• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:1027b919d8f5ca90246ed9dba050fde5' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<img height=\"276\" width=\"370\" src=\"/files/u40051/b_panpipop-panfah.png\" border=\"0\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"/node/82310\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/home.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82631\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/tanon.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82632\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/klong.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82633\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/sapan.png\" border=\"0\" /></a><br />\n<a href=\"/node/82644\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/trok.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82650\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/wad.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82653\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/otherplace.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82654\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/aboutme.png\" border=\"0\" /></a>\n</p>\n<p align=\"center\" style=\"text-align: center\">\n<a href=\"/node/82655\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/source.png\" border=\"0\" /></a> \n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"241\" width=\"321\" src=\"/files/u40051/sppipop_o.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 304px; height: 217px\" /><img height=\"222\" width=\"321\" src=\"/files/u40051/sppipop_n.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 323px; height: 219px\" /> \n</div>\n<p>\n                               สะพานผ่านพิภพลีลาในอดีต                                              สะพานผ่านพิภพลีลาใปนปัจจุบัน<br />\n       ที่มา : <a href=\"http://www.playfc.com/www2/bbs/attachments/month_0907/090728140118bc98e48c752491.jpg\">http://www.playfc.com/www2/bbs/attachments/month_0907/090728140118bc98e48c752491.jpg</a> (รูปซ้าย)<br />\n      <a href=\"http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8996.jpg?w=400&amp;h=268\">http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8996.jpg?w=400&amp;h=268</a> (รูปขวา)\n</p>\n<p>\n<strong>สะพานผ่านพิภพลีลา</strong>\n</p>\n<p>\n     หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จฯ กลับจากเสด็จประพาสยุโรป ก็มีพระราชดำริที่จะปรับปรุงระบบคมนาคมของกรุงเทพมหานครให้เจริญรุดหน้าและสวยงามเหมือนดั่งที่ยุโรป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง &quot;ถนนราชดำเนิน&quot; ขึ้นเป็นถนนแบบตะวันตก ทั้งกว้างใหญ่และงดงาม<br />\n     จากนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ปรับภูมิทัศน์ของ &quot;สนามหลวง&quot; โดยขยายออกไปให้เป็นรูปวงรีดังในปัจจุบันและปลูกต้นมะขามโดยรอบ ส่วนสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม (หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าคลองหลอด) ตรงจุดที่ถนนราชดำเนินในเลี้ยวเข้าสู่ถนนราชดำเนินกลางนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงสะพานโครงเหล็กที่มีอยู่เดิม ให้เป็นสะพานพื้นคอนกรีตกว้างใหญ่ มีราวสะพานเป็นเหล็กดัดลวดลายสวยงาม คล้ายกับ &quot;สะพานมัฆวานรังสรรค์&quot; ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไปก่อนหน้า<br />\n     สะพานแห่งนี้สร้างเสร็จและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ แล้วพระราชทานนามให้ว่า <em>&quot;สะพานผ่านพิภพลีลา&quot; <br />\n</em>     สะพานผ่านพิภพลีลา เป็นสะพานที่มีความชันน้อยมากจนเกือบเสมอกับระดับถนน และราวสะพานเป็นเหล็กดัดลวดลายงดงาม แต่ภายหลังได้มีการปรับปรุงสะพานผ่านพิภพลีลาหลายครั้ง และที่สำคัญเมื่อมีการก่อสร้าง &quot;สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า&quot; ตรงจุดที่ถนนเจ้าฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาลงถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานผ่านพิภพลีลาก็ถูกเบี่ยงให้พ้นจากทางลาดของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า จนมาตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงแรมรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ส่วนราวสะพานเหล็กดัดก็ถูกถอดออกไปด้วย กลายเป็นกำแพงปูนแกะสลักลายมาแทน \n</p>\n<p>\n<strong>สะพานผ่านฟ้าลีลาศ</strong>\n</p>\n<p>\n    \n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"251\" width=\"321\" src=\"/files/u40051/sppanfah_o.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 273px; height: 208px\" />    <img height=\"210\" width=\"321\" src=\"/files/u40051/sppanfah_n.jpg\" border=\"0\" />\n</div>\n<p>\n                     สะพานผ่านฟ้าในอดีตถ่ายจากป้อมมหากาฬ                                     สะพานผ่านฟ้าในปัจจุบัน<br />\n                                        ที่มา <u><span style=\"color: #810081\"><a href=\"http://img704.imageshack.us/img704/5752/phanfa2.jpg\">http://img704.imageshack.us/img704/5752/phanfa2.jpg </a></span></u>  <br />\n<a href=\"http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8992.jpg\">http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8992.jpg</a><br />\n \n</p>\n<p>\n     เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง (ช่วงที่ชาวบ้านเรียกว่าคลองบางลำพู) บริเวณจุดเชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนราชดำเนินนอก ใกล้กับป้อมมหากาฬและภูเขาทอง วัดสระเกศ<br />\n     ในอดีตเคยเป็นสะพานไม้ ไม่ปรากฏว่าสะพานเดิมสร้างขึ้นเมื่อใด แล้วคงปรับปรุงเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงจากสะพานโครงเหล็กมาเป็นสะพานพื้นคอนกรีตใหญ่ขนาดโตขึ้น\n</p>\n<p>\n<br />\n<strong> ลักษณะสถาปัตยกรรม<br />\n</strong>\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<strong><img height=\"327\" width=\"221\" src=\"/files/u40051/sao_panfah1_0.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 169px; height: 266px\" /><br />\n</strong>เสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริด<br />\nที่มา : <a href=\"http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8994.jpg\">http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8994.jpg</a><br />\n<strong>    <img height=\"219\" width=\"320\" src=\"/files/u40051/sao_panfah2.jpg\" border=\"0\" /> \n<p align=\"center\">\nพนักลูกกรงของราวสะพาน<br />\nรูปภาพโดยนางสาวนิรชา  ชินพันธ์\n</p>\n<p></p></strong>\n</div>\n<p>\n     สะพานแห่งนี้เป็นสะพานโครงเหล็ก ชนิดมีโครงเหล็กใต้โค้งข้างบน พนักลูกกรงของราวสะพานทั้งสองข้างเป็นเหล็กหล่อ ลวดลายช่อดอกทานตะวัน มีลวดลายประดับที่คานโค้งซึ่งรับกับตัวสะพานอยู่ด้านล่าง ที่ปลายสะพานทั้งสองข้างมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริด เป็นลายเฟื่องอุบะที่หัวเสา และเป็นรูปเรือโบราณของยุโรปอยู่ที่กลางเสา<br />\n     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้สะพานใหม่นี้ว่า <em>&quot;สะพานผ่านฟ้าลีลาศ&quot;</em> เพื่อให้คล้องจองกับชื่อสะพานผ่านพิภพลีลา ต่อมาภายหลังการจราจรบริเวณนี้คับคั่งมาก โดยเฉพาะตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศเนื่องจากเป็นเส้นทางหลักที่จะไปขึ้นสะพานพระปิ่นเกล้า แต่ช่องทางจราจรบนสะพานผ่านฟ้าลีลาศมีจำนวนน้อยกว่าช่องทางจราจรบนสะพานปิ่นเกล้า จึงทำให้เกิดปัญหาคอขวด และรถติดบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ<br />\n     ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างและขยายผิวการจราจรถนนราชดำเนินบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศให้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านบาท เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนการก่อสร้าง<br />\n     กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศออกไปทั้ง ๒ ข้างทาง กว้างข้างละ ๗ เมตร ยาวประมาณ ๒๕ เมตร ปรับปรุงผิวการจราจรเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓ ช่องทาง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๓๐ ล้านบาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗ แล้วเสร็จเปิดใช้การจราจรได้เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๗     การก่อสร้างในครั้งนั้นแม้ต้องขยายสะพานออกไป แต่ก็ยังได้มีการเก็บราวสะพานเหล็กดัดเอาไว้มาเชื่อมเข้ากับสะพานที่ปรับปรุงเสร็จ จึงยังคงความสวยงามไว้ได้ดังเดิม ต่างจากการปรับปรุงสะพานผ่านพิภพลีลา<br />\n     นอกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจะเป็นเส้นทางจราจรทางบกที่สำคัญแล้ว บริเวณคลองใต้สะพานแห่งนี้ก็ยังเป็นท่าต้นทางของเรือหางยาวประจำทาง ซึ่งวิ่งรับส่งผู้คนในเส้นทางคลองแสนแสบจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปจนถึงวัดศรีบุญเรือง ย่านบางกะปิ ถือเป็นเส้นทางจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง\n</p>\n<p>\n   \n</p>\n', created = 1715304146, expire = 1715390546, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:1027b919d8f5ca90246ed9dba050fde5' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ประวัติสถานที่ “สะพานผ่านพิภพลีลา - สะพานผ่านฟ้าลีลาศ”

         
        

 

 

                               สะพานผ่านพิภพลีลาในอดีต                                              สะพานผ่านพิภพลีลาใปนปัจจุบัน
       ที่มา : http://www.playfc.com/www2/bbs/attachments/month_0907/090728140118bc98e48c752491.jpg (รูปซ้าย)
      http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8996.jpg?w=400&h=268 (รูปขวา)

สะพานผ่านพิภพลีลา

     หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้เสด็จฯ กลับจากเสด็จประพาสยุโรป ก็มีพระราชดำริที่จะปรับปรุงระบบคมนาคมของกรุงเทพมหานครให้เจริญรุดหน้าและสวยงามเหมือนดั่งที่ยุโรป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง "ถนนราชดำเนิน" ขึ้นเป็นถนนแบบตะวันตก ทั้งกว้างใหญ่และงดงาม
     จากนั้นก็โปรดเกล้าฯ ให้ปรับภูมิทัศน์ของ "สนามหลวง" โดยขยายออกไปให้เป็นรูปวงรีดังในปัจจุบันและปลูกต้นมะขามโดยรอบ ส่วนสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม (หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าคลองหลอด) ตรงจุดที่ถนนราชดำเนินในเลี้ยวเข้าสู่ถนนราชดำเนินกลางนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงสะพานโครงเหล็กที่มีอยู่เดิม ให้เป็นสะพานพื้นคอนกรีตกว้างใหญ่ มีราวสะพานเป็นเหล็กดัดลวดลายสวยงาม คล้ายกับ "สะพานมัฆวานรังสรรค์" ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างไปก่อนหน้า
     สะพานแห่งนี้สร้างเสร็จและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ แล้วพระราชทานนามให้ว่า "สะพานผ่านพิภพลีลา" 
     สะพานผ่านพิภพลีลา เป็นสะพานที่มีความชันน้อยมากจนเกือบเสมอกับระดับถนน และราวสะพานเป็นเหล็กดัดลวดลายงดงาม แต่ภายหลังได้มีการปรับปรุงสะพานผ่านพิภพลีลาหลายครั้ง และที่สำคัญเมื่อมีการก่อสร้าง "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" ตรงจุดที่ถนนเจ้าฟ้าข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาลงถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานผ่านพิภพลีลาก็ถูกเบี่ยงให้พ้นจากทางลาดของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า จนมาตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงแรมรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ส่วนราวสะพานเหล็กดัดก็ถูกถอดออกไปด้วย กลายเป็นกำแพงปูนแกะสลักลายมาแทน 

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

    

   

                     สะพานผ่านฟ้าในอดีตถ่ายจากป้อมมหากาฬ                                     สะพานผ่านฟ้าในปัจจุบัน
                                        ที่มา http://img704.imageshack.us/img704/5752/phanfa2.jpg   
http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8992.jpg
 

     เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุง (ช่วงที่ชาวบ้านเรียกว่าคลองบางลำพู) บริเวณจุดเชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนราชดำเนินนอก ใกล้กับป้อมมหากาฬและภูเขาทอง วัดสระเกศ
     ในอดีตเคยเป็นสะพานไม้ ไม่ปรากฏว่าสะพานเดิมสร้างขึ้นเมื่อใด แล้วคงปรับปรุงเป็นสะพานโครงเหล็ก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงจากสะพานโครงเหล็กมาเป็นสะพานพื้นคอนกรีตใหญ่ขนาดโตขึ้น


 ลักษณะสถาปัตยกรรม


เสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริด
ที่มา : http://tourrattanakosin.files.wordpress.com/2010/11/e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b894e0b8b3e0b980e0b899e0b8b4e0b8994.jpg
   

พนักลูกกรงของราวสะพาน
รูปภาพโดยนางสาวนิรชา  ชินพันธ์

     สะพานแห่งนี้เป็นสะพานโครงเหล็ก ชนิดมีโครงเหล็กใต้โค้งข้างบน พนักลูกกรงของราวสะพานทั้งสองข้างเป็นเหล็กหล่อ ลวดลายช่อดอกทานตะวัน มีลวดลายประดับที่คานโค้งซึ่งรับกับตัวสะพานอยู่ด้านล่าง ที่ปลายสะพานทั้งสองข้างมีเสาหินอ่อนประดับด้วยเครื่องสำริด เป็นลายเฟื่องอุบะที่หัวเสา และเป็นรูปเรือโบราณของยุโรปอยู่ที่กลางเสา
     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามให้สะพานใหม่นี้ว่า "สะพานผ่านฟ้าลีลาศ" เพื่อให้คล้องจองกับชื่อสะพานผ่านพิภพลีลา ต่อมาภายหลังการจราจรบริเวณนี้คับคั่งมาก โดยเฉพาะตรงสะพานผ่านฟ้าลีลาศเนื่องจากเป็นเส้นทางหลักที่จะไปขึ้นสะพานพระปิ่นเกล้า แต่ช่องทางจราจรบนสะพานผ่านฟ้าลีลาศมีจำนวนน้อยกว่าช่องทางจราจรบนสะพานปิ่นเกล้า จึงทำให้เกิดปัญหาคอขวด และรถติดบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
     ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงมีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างและขยายผิวการจราจรถนนราชดำเนินบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศให้กว้างขวางขึ้น พร้อมทั้งได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงิน ๒ ล้านบาท เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนการก่อสร้าง
     กรุงเทพมหานครได้ก่อสร้างปรับปรุงขยายสะพานผ่านฟ้าลีลาศออกไปทั้ง ๒ ข้างทาง กว้างข้างละ ๗ เมตร ยาวประมาณ ๒๕ เมตร ปรับปรุงผิวการจราจรเพิ่มขึ้นเป็น ๑๓ ช่องทาง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๓๐ ล้านบาท เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๗ แล้วเสร็จเปิดใช้การจราจรได้เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๗     การก่อสร้างในครั้งนั้นแม้ต้องขยายสะพานออกไป แต่ก็ยังได้มีการเก็บราวสะพานเหล็กดัดเอาไว้มาเชื่อมเข้ากับสะพานที่ปรับปรุงเสร็จ จึงยังคงความสวยงามไว้ได้ดังเดิม ต่างจากการปรับปรุงสะพานผ่านพิภพลีลา
     นอกจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจะเป็นเส้นทางจราจรทางบกที่สำคัญแล้ว บริเวณคลองใต้สะพานแห่งนี้ก็ยังเป็นท่าต้นทางของเรือหางยาวประจำทาง ซึ่งวิ่งรับส่งผู้คนในเส้นทางคลองแสนแสบจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศไปจนถึงวัดศรีบุญเรือง ย่านบางกะปิ ถือเป็นเส้นทางจราจรในชั่วโมงเร่งด่วนที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง

   

สร้างโดย: 
นางมาลัยวรรณ จันทร และ นางสาวนิรชา ชินพันธ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 346 คน กำลังออนไลน์