• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:404bd2b0703cd433d7d043440d6ed756' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><h2>จันทรุปราคาเต็มดวง : 4/5 พฤษภาคม 2547</h2>\n<div class=\"meta\"><span class=\"date\"></span><span class=\"reportby\">วรเชษฐ์ บุญปลอด (<a href=\"mailto:worachateb@hotmail.com\"><span style=\"text-decoration: underline;\"><span style=\"color: #0000ff;\">worachateb@hotmail.com</span></span></a>)</span></div>\n<p>คืนวันอังคารที่ 4 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ หากไม่มีฝนตกและท้องฟ้าโปร่ง เราจะมีโอกาสมองเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่าจันทรุปราคา หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักรู้จักกันในชื่อ \"ราหูอมจันทร์\" หรือ \"จันทรคราส\" สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน (วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 5 พ.ค.) นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งเดียวของปี 2547 ที่คนไทยจะได้เห็น (ปีนี้มีจันทรุปราคาอีก 1 ครั้ง และสุริยุปราคาอีก 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถมองเห็นได้จากประเทศไทย)</p>\n<p>โลกและดวงจันทร์เป็นวัตถุที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลก ทำให้เกิดเงาทอดออกไปในอวกาศในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาโลก จะทำให้เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ดวงจันทร์ที่เคยสว่างเต็มดวงจะแหว่งเว้าเนื่องจากถูกบดบังด้วยเงาของโลก จันทรุปราคามีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในคืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง</p>\n<p>แม้ว่าดวงจันทร์จะเพ็ญเดือนละครั้งแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจันทรุปราคาได้ทุกเดือน สาเหตุเนื่องจากในคืนวันเพ็ญ ส่วนใหญ่แล้วดวงจันทร์ไม่ได้มีเส้นทางผ่านเข้าไปในเงาของโลก ซึ่งเป็นผลจากการที่ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์ไม่ได้ซ้อนทับกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์</p>\n<p>จันทรุปราคามีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาแบบเงามัว จันทรุปราคาเต็มดวงหมายถึงจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์มืดสลัวลงมาก และมีสีส้มหรือน้ำตาล ส่วนจันทรุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบดบังไปเพียงบางส่วนของตัวดวง จันทรุปราคาแบบเงามัวจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น จันทรุปราคาชนิดสุดท้ายนี้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยาก</p>\n<table style=\"width: 500px;\" border=\"1\" cellspacing=\"0\" cellpadding=\"3\">\n<tbody>\n<tr>\n<th class=\"tablehead\" colspan=\"3\">ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง คืนวันที่ 4/5 พฤษภาคม 2547</th>\n</tr>\n<tr bgcolor=\"#e7e7e7\">\n<td align=\"center\"><strong>เหตุการณ์</strong></td>\n<td align=\"center\"><strong>เวลา</strong></td>\n<td align=\"center\"><strong>มุมเงย<br /> ของดวงจันทร์</strong></td>\n</tr>\n<tr>\n<td>1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง)</td>\n<td align=\"center\">00.51 น.</td>\n<td align=\"center\">58°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง)</td>\n<td align=\"center\">01.48 น.</td>\n<td align=\"center\">51°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง)</td>\n<td align=\"center\">02.52 น.</td>\n<td align=\"center\">40°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด)</td>\n<td align=\"center\">03.30 น.</td>\n<td align=\"center\">32°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์ออกจากเงามืด)</td>\n<td align=\"center\">04.08 น.</td>\n<td align=\"center\">24°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวง)</td>\n<td align=\"center\">05.12 น.</td>\n<td align=\"center\">10°</td>\n</tr>\n<tr>\n<td>7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก</td>\n<td align=\"center\">06.09 น.</td>\n<td align=\"center\">-3°</td>\n</tr>\n</tbody>\n</table>\n<p>จันทรุปราคาครั้งนี้คล้ายกับจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่แล้วที่มองเห็นเมื่อคืนวันที่ 9 มกราคม 2544 คือ เริ่มเกิดในขณะที่ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก แม้ว่าดวงจันทร์จะเริ่มเข้าไปในเงามัวตั้งแต่เวลา 0.51 น. แต่เราจะเริ่มสังเกตเห็นความสว่างของดวงจันทร์ที่ลดลงได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 1.30 น. หลังจากเวลานี้ ขอบด้านบนค่อนไปทางซ้ายมือของดวงจันทร์จะเริ่มคล้ำลงมากขึ้น จนเวลา 1.48 น. จึงจะเห็นว่าขอบดวงจันทร์ด้านดังกล่าวถูกเงาโลกกินลึกเข้าไปเล็กน้อยเป็นจังหวะที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน เมื่อเวลาผ่านไป เงาโลกที่ทอดตกลงบนดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนมาทางขวามืออย่างช้าๆ กระทั่งเวลา 2.45 น. จะเห็นดวงจันทร์เหลือส่วนสว่างอยู่ทางด้านล่าง ณ เวลานี้ ดวงจันทร์ส่วนที่เงาโลกบังอยู่จะเริ่มสว่างขึ้นเล็กน้อย</p>\n<p>คนที่ดูดวงจันทร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาอาจมองเห็นว่าส่วนของดวงจันทร์ที่อยู่ในเงามืดแลดูสว่างขึ้น จนเวลา 2.52 น. เงามืดจะเริ่มบังดวงจันทร์ไว้หมดทั้งดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหในบรรยากาศโลกและไปตกลงบนดวงจันทร์ จะทำให้ดวงจันทร์มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม เป็นจังหวะที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์จะผ่านใกล้จุดศูนย์กลางของเงามืดของโลกมากที่สุดในเวลา 3.30 น. หลังจากที่เงามืดบดบังดวงจันทร์อยู่นาน 1 ชั่วโมง 16 นาที จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดลงในเวลา 4.08 น. หลังจากนั้นจะกลายเป็นจันทรุปราคาบางส่วน เราจะเห็นเงามืดเคลื่อนออกจากดวงจันทร์จนเวลา 5.12 น. จึงสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์เกือบจะตกและท้องฟ้าเริ่มสว่างขึ้นแล้ว</p>\n<h3>ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์</h3>\n<p>เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon\'s scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง</p>\n<table style=\"width: 500px;\" border=\"1\" cellspacing=\"0\" cellpadding=\"2\">\n<tbody>\n<tr>\n<th class=\"tablehead\">&nbsp;&nbsp;L&nbsp;&nbsp;</th>\n<th class=\"tablehead\">ความสว่างและสีของดวงจันทร์</th>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\" bgcolor=\"#433631\"><span style=\"color: #ffffff;\">0</span></td>\n<td>ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น</td>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\" bgcolor=\"#6a544c\"><span style=\"color: #ffffff;\">1</span></td>\n<td>ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก</td>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\" bgcolor=\"#7f311f\"><span style=\"color: #ffffff;\">2</span></td>\n<td>ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง</td>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\" bgcolor=\"#bd5909\"><span style=\"color: #ffffff;\">3</span></td>\n<td>ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง</td>\n</tr>\n<tr>\n<td align=\"center\" bgcolor=\"#e58411\"><span style=\"color: #ffffff;\">4</span></td>\n<td>ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามีสีฟ้าและสว่างมาก</td>\n</tr>\n</tbody>\n</table>\n<p>สำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ ขณะดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุดในเวลา 3.30 น. น่าจะเห็นว่าด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางด้านล่างค่อนมาทางซ้ายมือเมื่อเทียบกับขอบฟ้ามีความสว่างมากกว่าด้านตรงข้าม หลังจากปีนี้ ประเทศไทยจะเห็นจันทรุปราคาบางส่วนในปี พ.ศ. 2548-49 และจันทรุปราคาเต็มดวงในปี พ.ศ. 2550</p>\n', created = 1714787315, expire = 1714873715, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:404bd2b0703cd433d7d043440d6ed756' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

จันทรุปราคาเต็มดวง : 4/5 พฤษภาคม 2547

รูปภาพของ ssspoonsak

จันทรุปราคาเต็มดวง : 4/5 พฤษภาคม 2547

วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)

คืนวันอังคารที่ 4 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ หากไม่มีฝนตกและท้องฟ้าโปร่ง เราจะมีโอกาสมองเห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่าจันทรุปราคา หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักรู้จักกันในชื่อ "ราหูอมจันทร์" หรือ "จันทรคราส" สามารถมองเห็นได้ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืน (วันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 5 พ.ค.) นับเป็นจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกในรอบ 3 ปีสำหรับคนไทยในประเทศ และเป็นอุปราคาครั้งเดียวของปี 2547 ที่คนไทยจะได้เห็น (ปีนี้มีจันทรุปราคาอีก 1 ครั้ง และสุริยุปราคาอีก 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถมองเห็นได้จากประเทศไทย)

โลกและดวงจันทร์เป็นวัตถุที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง แสงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลก ทำให้เกิดเงาทอดออกไปในอวกาศในทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาโลก จะทำให้เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ดวงจันทร์ที่เคยสว่างเต็มดวงจะแหว่งเว้าเนื่องจากถูกบดบังด้วยเงาของโลก จันทรุปราคามีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉพาะในคืนวันเพ็ญที่ดวงจันทร์สว่างเต็มดวง

แม้ว่าดวงจันทร์จะเพ็ญเดือนละครั้งแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจันทรุปราคาได้ทุกเดือน สาเหตุเนื่องจากในคืนวันเพ็ญ ส่วนใหญ่แล้วดวงจันทร์ไม่ได้มีเส้นทางผ่านเข้าไปในเงาของโลก ซึ่งเป็นผลจากการที่ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์ไม่ได้ซ้อนทับกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

จันทรุปราคามีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ จันทรุปราคาเต็มดวง จันทรุปราคาบางส่วน และจันทรุปราคาแบบเงามัว จันทรุปราคาเต็มดวงหมายถึงจันทรุปราคาที่ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดหมดทั้งดวง ดวงจันทร์มืดสลัวลงมาก และมีสีส้มหรือน้ำตาล ส่วนจันทรุปราคาบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ถูกเงามืดของโลกบดบังไปเพียงบางส่วนของตัวดวง จันทรุปราคาแบบเงามัวจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น จันทรุปราคาชนิดสุดท้ายนี้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับดวงจันทร์ได้ยาก

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง คืนวันที่ 4/5 พฤษภาคม 2547
เหตุการณ์ เวลา มุมเงย
ของดวงจันทร์
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก (ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง) 00.51 น. 58°
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน (เริ่มเห็นดวงจันทร์แหว่ง) 01.48 น. 51°
3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง) 02.52 น. 40°
4. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ (ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด) 03.30 น. 32°
5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง (ดวงจันทร์ออกจากเงามืด) 04.08 น. 24°
6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน (ดวงจันทร์กลับมาเต็มดวง) 05.12 น. 10°
7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 06.09 น. -3°

จันทรุปราคาครั้งนี้คล้ายกับจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่แล้วที่มองเห็นเมื่อคืนวันที่ 9 มกราคม 2544 คือ เริ่มเกิดในขณะที่ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก แม้ว่าดวงจันทร์จะเริ่มเข้าไปในเงามัวตั้งแต่เวลา 0.51 น. แต่เราจะเริ่มสังเกตเห็นความสว่างของดวงจันทร์ที่ลดลงได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 1.30 น. หลังจากเวลานี้ ขอบด้านบนค่อนไปทางซ้ายมือของดวงจันทร์จะเริ่มคล้ำลงมากขึ้น จนเวลา 1.48 น. จึงจะเห็นว่าขอบดวงจันทร์ด้านดังกล่าวถูกเงาโลกกินลึกเข้าไปเล็กน้อยเป็นจังหวะที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน เมื่อเวลาผ่านไป เงาโลกที่ทอดตกลงบนดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนมาทางขวามืออย่างช้าๆ กระทั่งเวลา 2.45 น. จะเห็นดวงจันทร์เหลือส่วนสว่างอยู่ทางด้านล่าง ณ เวลานี้ ดวงจันทร์ส่วนที่เงาโลกบังอยู่จะเริ่มสว่างขึ้นเล็กน้อย

คนที่ดูดวงจันทร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตาอาจมองเห็นว่าส่วนของดวงจันทร์ที่อยู่ในเงามืดแลดูสว่างขึ้น จนเวลา 2.52 น. เงามืดจะเริ่มบังดวงจันทร์ไว้หมดทั้งดวง แสงอาทิตย์ที่หักเหในบรรยากาศโลกและไปตกลงบนดวงจันทร์ จะทำให้ดวงจันทร์มีสีน้ำตาล สีแดงอิฐ หรือสีส้ม เป็นจังหวะที่เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์จะผ่านใกล้จุดศูนย์กลางของเงามืดของโลกมากที่สุดในเวลา 3.30 น. หลังจากที่เงามืดบดบังดวงจันทร์อยู่นาน 1 ชั่วโมง 16 นาที จันทรุปราคาเต็มดวงจะสิ้นสุดลงในเวลา 4.08 น. หลังจากนั้นจะกลายเป็นจันทรุปราคาบางส่วน เราจะเห็นเงามืดเคลื่อนออกจากดวงจันทร์จนเวลา 5.12 น. จึงสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงจันทร์เกือบจะตกและท้องฟ้าเริ่มสว่างขึ้นแล้ว

ประมาณค่าความสว่างของดวงจันทร์

เราสามารถคะเนความสว่างและสีของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงได้โดยการสังเกตดวงจันทร์ด้วยตาเปล่า ความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแบ่งได้ตามมาตราดองชง (Danjon's scale) ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มกำหนดมาตรานี้ เรียกย่อ ๆ ว่าค่าแอล (L) มีค่าจาก 0 ถึง 4 และสามารถประมาณค่าเป็นทศนิยมได้ สีและความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับศูนย์กลางเงา ปริมาณเมฆและฝุ่นละอองในบรรยากาศโลก โดยมีเกณฑ์กำหนดดังที่แสดงในตาราง ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดที่สุด อาจทำการประมาณค่าแอลทุก ๆ 10-20 นาที นับตั้งแต่ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดทั้งดวง

  L   ความสว่างและสีของดวงจันทร์
0 ดวงจันทร์มืดมาก เกือบมองไม่เห็น
1 ดวงจันทร์มืด มีสีเทาหรือน้ำตาล มองเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวได้ยาก
2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้ม หรือสีสนิมเหล็ก บริเวณใกล้ใจกลางมืดมาก แต่ขอบดวงจันทร์สว่าง
3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ ขอบเงามืดมีสีเหลืองหรือสว่าง
4 ดวงจันทร์มีสีทองแดงหรือสีส้ม ดวงจันทร์สว่างมาก ขอบเงามีสีฟ้าและสว่างมาก

สำหรับจันทรุปราคาครั้งนี้ ขณะดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุดในเวลา 3.30 น. น่าจะเห็นว่าด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางด้านล่างค่อนมาทางซ้ายมือเมื่อเทียบกับขอบฟ้ามีความสว่างมากกว่าด้านตรงข้าม หลังจากปีนี้ ประเทศไทยจะเห็นจันทรุปราคาบางส่วนในปี พ.ศ. 2548-49 และจันทรุปราคาเต็มดวงในปี พ.ศ. 2550

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 453 คน กำลังออนไลน์