ยืน

การยืนกำหนด
ก. หลักการปฏิบัติ
ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานาติ. ยืนอยู่ ก็กำหนดรู้ว่า ข้าพเจ้ายืนอยู่
ข. วิธีการปฏิบัติ
๑. ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหลัง
๒. ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปไกลประมาณ 2-3 เมตร
๓. สติระลึกรู้อาการยืน คือร่างกายที่ตั้งตรงกำหนดว่า "ยืนหนอ" ๓ ครั้ง
๔. ขณะที่บริกรรมในใจว่า "ยืนหนอ" ต้องรู้สึกตัวว่า ตนเองยืนอยู่จริงๆ
๕.จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
ค. สิ่งที่พึงเว้นขณะกำหนดอาการยืน
๑. ไม่ควรหลับตา หรือสอดส่ายสายตาเพื่อหาอารมณ์อื่นๆ
๒. ไม่ควรก้มจนเกินไป หรือแหงนหน้ามองสิ่งอื่นๆ โดยไม่จำเป็น
๓. ไม่กำหนดอาการพอง-ยุบ (เว้นไว้แต่กรณีที่จำเป็นเท่านั้น)
๔. ไม่เพ่งดูสัณฐานบัญญัติส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่น ปลายเท้า หัวเข่า หน้าท้องตรงสะดือ หน้าอก ศีรษะ หน้าผาก ปลายผม เป็นต้น ที่ถูกแล้วควรกำหนดรู้เพียงแค่อาการหรือความรู้สึกตัวขณะที่ยืนอยู่เท่านั้น

สร้างโดย: 
นางสาวพัชรภรณ์ บับพาน สตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพฯและพระอาจารย์มหาถวิล จารุเตโช

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 284 คน กำลังออนไลน์