• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:f617d0372b40960ef7223292e3f31c79' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<img height=\"276\" width=\"370\" src=\"/files/u40051/b_Charoen_Ban_Feung_0.png\" border=\"0\" /> \n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"/node/82310\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/home.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82631\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/tanon.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82632\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/klong.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82633\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/sapan.png\" border=\"0\" /></a><br />\n<a href=\"/node/82644\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/trok.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82650\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/wad.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82653\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/otherplace.png\" border=\"0\" /></a>   <a href=\"/node/82654\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/aboutme.png\" border=\"0\" /></a>\n</p>\n<p align=\"center\" style=\"text-align: center\">\n<a href=\"/node/82655\"><img height=\"50\" width=\"140\" src=\"/files/u40051/source.png\" border=\"0\" /></a> \n</p>\n<p>\n<strong>ถนนเจริญกรุง </strong>\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p><strong></strong><strong></strong></p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<object classid=\"clsid:d27cdb6e-ae6d-11cf-96b8-444553540000\" codebase=\"http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0\" width=\"425\" height=\"350\">\n <param name=\"width\" value=\"425\" />\n <param name=\"height\" value=\"350\" />\n <param name=\"src\" value=\"http://www.youtube.com/v/iJzEfh0wbXY\" />\n <embed type=\"application/x-shockwave-flash\" width=\"425\" height=\"350\" src=\"http://www.youtube.com/v/iJzEfh0wbXY\"></embed>\n</object></div>\n<p align=\"center\">\n<br />\nที่มา : <a href=\"http://www.youtube.com/watch?v=iJzEfh0wbXY\">http://www.youtube.com/watch?v=iJzEfh0wbXY</a>\n</p>\n<p></p>\n<p align=\"center\">\n<img height=\"206\" width=\"271\" src=\"/files/u40051/chareonkrung_rd.png\" border=\"0\" style=\"width: 259px; height: 192px\" />\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\nรูปภาพถนนเจริญกรุงในสมัยอดีต\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nที่มา : <a href=\"http://img822.imageshack.us/img822/3226/whereis.jpg\"><u><span style=\"color: #810081\">http://img822.imageshack.us/img822/3226/whereis.jpg</span></u></a> \n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"194\" width=\"265\" src=\"/files/u40051/chareonkrung_rd_new.png\" border=\"0\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nรูปภาพถนนเจริญกรุงในสมัยปัจจุบัน ย่านศูนย์การค้าโรบินสันบางรัก\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nที่มา : <a href=\"http://2.bp.blogspot.com/_vigMj37JQaY/SNe3YRB7sPI/AAAAAAAAAPA/HKCP3HSL71I/s400/2.jpg\"><u><span style=\"color: #810081\">http://2.bp.blogspot.com/_vigMj37JQaY/SNe3YRB7sPI/AAAAAAAAAPA/HKCP3HSL71I/s400/2.jpg</span></u></a>\n</div>\n<p align=\"left\">\n<strong>      </strong> ถนนเจริญกรุง เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๐๔ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๐๗ สาเหตุของการสร้างมาจากการที่พระองค์ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลอธิบายจากชาวต่างประเทศว่า ในประเทศทางยุโรปนั้น จะสร้างถนนที่สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล โดยใช้อิฐและหินก้อนใหญ่ก้อนเล็กปูเป็นชั้นๆ ทำให้พระองค์สนพระทัยมาก ประกอบกับกงสุลจากประเทศต่างๆ ได้เข้าชื่อถวายฎีกา ขอพระราชทานถนนโดยได้กราบบังคมทูลว่า <br />\n         <em>&quot;ชาวยุโรปเคยขี่รถขี่ม้า เที่ยวตากอากาศ ได้ความสบายไม่มีไข้ เข้ามาอยู่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าไปเที่ยวพากันเจ็บไข้เนืองๆ&quot;<br />\n</em>       เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบความในหนังสือแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง และพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็นนายงาน สร้างถนนจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านสำเพ็ง (ย่านการค้าของชาวจีน) ผ่านบางรัก (ย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวตะวันตก) ถึงบางคอแหลม (ถนนตก)<br />\n       ถนนเจริญกรุง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ถนนเจริญกรุงในเขตกำแพงเมือง เริ่มจากบริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจนถึงสะพานดำรงสถิตย์ ต่อกับถนนเจริญกรุงตอนนอกกำแพงเมืองจนถึงตำบลดาวคะนอง\n</p>\n<p align=\"left\">\n<strong>ถนนบำรุงเมือง </strong> \n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"221\" width=\"321\" src=\"/files/u40051/bumrung2.jpg\" border=\"0\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nรูปถนนบำรุงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๖\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nที่มา : <a href=\"http://img31.imageshack.us/img31/2505/bumrung2.jpg\">http://img31.imageshack.us/img31/2505/bumrung2.jpg</a>\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"210\" width=\"320\" src=\"/files/u40051/bamrung_1.jpg\" border=\"0\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nรูปถนนบำรุงเมืองบริเวณเสาชิงช้า\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nที่มา : <a href=\"http://www.teawtourthai.com/uploaded/image/bangkok/k22.jpg\">http://www.teawtourthai.com/uploaded/image/bangkok/k22.jpg</a>\n</div>\n<p>\n      ถนนบำรุงเมืองสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๔๐๖ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมบริรักษ์เป็นนายงานขยายถนนสร้างไปทางเสาชิงช้า เริ่มตั้งแต่ถนนสนามชัย(ถนนตั้งแต่ป้อมเผด็จดัสกรหัวมุมกำแพงพระบรมมหาราชวังฝั่งเหนือตรงข้ามศาลหลักเมือง ถึงถนนมหาราชและถนนราชินี) ผ่านเสาชิงช้า ประตูผี (ชื่อนี้เพราะเป็นประตูที่นำศพออกจากเมืองไปเผานอกเมืองเพื่อไม่ให้เถ้าถ่านจากการเผาศพฟุ้งกระจาย เป็นประเพณีที่ถือกันมาแต่โบราณว่าถ้านำศพออกทางประตูอื่นที่มิได้กำหนดไว้เป็นประตูผีจะเกิดเสนียดจัญไรขึ้นในบ้านเมือง แต่ชื่อนี้ต่อมาทางราชการเห็นว่าฟังแล้วน่าขนลุกและไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เสียไพเราะว่า “สำราญราษฎร์”) วัดสระเกศไปจนถึงสะพานยศเส เป็นระยะทางยาว ๒๙ เส้น ๑๔ วา ๓ ศอก สิ้นค่าใช้จ่ายในการสร้าง ๑๕,๐๙๒ บาท ถนนเส้นนี้ในอดีตสันนิษฐานว่าเป็นทางเดินมาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุง เพราะมีชื่อเรียกกันมาแต่เดิมว่าถนนรีและถนนขวาง เป็นถนนที่นับได้ว่ามีคนจีนอาศัยอยู่มาก ทำกิจการค้าหลากหลายประเภท ในอดีตบริเวณริมถนนบำรุงเมืองเคยเป็นที่ตั้งศาลเจ้าเสือเรียบร้อย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะขยายถนนบำรุงเมืองให้กว้างเพื่อเป็นทางรถและสร้างตึกแถว จำเป็นต้องรื้อศาลเจ้าไปไว้ที่อื่น จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาโชฎึก- ราชเศรษฐี (เถียน) จัดการรื้อศาลเจ้าแห่งนี้ไปสร้างใหม่ในที่พระราชทานริมถนน เฟื่องนครใกล้วัดมหรรณพาราม(ศาลเจ้าพ่อเสือในปัจจุบัน)</p>\n<p> <strong>ถนนเฟื่องนคร</strong> \n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img height=\"239\" width=\"291\" src=\"/files/u40051/Feungnakorn_0.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 248px; height: 196px\" /><img height=\"223\" width=\"291\" src=\"/files/u40051/Feungnakorn_1.jpg\" border=\"0\" style=\"width: 271px; height: 198px\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nถนนเฟื่องนครในปัจจุบัน\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\nที่มา : <a href=\"http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/347/11347/images/postfuangnarkorn.jpg\">http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/347/11347/images/postfuangnarkorn.jpg</a><br />\n<a href=\"http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/347/11347/images/romtukior4.jpg\">http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/347/11347/images/romtukior4.jpg</a>\n</div>\n<p>\n     รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้วิธีการสร้างแบบยุโรป ถนนสายนี้เริ่มต้นจาก <em>สี่กั๊กพระยาศรี </em>บรรจบกับ <em>ถนนบำรุงเมือง </em>ที่ <em>สี่กั๊กเสาชิงช้า</em> ความยาวประมาณ ๐.๕ กิโลเมตร ได้รับพระราชทานนามโดยมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองว่า <em>ถนนเฟื่องนคร</em> เมื่อสร้างเสร็จแล้วนับว่าเป็นถนนที่ทันสมัย มีความสะดวกสบาย ในอดีตเป็นย่านที่จำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ และเป็นสถานที่ตั้งของโรงพิมพ์ที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันมีร้านค้าสองฝั่ง ถนนยังคงสภาพเดิมไว้เป็นส่วนมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติไว้แล้ว</p>\n<p>     ถนนทั้งสามสายเมื่อสร้างสำเร็จแล้วนับเป็นเส้นทางคมนาคมที่ทันสมัยสะดวกสบาย และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดพระราชทานนามถนนทั้งสามสายนี้ให้มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองว่า “ถนนเจริญกรุง” “ถนนบำรุงเมือง” และ “ถนนเฟื่องนคร”\n</p>\n<p>\n<br />\n \n</p>\n', created = 1715329768, expire = 1715416168, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:f617d0372b40960ef7223292e3f31c79' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ประวัติสถานที่ "ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร "

 

         
        

 

ถนนเจริญกรุง

 


ที่มา : http://www.youtube.com/watch?v=iJzEfh0wbXY

รูปภาพถนนเจริญกรุงในสมัยอดีต
รูปภาพถนนเจริญกรุงในสมัยปัจจุบัน ย่านศูนย์การค้าโรบินสันบางรัก

       ถนนเจริญกรุง เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๐๔ แล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๐๗ สาเหตุของการสร้างมาจากการที่พระองค์ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลอธิบายจากชาวต่างประเทศว่า ในประเทศทางยุโรปนั้น จะสร้างถนนที่สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล โดยใช้อิฐและหินก้อนใหญ่ก้อนเล็กปูเป็นชั้นๆ ทำให้พระองค์สนพระทัยมาก ประกอบกับกงสุลจากประเทศต่างๆ ได้เข้าชื่อถวายฎีกา ขอพระราชทานถนนโดยได้กราบบังคมทูลว่า
         "ชาวยุโรปเคยขี่รถขี่ม้า เที่ยวตากอากาศ ได้ความสบายไม่มีไข้ เข้ามาอยู่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าไปเที่ยวพากันเจ็บไข้เนืองๆ"
       เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบความในหนังสือแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง และพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็นนายงาน สร้างถนนจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านสำเพ็ง (ย่านการค้าของชาวจีน) ผ่านบางรัก (ย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวตะวันตก) ถึงบางคอแหลม (ถนนตก)
       ถนนเจริญกรุง แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ ถนนเจริญกรุงในเขตกำแพงเมือง เริ่มจากบริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจนถึงสะพานดำรงสถิตย์ ต่อกับถนนเจริญกรุงตอนนอกกำแพงเมืองจนถึงตำบลดาวคะนอง

ถนนบำรุงเมือง  

รูปถนนบำรุงเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๖
รูปถนนบำรุงเมืองบริเวณเสาชิงช้า

      ถนนบำรุงเมืองสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุน พ.ศ.๒๔๐๖ โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมบริรักษ์เป็นนายงานขยายถนนสร้างไปทางเสาชิงช้า เริ่มตั้งแต่ถนนสนามชัย(ถนนตั้งแต่ป้อมเผด็จดัสกรหัวมุมกำแพงพระบรมมหาราชวังฝั่งเหนือตรงข้ามศาลหลักเมือง ถึงถนนมหาราชและถนนราชินี) ผ่านเสาชิงช้า ประตูผี (ชื่อนี้เพราะเป็นประตูที่นำศพออกจากเมืองไปเผานอกเมืองเพื่อไม่ให้เถ้าถ่านจากการเผาศพฟุ้งกระจาย เป็นประเพณีที่ถือกันมาแต่โบราณว่าถ้านำศพออกทางประตูอื่นที่มิได้กำหนดไว้เป็นประตูผีจะเกิดเสนียดจัญไรขึ้นในบ้านเมือง แต่ชื่อนี้ต่อมาทางราชการเห็นว่าฟังแล้วน่าขนลุกและไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เสียไพเราะว่า “สำราญราษฎร์”) วัดสระเกศไปจนถึงสะพานยศเส เป็นระยะทางยาว ๒๙ เส้น ๑๔ วา ๓ ศอก สิ้นค่าใช้จ่ายในการสร้าง ๑๕,๐๙๒ บาท ถนนเส้นนี้ในอดีตสันนิษฐานว่าเป็นทางเดินมาตั้งแต่ครั้งสร้างกรุง เพราะมีชื่อเรียกกันมาแต่เดิมว่าถนนรีและถนนขวาง เป็นถนนที่นับได้ว่ามีคนจีนอาศัยอยู่มาก ทำกิจการค้าหลากหลายประเภท ในอดีตบริเวณริมถนนบำรุงเมืองเคยเป็นที่ตั้งศาลเจ้าเสือเรียบร้อย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะขยายถนนบำรุงเมืองให้กว้างเพื่อเป็นทางรถและสร้างตึกแถว จำเป็นต้องรื้อศาลเจ้าไปไว้ที่อื่น จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาโชฎึก- ราชเศรษฐี (เถียน) จัดการรื้อศาลเจ้าแห่งนี้ไปสร้างใหม่ในที่พระราชทานริมถนน เฟื่องนครใกล้วัดมหรรณพาราม(ศาลเจ้าพ่อเสือในปัจจุบัน)

 ถนนเฟื่องนคร 

ถนนเฟื่องนครในปัจจุบัน

     รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้วิธีการสร้างแบบยุโรป ถนนสายนี้เริ่มต้นจาก สี่กั๊กพระยาศรี บรรจบกับ ถนนบำรุงเมือง ที่ สี่กั๊กเสาชิงช้า ความยาวประมาณ ๐.๕ กิโลเมตร ได้รับพระราชทานนามโดยมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองว่า ถนนเฟื่องนคร เมื่อสร้างเสร็จแล้วนับว่าเป็นถนนที่ทันสมัย มีความสะดวกสบาย ในอดีตเป็นย่านที่จำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ และเป็นสถานที่ตั้งของโรงพิมพ์ที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันมีร้านค้าสองฝั่ง ถนนยังคงสภาพเดิมไว้เป็นส่วนมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานที่สำคัญของชาติไว้แล้ว

     ถนนทั้งสามสายเมื่อสร้างสำเร็จแล้วนับเป็นเส้นทางคมนาคมที่ทันสมัยสะดวกสบาย และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า รัชกาลที่ ๔ จึงโปรดพระราชทานนามถนนทั้งสามสายนี้ให้มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองว่า “ถนนเจริญกรุง” “ถนนบำรุงเมือง” และ “ถนนเฟื่องนคร”


 

สร้างโดย: 
นางมาลัยวรรณ จันทร และ นางสาวนิรชา ชินพันธ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 301 คน กำลังออนไลน์