ความหมายปริศนาคำทาย

 

ความหมาย ที่มา ลักษณะของปริศนาคำทาย

ความหมาย ปริศนาคำทาย คือถ้อยคำที่เป็นคำถามพูดขึ้นเพื่อใช้สำหรับทาย ทดสอบความรู้ ความรอบคอบ
มักใช้ถ้อยคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย เป็นทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะและไม่ใช่มุขปาฐะ
เช่นปริศนา ท่าทาง ปริศนาอักษรไขว้ ปริศนาภาพ นิทานปริศนา เป็นต้น สมัยโบราณนิยมเล่นปริศนาคำทายหลังเวลาอาหารเย็นหรือตอนหัวค่ำ
หรือเล่นเมื่อมีคนมาชุมนุมกัน เช่น งานบวชนาค โกนจุก ตรุษสงกรานต์ คนไทยนิยมเล่นปริศนาคำทายทุกท้องถิ่น
ลักษณะการเล่น ใช้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การถามให้ตอบหาก ผู้ตอบตอบไม่ได้ จะมีการบอกใบ้
หากใบ้แล้วยังตอบไม่ได้ ถ้าต้องการทราบคำตอบต้องยอมแพ้ในการยอมจะมีกติกาให้ปฏิบัติตาม เช่น เขกเข่า ให้ดื่มน้ำหรือกินอาหารจนอิ่ม
ยอมเป็นทาส ซึ่งผู้ยอมแพ้ถือว่าเป็นการเสียหน้า ทั้งนี้เป็นการเน้นให้คิด ให้ใช้สติปัญญา จะไม่ยอมง่าย ๆ
จึงถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ส่งเสริมการใช้ความคิดสติปัญญา ปริศนาคำทายของภาคกลางขึ้นต้นด้วย อะไรเอ่ย
ภาคเหนือขึ้นต้นด้วย อะหยังหวา อันหยังเอ๊าะ ภาคอีสานขึ้นต้นด้วย แม่นหยัง อิหยัง ภาคใต้ขึ้นต้นด้วย ไอ้ไหรหา ไอ้ไหรเหอ การั่ย ไหโฉ้

ที่มา ปริศนาคำทาย มีที่มาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1. มาจากสภาพแวดล้อมใกล้ตัว
- อะไรเอ่ย ก้อนสี่เหลี่ยมน้ำเต็มเปี่ยม ไม่มีปลา ? (น้ำแข็ง)
- อะไรเอ่ย คิดไม่ออก เอานิ้วตอกก็คิดได้ ? (เครื่องคิดเลข)

2. มาจากธรรมชาติ
- ไอ้ไหรหา เช้ามาเย็นกลับ (ดวงอาทิตย์)
- อะไรเอ่ย มาจากเมืองแขก ตีไม่แตก ฟันไม่เข้า (เงา)

3. มาจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ
- ต้นเท่านิ้วก้อย พระนั่งห้าร้อยไม่หัก (พริกขี้หนู)
- ยามน้อยนุ่งเตี่ยวเขียว เฒ่ามานุ่งเตี่ยวแดง (พริก)
- เมื่อเด็กนุ่งผ้า โตขึ้นมาแก้เปลือย (หน่อไม้)

4. มาจากความคิดเปรียบเทียบ
- อะไรเอ่ยสูงเทียมฟ้าต่ำกว่าหญ้านิดเดียว (ภูเขา)
- อะไรเอ่ย ยิ่งต่อยิ่งสั้น ยิ่งบั่นยิ่งยาว (บุหรี่จุดไฟ , ถนน)

5. มาจากเครื่องมือในการประกอบอาชีพ 
- หัวสองหัว ตั๋วมีตั๋วเดียว (ไม้คานพร้อมสาแหรก 2 ข้าง)

ลักษณะของปริศนาคำทาย

1. มักใช้คำคล้องจองเพื่อจดจำง่าย แสดงความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ของคนไทย เช่น
- ต้นเท่าขา ใบวาเดียว (ต้นกล้วย)
- ต้นเท่าครก ใบปรกดิน (ตะไคร้)

2. มักใช้การเปรียบเทียบเพื่อให้คนตอบได้ นึกภาพสิ่งนั้นได้ เช่น
- ฤดูแล้งเข้าถ้ำ ฤดูน้ำเที่ยวจร ไว้ผมเหมือนมอญ นามกรว่ากระไร?
- อะไรเอ่ยหน้าดำ ฟันขาว เหมือนชาวนิโกร ตะโก้ก็ไม่ใช่ (ขนมเปียกปูน)

3. มักเป็นข้อความทำนองการใช้จิตวิทยาจูงใจให้คนตอบ
- ต้นสามเหลี่ยม ใบเทียมดอก ใครทายออก ได้เมียงาม (กก)
- ยิบ ๆ เหมือนไข่ปูนา ใครไม่มีปัญญา ไขไม่ออกเอย (ตัวหนังสือ)

4. มักใช้ข้อความที่มีความหมายเป็นสองแง่สองมุมเหมือนอนาจาร แต่เรื่องที่ทายไม่ใช่เรื่องหยาบโลน
เป็นเพียงการเพิ่มความสนุกสนานของ ผู้ใหญ่ที่มีอารมณ์ขันในเรื่องเพศของคนไทย นับเป็นความเฉลียวฉลาด ของการคิด เช่น
- อะไรเอ่ย นารีมีรู พลอยสีชมพู อยู่ในรูนารี (ต่างหู)
- อะไรเอ่ย เปิดผ้าเห็นขน แกะขนเห็นเม็ด แกะเม็ดเห็นรู (ข้าวโพด)


ความหมาย
คำทายที่มาจากพืช
คำทายที่มาจากสัตว์
คำทายที่มาจากสิ่งของ
ผู้จัดทำ
Image Map

สร้างโดย: 
นางสาวรัตนา สถิตานนท์ นางสาวสุจิตรา เบญจะมาศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 251 คน กำลังออนไลน์