะมีความแน่นอนกว่าการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปโดยใช้สุภาษิตเป็นเครื่องมือ เพราะบางครั้งสุภาษิตก็ใช้แก่บางประเทศหรือบางท้องที่มิได้
เช่น
ตัวอย่างที่ 1 สุภาษิตกฎหมาย
"กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2512 พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นโจทก์ นายสุดใจ หลักคำเป็นจำเลย ความว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจใช้ขวานคมกว้างสองนิ้วครึ่ง ยาวสามนิ้วครึ่ง ทั้งตัวและด้ามขวานยาวสิบเจ็ดนิ้ว ฟันต้นคอร้อยตรีประพันธ์ ศิวิไล โดยเจตนาฆ่าและไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ไม่บรรลุผลโดยกระดูกต้นคอแตก ได้รับการรักษาพยาบาลทันท่วงทีจึงไม่ตาย ขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ขวานของกลางเป็นขวานขนาดเล็ก จำเลยฟันครั้งเดียว ไม่ฟันซ้ำ การกระทำของจำเลยจึงเป็นเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัส ศาลฎีกาว่า ขวานขนาดนั้นถือเป็นขวานขนาดใหญ่อยู่มิใช่น้อย หมายฟันที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรง เป็นบาดแผลฉกรรจ์ ถ้าไม่รีบรักษาทันท่วงทีก็อาจถึงแก่ความตาย โดยที่หมายฟันที่คอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญโดยแรงเป็นบาดแผลฉกรรจ์ ถ้าไม่รีบรักษาทันท่วงทีก็อาจถึงแก่ความตายได้นั้น กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนา การกระทำของจำเลยชี้ว่าจำเลยมีเจตนาหมายเอาให้ตาย แต่พอดีผู้เสียหายไม่ตาย จำเลยจึงผิดฐานพยามยามฆ่า มิใช่ทำร้ายร่างกาย
"ความยินยอมไม่ทำให้เป็นการละเมิด" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510 นายน่วม เหตุทองเป็นโจทก์ นายน่วม เหตุทองเป็นจำเลย ความว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยใช้มีดฟันทำร้ายโจทก์ จนโจทก์ได้รับอันตรายสาหัส ทุกขเวทนาและประกอบกรณียกิจตามปกติเกินกว่ายี่สิบวัน กับทั้งแขนอาจพิการตลอดชีวิต จำเลยว่า โจทก์เสพสุรามึนเมาแล้วอวดอ้างว่าเป็นผู้อยู่คงกระพันฟันไม่เข้า ขอให้จำเลยลองฟัน จำเลยไม่ควรต้องรับผิด ศาลมณฑลทหารบกที่ 5 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกาย ศาลฎีกาว่า การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันเช่นนั้นเป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกายตน และเป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย กลับคำพิพากษา(พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 9 "ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้") จึงถือได้ว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510 (ป.) ไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานได้อีกต่อไป
"ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนให้" : มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2511 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโรงงานน้ำตาลเจริญผลโดยนายศักดิ์ชัย แซ่ตั้ง หุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นโจทก์ กับนายไพศาล ชนะศรีวนิชชัย และนายดำรง ชนะศรีวนิชชัย เป็นจำเลยที่ 1 และที่ 2 ความว่า การซื้อทรัพย์จากผู้ที่มิใช่เจ้าของทรัพย์ย่อมมิได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้น เพระผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน 

สร้างโดย: 
นายธานินทร์ พร้อมสุข และ น.ส.รัตติพร ปุเรตัง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 326 คน กำลังออนไลน์