ประวัติสถานที่ “สำเพ็ง”

 

           
        

 

 
ภาพเปรียบเทียบย่านสำเพ็งในอดีตและปัจจุบัน
ที่มา : http://img59.imageshack.us/img59/1400/wherethisplace.jpg
http://www.thaiscooter.com/forums/attachment.php?attachmentid=120613&stc=1&d=1164431867

ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=EJJH6-6x21g

สำเพ็ง

     ย่านการค้าสำเพ็ง เป็นย่านการค้าที่ใครหลายๆคนคงรู้จักกันดี เพราะเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่รวมสินค้ามาไว้หลากหลายชนิด เป็นย่านที่เนืองแน่นไปด้วยผู้คนทั้งพ่อค้า แม่ค้า ประชาชนที่เข้ามเลือกซื้อ รวมไปถึงชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมชมย่านนี้อยู่บ่อยๆ ผู้จัดทำก็เป็นอีกคนที่ชอบไปจับจ่ายซื้อของในแถบย่านนี้เพราะว่าสินค้าราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ยิ่งถ้าชวนเพื่อนๆไปด้วย ยิ่งดีใหญ่ เพราะจะได้ช่วยกันหารเงินลงไปอีก เอาล่ะค่ะเกริ่นกันมาพอสมควรแล้ว เราไปอ่านที่มาที่ไปของคำว่า "สำเพ็ง" กันดีกว่าว่ามาจากไหน จะเป็นคำจากภาษาจีนหรือเปล่า อันนี้ผู้จัดทำต้องขออุบเอาไว้ก่อน เราลองไปอ่านพร้อมๆกันเลย :)    
     ย่านสำเพ็งมีที่มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชตอนที่พระองค์ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีในพุทธศักราช ๒๓๒๕ พระองค์ทรงโปรดให้ชาวจีนซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ท่าเตียน และบริเวณใกล้เคียงมาตั้งแต่สมัยธนบุรีไปอยู่สำเพ็ง ซึ่งนอกเขตกำแพงพระนครทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีอาณาบริเวณตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) จนถึงคลองวัดสามเพ็ง (วัดปทุมคงคา) ทั้งนี้เพื่อใช้ที่ดินเดิมซึ่งเป็นที่ดอน และอยู่กึ่งกลางพระนคร เป็นที่ตั้งของพระบรมมหาราชวัง ศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินของราชวงศ์ใหม่ กับทั้งเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของทางการไทยในการควบคุมชาวต่างชาติ ให้ตั้งชุมชนอยู่เรียงรายนอกเขตกำแพงพระนคร เป็นการป้องกันมิให้ท้าทายอำนาจทางการเมืองได้ง่าย อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา 
     คำว่า สำเพ็ง ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า มีที่มาจากไหน และมีความหมายอย่างไร มีผู้รู้ให้คำสันนิษฐานเป็นหลายประการ ดังนี้
     ประการแรก คำสำเพ็งนี้น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า “สามแผ่น” อันหมายถึงลักษณะภูมิประเทศของย่านนั้นที่มีคลองขวางอยู่ ๒ คลอง ได้แก่ คลองเหนือวัดสำเพ็งและคลองวัดสามปลื้ม ทำให้ตัดแผ่นดินออกเป็นสามตอนหรือสามแผ่น คือ แผ่นวัดสำเพ็งตอนหนึ่ง และแผ่นวัดสามปลื้มอีกตอนหนึ่ง คนทั่วไปจึงเรียกย่านนี้ว่า “สามแผ่นดิน” หรือ “สามแผ่น” คำว่า สามแผ่นนี้ต่อมาเพี้ยนไปจามสำเนียงคนจีนว่า “สำเพ็ง”
     ประการที่ ๒ คำสำเพ็งนี้น่าจะเพี้ยนมาจาก “สามแพร่ง” ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของลักษณะภูมิประเทศในย่านนี้
     ประการสุดท้าย มีผู้สันนิษฐานว่า คำสำเพ็ง น่าจะมาจากชื่อพืช ตระกูลเฟิร์นชนิดหนึ่ง มีลัษณะคล้ายใบโหระพา เรียกว่า “ลำเพ็ง” พืชชนิดนี้มีขึ้นทั่วไปในบริเวณดังกล่าว ผู้คนจึงเรียกบริเวณนี้ว่า ลำเพ็ง และเพี้ยนเป็น “สำเพ็ง” ในที่สุด
     ข้อสันนิษฐานทั้ง ๓ ประการนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานเอกสารปรากฏ แต่คำว่าสำเพ็งที่ปรากฏหลักฐานคือชื่อสถานที่ โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งโปรดให้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี้นั้น โปรดให้ย้ายพระยาราชาเศรษฐีกับพรรคพวกจีนซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ซึ่งมีพระราชประสงค์จะสร้างพระบรมมหาราชวังไปอยู่ ณ บริเวณที่เรียกว่า “สำเพ็ง”
     สำเพ็งในครั้วนั้นเป็นท้องที่เปลี่ยวรกรุงรังด้วยป่าหญ้า อยู่นอกกำแพงพระนคร ซึ่งก็ได้วิวัฒนาการเจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับ จนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงชื่อสำเพ็งจะคิดถึงย่านการค้าเก่าและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอดีตของกรุงเทพมหานคร

สร้างโดย: 
นางมาลัยวรรณ จันทร และ นางสาวนิรชา ชินพันธ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 218 คน กำลังออนไลน์