โครงสร้างการบริหารลูกเสือไทย

                                                      

        โครงสร้างของการบริหารลูกเสือแห่งชาติ มีปรากฏในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ.2507-2530 และ ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้
     1). คณะลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยบรรดาลูกเสือทั้งปวง, ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ, ผู้ตรวจการลูกเสือ,กรรมการลูกเสือและเจ้าหน้าที่ลูกเสือ (มาตรา 5)
     2). คณะลูกเสือแห่งชาติเป็นนิติบุคคล (มาตรา 6)
     3). พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ (มาตรา 8)
     4). สภาลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี เป็นสภานายก รองนายกรัฐมนตรี เป็นอุปนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ปลัดกระทรวงกลาโหม, ปลัดกระทรวงมหาดไทย,ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารอากาศ, ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, อธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ, อธิบดีกรมการปกครอง, ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าราชการจังหวัดและศึกษาธิการเขต เป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าสี่สิบคน แต่ไม่เกินแปดสิบคน ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
     ให้อธิบดีกรมพลศึกษาเป็นกรรมการและเลขาธิการฯ, รองอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นกรรมการและรองเลขาธิการฯ และผู้อำนวยการกองลูกเสือ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการ
     สภาลูกเสือแห่งชาติอาจมีสภานายกกิตติมศักดิ์, อุปนายกกิตติมศักดิ์ และกรรมการกิตติมศักดิ์จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และเมื่อพ้นตำแหน่งอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งอีกได้ (มาตรา 13)
     สภาลูกเสือแห่งชาติมีอำนาจและหน้าที่
   ก.วางนโยบายเพื่อความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของคณะลูกเสือแห่งชาติ
   ข.พิจารณารายงานประจำปีของคณะลูกเสือแห่งชาติ
   ค.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (มาตรา 12) โดยปกติมีการประชุมสภาลูกเสือแห่งชาติปีละ 1 ครั้งในต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ใช้เวลาประชุมครั้งละ 3-5 วัน
     5). คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองประธาน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งสภานายกสภาลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้งให้อธิบดีกรมพลศึกษาเป็นกรรมการและเลขาธิการฯ, รองอธิบดีกรมพลศึกษาเป็นกรรมการและรองเลขาธิการฯ และผู้อำนวยการกองลูกเสือเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการฯกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และเมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (มาตรา 15)
     คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ มีอำนาจและหน้าที่บริหารกิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ โดยทั่วไปมีรายละเอียดปรากฏในมาตรา 18 ประธานกรรมการาบริหารฯ เป็นผู้กระทำการในนามคณะลูกเสือแห่งชาติและเพื่อการนี้จะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งคนใดปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้
     6). สำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ศาลาวชิราวุธ ถนนพระราม1 หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร มีเลขาธิการคณะกรรมการบริหารฯ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบและมีเจ้าหน้าที่ตามสมควร และเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้จัดตั้งผู้ตรวจการและ
คณะอนุกรรมการขึ้น 9 คณะ เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
   1. ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายบริหาร
   2.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายาจัดหาทุน
   3.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายต่างประเทศ
   4.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายประชาสัมพันธ์
   5.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายวิชาการ
   6.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายฝึกอบรม
   7.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายพัฒนาชุมชน
   8.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายกิจการพิเศษ
   9.ผู้ตรวจการลูกเสือฝ่ายลูกเสือชาวบ้าน
     7). งานลูกเสือในระดับจังหวัด ให้มีคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน, รองผู้ว่าราชการจังหวัดและปลัดจังหวัดเป็นรองประธาน, ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดและนายอำเภอเป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสิบห้าคนแต่ไม่เกินสามสิบคน ซึ่งประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้งให้ศึกษาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและเลขาธิการฯ และผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือจังหวัดจะแต่งตั้งบุคคลผู้สนับสนุนกิจการลูกเสือเป็นกรรมการลูกเสือพิเศษประจำจังหวัดก็ได้ กรรมการลูกเสือพิเศษประจำจังหวัดมีสิทธิ์เข้าชี้แจง แสดงความเห็นในการประชุมคณะกรรมการลูกเสือจังหวัด แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
    ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด, รองผู้ว่าราชการจังหวัด, ปลัดจังหวัดและศึกษาธิการจังหวัดเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด และผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด มีหน้าที่บริหารลูกเสือจังหวัด (มาตรา 26)
    สำหรับกรุงเทพมหานครมีระเบียบการปกครองลูกเสือเป็นพิเศษ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง และวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ.2509 ข้อ 136-140 โดยอนุโลม
    สโมสรลูกเสือ ในส่วนกลางอยู่ในความดูแลของเลขาธิการคณะกรรมการบริหารฯ ส่วนสโมสรลูกเสือในจังหวัดต่างๆอยู่ในความดูแลของผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
     คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และเมื่อพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (มาตรา 25)
คณะกรรมการลูกเสือจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
   ก.ส่งเสริมความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของการลูกเสือในจังหวัด
   ข.พิจารณารายงานประจำปีของลูกเสือจังหวัด
   ค.ให้คำแนะนำผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดในการปฏิบัติงานลูกเสือ (มาตรา 24)
     8). งานลูกเสือในระดับอำเภอ ให้มีคณะกรรมการลูกเสืออำเภอ ประกอบด้วย นายอำเภอเป็นประธาน ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบงานปกครองเป็นรองประธาน หัวหน้าการประถมศึกษาอำเภอเป็นกรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่าสิบคนแต่ไม่เกินยี่สิบคน ซึ่งประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติแต่งตั้ง (มาตรา 29)
     ให้ศึกษาธิการอำเภอเป็นกรรมการและเลขาธิการและผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
     ประธานคณะกรรมการลูกเสือจังหวัดจะแต่งตั้งบุคคลผู้สนับสนุนกิจการลูกเสือเป็นกรรมการลูกเสือพิเศษประจำอำเภอก็ได้
     ในอำเภอหนึ่งให้จัดระเบียบการปกครองลูกเสือตามเขตอำเภอ (มาตรา 28)
     ให้นายอำเภอเป็นผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบงานปกครองและศึกษาธิการอำเภอเป็นรองผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ และผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอ มีหน้าที่บริหารกิจการลูกเสือในอำเภอ (มาตรา 32)
     คณะกรรมการลูกเสืออำเภออยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และเมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (มาตรา 31)
คณะกรรมการลูกเสืออำเภอ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
   ก.ส่งเสริมความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าของการลูกเสือในอำเภอ
   ข.พิจารณารายงานประจำปีของลูกเสืออำเภอ
   ค.ให้คำแนะนำผู้อำนวยการลูกเสืออำเภอในการปฏิบัติงานลูกเสือ(มาตรา30)

                             หน้าหลัก                               ประวัติและโครงสร้างของการลูกเสือไทย

สร้างโดย: 
นางสาวกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ และ นางสาวอัมพิรา รักสัตย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 506 คน กำลังออนไลน์