user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครประกวดสื่อประเภทสื่อเว็บเพจ และสื่อออนไลน์ วิชาวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-4', 'node/21323', '', '18.220.116.90', 0, 'bc7e67a66feaa09ea63f860ac73c6be5', 291, 1716180399) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

( ._____.)o Phylum Porifera - ไฟลัมพอริเฟอรา o(._____. )

ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)  

Porifera มาจากภาษาละติน (porudus + ferre = pore + bearing) หมายถึงสัตว์ที่มีรูพรุน สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ (sponge) มีช่องว่างภายในลำตัว (spongocoel) น้ำจะผ่านเข้าทางรูพรุน (ostium) ซึ่งมีอยู่ทั่วตัวสู่ช่องว่างภายในลำตัวและผ่านออกจากตัวทางช่องน้ำไหลออก (osculum) โดยฟองน้ำส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำเค็มพบประมาณ 10, 000 สปีชีส์ บางชนิดอาศัยอยู่ในน้ำจืดพบประมาณ 50 สปีชีส์

 


ลักษณะที่สำคัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี (radial symmetry) หรือไม่มีสมมาตร (asymmetry)
2. ผนังตัวของฟองน้ำประกอบด้วยเซลล์ที่มาเรียงตัวเป็นชั้นของเซลล์ 2 ชั้น คือชั้นเซลล์ผิว ด้านนอกหรือเอพิเดอมิส (epidermis) ประกอบด้วยเซลล์เพียงชนิดเดียวคือ พินาโคไซท์ (pinacocyte) จึงอาจเรียกเซลล์ผิวนี้ว่า พินาโคเดิร์ม (pinacoderm) ส่วนด้านเซลล์บุช่องกลางตัว คือ โคเอโนไซท์ (choanocyte or collar cell ) จึงเรียกว่า โคเอโนเดิร์ม (choanoderm) โคเอโนไซท์เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายปลอกคอ มีแส้ (flagellum) 1 เส้นทำหน้าที่ให้น้ำไหลเวียนและย่อยอาหาร ระหว่างชั้นของเซลล์ 2 ชั้นนี้จะมีสารคล้ายวุ้น (gelatinous matrix) แทรกอยู่ ซึ่งจะมีเซลล์ที่เคลื่อนที่แบบอะมีบา(amoeboid cell) หรือ อะมีโบไซท์ (amoebocyte) เรียกชั้นนี้ว่า มีโซฮิล (mesohyl) หรือมีเซนไคม์ (mesenchyme)
3. ฟองน้ำมีระบบโครงร่างค้ำจุนให้คงรูปอยู่ได้ บางชนิดแข็งเรียกว่า ขวาก (spicule) ซึ่งมักเป็น หินปูน และซิลิกา (silica) เช่นฟองน้ำหินปูน ฟองน้ำแก้ว บางชนิดเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า สพองจิน (spongin) ได้แก่ ฟองน้ำถูตัว
4. ไม่มีระบบหมุนเวียน ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย และระบบประสาท ซึ่งจะอาศัยการไหลเวียนน้ำเป็นตัวการสำคัญในกระบวนการเหล่านี้ ฟองน้ำกินอาหารโดยกรองอาหารที่อยู่ในน้ำผ่านเข้ารูพรุนรอบตัว หายใจโดยการดูดซึมออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำผ่านผนังลำตัว
5. มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสเปิร์มและไข่ผสมกัน และจะได้ตัวอ่อนที่มี ซิเลียว่ายน้ำได้ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ (budding)
6. ตัวเต็มวัยจะเกาะอยู่กับที่ (sessile animal)

ฟองน้ำสืบพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ
1. แบบไม่อาศัยเพศ คือ แตกหน่อ (Budding) หรือสร้าง Gemmule โดยใช้ Amebocyte 2-3 เซลล์มาสร้างเปลือกหุ้มในสภาวะแห้งแล้ง เมื่อถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เปลือกก็จะหลุดออกและเจมมูล (Gemmule) จะสามารถเจริญเติบโตต่อไปได้และสร้างเซลล์สืบพันธุ์ (Archeocyte) ต่อไป
2. แบบอาศัยเพศ โดยอาศัยเซลล์ Archeocyte สร้างอสุจิกับไข่มาผสมกัน เกิดไซโกต กลายเป็นฟองน้ำต่อไป

แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่
1. Class Calcarea ได้แก่ฟองน้ำที่มีแกนแข็ง เป็นพวกหินปูน (CaCO3)
2. Class Hexactinellida ได้แก่ฟองน้ำที่มีแกนแข็งเป็นพวกแก้วหรือทราย (Silica)
3. Class Demospongiae ได้แด่ฟองน้ำถูตัวที่มีแกนอ่อนนุ่ม ประกอบด้วยสารประเภท Scleroprotien

กลับสู่หน้าแรก
 

สร้างโดย: 
คุณครูธนพล กลิ่นเมือง และ นางสาวกนกวรรณ วิรัตน์วัฒนกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 309 คน กำลังออนไลน์