century 3

 
 ประวัติผู้ประพันธ์เพลง 
 
3. อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinky,1882-1971)
 
credit  http://www.lks.ac.th/band/page14_1_clip_image006.jpg
          ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียโดยกำเนิด เกิดวันที่ 17 มิถุนายน1882 ที่เมือง
โลโมโนซอบใกล้กับเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กแล้วย้ายมาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส 
จากนั้นย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนักร้องโอเปร่าประจำ
เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและหวังที่จะได้เห็นลูกเรียนจบกฎหมายและ
ทำงานราชการ ชีวิตในตอนเริ่มต้นของสตราวินสกีคล้ายกับ
ไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ตรงที่ได้เรียนเปียโนตั้งแต่วัยเด็กโดยที่บิดามารดา
ไม่ได้หวังให้เอาดีทางดนตรีดังที่กล่าวข้างต้น เขาได้เรียนการประพันธ์ดนตรีกับ
ริมสกี้ คอร์ชาคอฟ (Rimsky - Korsakov) งานของสตราวินสกีมีหลายสไตล์เช่น
Neo – Classic คำว่า “Neo”แปลว่า “ใหม่” งานสไตล์ “คลาสสิกใหม่” กล่าวคือ
คลาสสิกที่คงแบบแผนการประพันธ์เดิมแต่มีทำนองเสียงประสาน ฯลฯ   
สมัยใหม่ นอกจากนี้ก็มีสไตล์ อิมเพรสชั่นนิส (Impressionis) ซึ่งมีหลักการสอดคล้องกับงาน
นามธรรม (Abstractionism) ทางจิตรกรรมผลงานแต่ละชิ้นของสตราวินสกีไม่มีซ้ำกันเลยแม้จะเป็น 
สไตล์เดียวกันก็ตาม เขาพยายามแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ในการประสานเสียง การใช้จังหวะลีลาแปลก ๆ และการเรียบเรียงแนว
บรรเลงให้เกิดเสียงที่มีสีสรรอันประหลาดลึกล้ำและเขาก็ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสมเหตุสมผลมีผู้กล่าวในทำนองที่ว่า
ทฤษฎีที่ผิดของสตาวินสกีนั้นเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง เขาเองมีความเชื่อว่าเสียงดนตรีทุกเสียงมีความบริสุทธิ์และมีความสำคัญในตัวมันเอง
เท่าเทียมกันหมดในทุกกรณี สตาวินสกีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวงการดนตรีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่1ด้วยผลงาน
เพลงประกอบบัลเล่ท์ The Firebird, Petrushka, และ The Rite of Spring (Le sacre du Printemps)เป็นเพลงประกอบบัลเล่ย์เริ่ม
การประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1910 เขียนไปเรื่อย ๆ กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1913 จึงเขียนเสร็จให้นักดนตรีฝึกซ้อมแล้ว
นำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1913 ณ The Theatre des Champs-Elysees
กรุงปารีส โดยมีปิแอร์ มองตัว (Pierre Monteux) เป็นผู้ควบคุมการบรรเลงThe Rite of Spring สร้างความตระหนกตกใจให้
กับผู้ชมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการล้มล้างความคิดเก่า ๆ ลงอย่างสิ้นเชิง บทเพลงใช้หลายบันไดเสียงในเวลาเดียวกัน ใช้จังหวะที่เปลี่ยน
ไปตลอดเวลา นับเป็นการแหกคอก แม้ผู้ฟังในปารีสเองยังทนไม่ได้ เล่ากันว่ามีจลาจลย่อย ๆ เลยทีเดียวที่มีการบรรเลงดนตรีแหกคอกครั้งนั้น
นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมได้แก่ Symphony in three movements, Ebony concerto (Rhapsody concerto),
Ragtime, The Song of the nightingale,Piano – Rag – Music

          
                 สตาวินสกีประพันธ์ดนตรีจนกระทั่งวาระสุดท้าย เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ1971 ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 89 ปี นับว่าเป็นคีตกวี ที่อายุยืนมากคนหนึ่ง เข้าแจ้งความประสงค์ก่อนตายว่าอยากให้ฝังศพของเขาไว้ใกล้ ๆ หลุมศพของดีอากีเล็ฟ ที่สุสานซานมีเช็ล (San Michele) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ทางการอิตาลี ให้มีการจัดขบวนแห่ศพไปตามคลองเมืองเวนิซมุ่งสู่สุสานแห่งนั้น ซึ่งมีมุมหนึ่งเป็นสุสานสำหรับคนรัสเซียโดยเฉพาะ (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 280) 
4. อัลบาน เบิร์ก (Aban Berg, 1885 - 1935)
 
credit  http://www.lks.ac.th/band/page14_1_clip_image011.jpg
         นักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียเป็นลูกศิษย์ของโชนเบิร์กและนำเอาหลักการใช้ 
บันไดเสียงแบบ 12 เสียง (Atonality) มาพัฒนารูปแบบให้เป็นของ
ตนเอง เพื่อต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าลักษณะบันไดเสียงแบบนี้
สามารถนำมาใช้ในการประพันธ์เพลงให้มีลักษณะเป็นดนตรีที่มี
ความไพเราะสวยงามและเต็มไปด้วยอารมณ์ในปัจจุบัน เบิร์กเป็นที่
รู้จักในฐานะผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่าและไวโอลินคอนแชร์โต
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 180)
5. เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev, 1891-1953)
credit  http://www.lks.ac.th/band/page14_1_clip_image013.jpg
          นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซียเกิดวันที่ 23 เมษายน 1891 ทาง ภาคใต้ของรัสเซีย เริ่มเรียนเปียโนจากมารดาตั้งแต่เด็ก
ต่อจากนั้นไม่นานนักเขาก็สามารถประพันธ์ดนตรี ทั้งประเภทดนตรีบรรเลงและดนตรีสำหรับโอเปร่า (Opera) ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ
          ประวัติการสร้างสรรค์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เยาว์วัย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เขาเติบโตมาเป็นคีตกวีเอกคนหนึ่งของโลก 
คนเราอาจเริ่มต้นดีได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่น้อยคนที่จะยืนหยัดได้ตลอดรอดฝั่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นความจริงที่ว่า “สิ่งที่พิสูจน์
คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ตอนเริ่มแต่ทว่าอยู่ที่ตอนจบ” โปรโกเฟียฟ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ทำให้ชนรุ่นหลังควรนำมาเป็น
แบบอย่างทั้งทางด้านความวิริยะ อุตสาหะ ในการฝึกฝนดนตรีผลงานที่ประพันธ์ที่สำคัญที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดจำนวนหนึ่ง
ถูกเขียนขึ้นซึ่งรวมทั้งซิมโฟนีหมายเลข 5 ประกอบด้วย นิทานดนตรี Peter and the Wolf บัลเลย์เรื่อง Romeo and Juliet
และโอเปร่าเรื่อง War and Peace (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :293)
 
 
 

สร้างโดย: 
ying

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 195 คน กำลังออนไลน์