สามัคคีเภทคำฉันท์หน้า4

 

เนื้อเรื่องโดยย่อ

               ของสามัคคีเภทคำฉันท์มีว่าสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไม่นานนักพระเจ้าอชาตศัตรูทรงครองราชสมบัติ

        ที่นครราชคฤห์ แคว้นมคธ พระองค์ทรงมีวัสสการพราหมณ์ ผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาราชกิจทั่วไป 

        ขณะนั้นทรงปรารภจะแผ่พระราชอาณาเขตเข้าไปถึงแคว้นวัชชี แต่กริ่งเกรงว่ามิอาจเอาชนะได้ด้วยการส่งกองทัพเข้า

        รุกรานเนื่องจากบรรดากษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีสูง และการปกครองอาณาประชาราษฎ์รด้วยธรรม อันนำความเจริญ

        เข้มแข็งมาสู่แว่นแคว้นพระเจ้าอชาตศัตรูทรงหารือเรื่องนี้เป็นการเฉพาะกับวัสสการพราหมณ์จึงเห็นแจ้งในอุบายจะเอาชนะ

        ด้วยปัญญาวันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการ พร้อมพรั่งด้วยเสนาอำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่เมื่อเสร็จวาระเรื่องอื่นๆลง

        แล้วจึงตรัสในเชิงหารือว่า หากพระองค์จะยกทัพไปปราบแคว้นวัชชีใครจะเห็นคัดค้านประการใดวัสสการพราหมณ์ฉวย

        โอกาสเหมาะกับอุบายตนที่วางไว้ก็กราบทูลท้วงว่าเห็นทีจะเอาชนะไม่ได้เลย เพราะกษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์ล้วนผูกพัน

        เป็นกัลยาณมิตรอย่างมั่นคงมีความสามารถในการศึกและกล้าหาญ  อีกทั้งโลกจะติเตียน หากฝ่ายมคธจงใจประทุษร้าย

        รุกรานเมืองอื่น  ขอให้ยับยั้งการทำศึกเอาไว้เพื่อความสงบของประชาราษฎร์พระเจ้าอชาตศัตรูทรงแสร้งแสดงพระอาการ

        พิโรธหนัก  ถึงขั้นรับสั่งจะให้ประหารชีวิตเสีย  แต่ทรงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์รับราชการมานาน จึงลดโทษการดูหมิ่นพระ

        บรมเดชานุภาพ ครั้งนั้น  เพียงแค่ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีอย่างแสนสาหัสจนสลบไสล ถูกโกนหัวประจานและเนรเทศออก

        ไปจากแคว้นมคธข่าววัสสการพราหมณ์เดินทางไปถึงนครเวสาลีเมืองหลวงของแคว้นวัชชีทราบไปถึงพระกรรณของหมู่

        กษัตริย์ลิจฉวี จึงรับสั่งให้เจ้าพนักงานตีกลองสำคัญเรียกประชุมราชสภาว่าควรจะขับไล่หรือเลี้ยงเอาไว้ดีในที่สุดที่ประชุม

        ราชสภาลงมติให้นำเข้าเฝ้าเพื่อหยั่งท่าทีและฟังคารมก่อนแต่หลังจากกษัตริย์ลิจฉวีทรงซักไซ้ไล่เลียงด้วยประการต่างๆก็

        หลงกลวัสสการพราหมณ์ทรงรับไว้ทำราชการในตำแหน่งอำมาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาคดีและตั้งเป็นครูฝึกสอนศิลปวิทยา

        แก่ ราชกุมารของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีด้วย จากนั้นต่อมาพราหมณ์เฒ่าก็ทำที่ปฎิบัติงานในหน้าที่อย่างดีไม่มีสิ่งใดบกพร่อง

        จนหมู่กษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัยแผนการทำลายความสามัคคีได้เริ่มจาก วัสสการพราหมณ์ใช้กลอุบายให้บรรดาราชโอรส

        กษัตริย์ลิจฉวีระแวงกัน  โดยแกล้งเชิญแต่ละองค์ไปพบเป็นการส่วนตัวแล้วถามปัญหาธรรมดาที่รู้ๆกันอยู่เมื่อองค์อื่นซักเรื่อง

        ราวว่าสนทนาอะไรกับอาจารย์บ้าง  แม้ราชกุมารองค์นั้นจะตอบความจริง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อถือ ก่อให้เกิดความระแวงและ

        แตกร้าวในบรรดาราชกุมาร  กระทั่งลุกลามไปสู่กษัตริย์ลิจฉวี ผู้เป้นพระราชบิดาทุกองค์ทำให้ความสามัคคีค่อยๆ เสื่อมลง

        จนกระทั่งไม่เข้าร่วมประชุมราชสภา  หรือได้ยินเสียงกลองก็ไม่สนใจประชุม เมื่อมาถึงขั้นนี้วัสสการพราหรณ์จึงลอบส่งข่าว

        ไปให้พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้เป็นผลสำเร็จสามัคคีเภทคำฉันท์แต่งขึ้นเพื่อมุ่งสรรเสริญธรรมแห่งความ

         สามัคคีเป็นแก่นของเรื่อง และหลักธรรมข้อนี้ไม่ล้าสมัย  สามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่หมู่ชนที่มีความพร้อมเพรียง

         กันพัฒนาสังคม  หากนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 

แก่นเรื่อง

1. โทษของการแตกสามัคคี

2. การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรู

3. การใช้วิจารณญานก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี

4. การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่นย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม 

                                                                    

                                                                                    กลับหน้าหลัก

สร้างโดย: 
คุณครู สุวรันต์ บัวก้านทอง และ นาย สวัสดิพัฒน์ สมบรณ์ธีระ ร.ร เซนต์ไมเกิ้ล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 499 คน กำลังออนไลน์